ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงวน ตุลารักษ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
ในปี พ.ศ. 2486 นายสงวนได้เป็นผู้นำคณะผู้แทนที่ถูกส่งโดยผู้นำเสรีไทยเพื่อติดต่อกับ[[ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง|ฝ่ายสัมพันธมิตร]]ที่[[ฉงชิ่ง]] ความพยายามของนายสงวนพิสูจน์แล้วว่ามีความสำคัญยิ่งในการรับเอาความช่วยเหลือของ[[สหราชอาณาจักร|อังกฤษ]]และ[[สหรัฐอเมริกา]]มาให้กับขบวนการเคลื่อนไหวใต้ดินดังกล่าว ซึ่งในไม่ช้า เสรีไทยก็มีอาวุธและยุทโธปกรณ์มากพอสำหรับปฏิบัติการกองโจรอย่างมีประสิทธิภาพ
 
ในปี พ.ศ. 2488 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายทวี บุญยเกตุ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2488/A/047/509.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)]</ref> และในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2488/A/052/556.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)]</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2489 ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำ[[สาธารณรัฐจีน]] และปฏิเสธที่จะเดินทางกลับ[[ประเทศไทย]]หลังจาก[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490]] โดยประกาศว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายสงวนใช้เวลาอีกสิบปีถัดมาอาศัยอยู่ในจีน จึงเดินทางกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2500 และถูกสั่งจำคุกโดยรัฐบาลจอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2508