ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nextyou (คุย | ส่วนร่วม)
เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วจะมีเส้นทางเป็นเหมือนวงกลมรอบกรุงเทพฯ (รูปแบบวงกลมนี้ชวนให้นึกไปถึงรถไฟสาย Yamanote ของโตเกียวเลยทีเดียว)[1]
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7734605 สร้างโดย Nextyou (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 63:
{{บทความหลัก|รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล}}
 
โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นโครงการรถไฟฟ้าวงแหวนที่มีเส้นทางทั้งบนดิน และใต้ดิน ระยะทางรวมทั้งโครงการอยู่ที่ 55 กิโลเมตร เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วจะมีเส้นทางเป็นเหมือนวงกลมรอบกรุงเทพฯ (รูปแบบวงกลมนี้ชวนให้นึกไปถึงรถไฟสาย Yamanote ของโตเกียวเลยทีเดียว)[https://readthecloud.co/scoop-mrt-sanamchai/]<ref group="https://readthecloud.co/scoop-mrt-sanamchai/">เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วจะมีเส้นทางเป็นเหมือนวงกลมรอบกรุงเทพฯ (รูปแบบวงกลมนี้ชวนให้นึกไปถึงรถไฟสาย Yamanote ของโตเกียวเลยทีเดียว)</ref> มีจุดเริ่มต้นของโครงการที่[[สถานีพุทธมณฑลสาย 4]] ซึ่งเป็นสถานียกระดับในพื้นที่ [[จ.สมุทรสาคร]] จากนั้นเข้าสู่เขตกรุงเทพมหานคร ฝั่งธนบุรี และมาเชื่อมต่อกับ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม]] ที่[[สถานีบางหว้า (รถไฟฟ้ามหานคร)|สถานีบางหว้า]] ก่อนจะมาเจอกับ[[สถานีท่าพระ]] ซึ่งเป็นสถานีใหญ่รวมเส้นทางของสายเฉลิมรัชมงคลเข้าด้วยกัน หลังจากผ่านสถานีท่าพระ เส้นทางจะเปลี่ยนเป็นเส้นทางใต้ดินที่[[สถานีอิสรภาพ]] ก่อนจะวิ่งลอดใต้[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ที่ความลึกกว่า 25 เมตร เพื่อเข้าสู่ฝั่งพระนคร รวมเส้นทางกับ[[รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม]]ส่วนใต้ที่[[สถานีสามยอด]] และเข้าสู่[[สถานีหัวลำโพง (รถไฟฟ้ามหานคร)|สถานีหัวลำโพง]]ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับโครงการ[[รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน]]ด้วย เชื่อมต่อกับ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส]] อีกครั้งที่[[สถานีสีลม]] และ[[สถานีสุขุมวิท]] ก่อนจะเชื่อมต่อกับ[[รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] และ[[รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน]]อีกครั้งที่[[สถานีเพชรบุรี]] รวมเส้นทางกับ[[รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม]] ที่[[สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย]] เชื่อมต่อกับ[[รถไฟฟ้าสายสีเหลือง|รถไฟฟ้าสายสีเหลือง]] ที่[[สถานีลาดพร้าว]] และเชื่อมต่อกับ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท]] อีกครั้งที่[[สถานีพหลโยธิน]] และ[[สถานีสวนจตุจักร]] ก่อนเข้าสู่[[สถานีกลางบางซื่อ]]เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการ[[รถไฟฟ้าชานเมือง]] หลังออกจาก[[สถานีบางซื่อ (รถไฟฟ้ามหานคร)|สถานีบางซื่อ]] เส้นทางจะเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้ายกระดับอีกครั้ง และรวมเส้นทางกับ[[รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม]]ส่วนเหนือที่[[สถานีเตาปูน]] ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปฝั่งธนบุรีอีกครั้งที่[[สถานีบางอ้อ]] เชื่อมต่อกับ[[รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน]]อีกครั้งที่[[สถานีสิรินธร]] รวมเส้นทางกับสายสีส้มอีกครั้งที่[[สถานีบางขุนนนท์]] ก่อนจะสิ้นสุดเส้นทางของทั้งโครงการที่[[สถานีท่าพระ]] จากนั้นรถไฟฟ้าจะตีรถกลับและวิ่งเส้นทางเดิม
 
จุดประสงค์ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตามแผนแม่บทนั้น คือเป็นเส้นทางสำหรับใช้เดินทางระยะสั้น เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าอีกระบบหนึ่ง ซึ่งสายเฉลิมรัชมงคลเมื่อเปิดให้บริการทั้งโครงการ จะมีสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ทั้งหมด 15 สถานี ซึ่งถือว่าเยอะที่สุดในแผนแม่บท โดยปัจจุบันสายเฉลิมรัชมงคล เปิดให้บริการในเส้นทางหัวลำโพง-เตาปูน โดยเป็นเส้นทางใต้ดินในช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ และเปลี่ยนเป็นเส้นทางยกระดับที่สถานีเตาปูน ให้บริการโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และกำลังก่อสร้างส่วนต่อขยายเพิ่มเติมจนถึงสถานีท่าพระ และสถานีหลักสอง ซึ่งมีกำหนดเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2563 ตามลำดับ อีกทั้งยังมีแผนขยายเส้นทางไปยังสถานีพุทธมณฑลสาย 4 ต่อในปี พ.ศ. 2566 อีกด้วย