ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 57:
ในปี [[พ.ศ. 2504]] ภราดาอาซีเนียว อานเกล อินฟานเต ได้ดำรงตำแหน่งอธิการคนแรก และภราดา[[ประทีป ม. โกมลมาศ]] เป็นครูใหญ่คนแรก ปีการศึกษา 2504 สร้างเรือนไม้ 2 ชั้น คือ บ้านพักภราดาและอาคารเรียน เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ความยาว 104 เมตร มี 13 ห้องเรียน สอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น ครูรุ่นแรกของโรงเรียนมีจำนวน 5 ท่าน เปิดเรียนวันแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2504 มีจำนวนนักเรียน 95 คน โดยในวันเปิดเรียน คุณไถง สุวรรณฑัต ได้ทำพิธีมอบที่ดินโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีให้แก่มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
 
ปี [[พ.ศ. 2505]] ได้มีการสร้างโรงอาหารและได้ต่อเติมอาคารเรียนเรือนไม้ให้มีห้องเรียนมากขึ้น ทำให้อาคารหลังนี้ยาวถึง 176 เมตร นอกจากนั้น ยังได้ขุดคูระบายน้ำรอบโรงเรียนและได้สร้างสนามฟุตบอลและสนามบาสเกตบอล สร้างบ้านพักภราดาขึ้นใหม่ เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น ปรับปรุงบ้านพักภราดาหลังเดิมให้เป็นบ้านพักครู มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์พร้อมกล้องส่องดูดาวขนาดใหญ่ และได้ตั้งชมรมดาราศาสตร์ขึ้น ขณะเดียวกัน ภราดามาร์ติน ประทีป โกมลมาศ และมาสเตอร์ทวี ปัญญา ได้ฝึกฝนเปียโนและไวโอลินให้กับนักเรียน จนหลายคนสามารถสอบวิชาดนตรีของ The Trinity College of Music, London University ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เกรด 4 พร้อมได้รับประกาศนียบัตร ในระหว่างนี้ ภราดามาร์ติน ได้นำไม้ยืนต้น จากกรมป่าไม้โดยได้รับความเอื้อเฟื้อจากคุณเขตร์ ศรียาภัย ศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญ มาปลูกในโรงเรียนกว่า 500 ต้น และในปีการศึกษา 2508 ได้เริ่มสร้างอาคารคอนกรีตทรงญี่ปุ่น ขนาด 10 ห้องเรียน ความยาว 80 เมตร สำหรับนักเรียนที่จะศึกษาในปีการศึกษา 2509 และเรียกอาคารนี้ว่า “ตึกญี่ปุ่น”
ปี [[พ.ศ. 2505]] ได้มีการสร้างโรงอาหารและได้ต่อเติมอาคารเรียนเรือนไม้ให้มีห้องเรียนมา2 ชั้น ปรับปรุงจากนั้น ยังได้ตั้งวงดนตรีไทยวงใหญ่ขึ้น ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรีไทยประเภทขับร้องเดี่ยว ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ทั่วประเทศ ได้รับรางวัลโล่ชนะเลิศจาก[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี]] ต่อมา ได้ตั้งวงโยธวาทิตพร้อมเครื่องดนตรีใหม่ครบชุด 36 ชิ้น ขึ้นเป็นครั้งแรกในโรงเรียน
 
ปี [[พ.ศ. 2508]] ได้ปรับปรุงอาคารเรียนให้มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยเพิ่มจำนวนห้องเรียน ปรับพื้นที่บริเวณโรงเรียน สร้างสนามบาสเกตบอลคอนกรีต 2 สนาม สร้างสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐาน สร้างบ้านพักครู 5 หลัง สำหรับครูที่มีครอบครัวแล้ว 4 หลัง และบ้านครูโสด 1 หลัง จำนวน 5 ห้อง ซึ่งเรียกว่า “บ้านชายโสด” ปรับปรุงเรือนไม้ที่เคยใช้เป็นบ้านพักภราดา โดยให้ชั้นบนเป็นห้องเรียนและห้องสมุด นับเป็นห้องสมุดแห่งแรกของโรงเรียน สำหรับชั้นล่างเป็นห้องพักครู จากนั้นได้เริ่มก่อสร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้น 12 ห้องเรียน แต่สร้างไม่ทันเสร็จ ท่านอธิการก็ได้ไปดำรงตำแหน่งอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมาเสียก่อน
ปี [[พ.ศ. 2526]] ได้มีการจัดทำแผนแม่บทระยะ 12 ปี ได้สร้างอาคารเรียน 4 ชั้น ทางด้านทิศตะวันออกเชื่อมกับอาคาร 4 เดิม แล้วเสร็จในปีการศึกษา 2529 ซึ่งเป็นวโรกาสที่โรงเรียนก่อตั้งครบ 25 ปี และได้รับพระกรุณาคุณจาก[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ]] เสด็จพระ<br />
 
ปี [[พ.ศ. 2510]] ได้มีการสร้างอาคาร 3 ชั้น ต่อจนเสร็จ และเปิดใช้ในปีการศึกษา 2512 เรียกว่า “ตึกอำนวยการ” ปัจจุบัน คือ “อาคารเซนต์คาเบรียล” จากนั้นได้ปรับปรุงเรือนไม้ให้เป็นห้องประชุม ห้องสมุด ห้องฉายภาพยนตร์ ห้องวิทยาศาสตร์ และห้องจำหน่ายอุปกรณ์การเรียน ราวต้นปีการศึกษา 2512 ภราดาราฟาแอล ภักดี ทุมมกานน เห็นว่าถนนตั้งแต่วงเวียนทะเลสาบถึงโรงเรียน เป็นหลุมเป็นบ่อจึงได้รวบรวมทุนทรัพย์จากผู้ปกครองและให้บริษัท ประยูรวิศว์ จำกัด มาลาดยางมะตอยเส้นทางดังกล่าว เรียกถนนสายนี้ว่า “ถนนอัสสัมชัญ” ต่อมาภราดาเลโอได้สร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้น เรียกว่า “ตึกวิทยาศาสตร์” ปัจจุบันเรียกว่า “อาคารอิลเดอฟองโซ” ใช้เป็นห้องวิทยาศาสตร์ 2 ห้อง ห้องฉายภาพยนตร์ ห้องพิมพ์ดีด และห้องพักครู เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2514 ฯพณฯ สุกิจ นิมมานเหมินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดอาคาร ต่อมา เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2515 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศรับรองวิทยฐานะโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ในปีนี้ เริ่มมีการแข่งขันกีฬาประเพณีระหว่างโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีกับโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ในปีการศึกษา 2516 ภราดาราฟาแอล ได้ซื้อที่ดินด้านหลังสนามฟุตบอลใหญ่เพิ่มอีก 10 ไร่ 9 ตารางวา
 
ปี [[พ.ศ. 2518]] ได้มีการปรับปรุงและพัฒนางานด้านวิชาการครั้งใหญ่ ได้ขยายห้องสมุดขนาด 6 ห้องเรียนให้ได้มาตรฐาน จัดหาอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เพื่อให้นักเรียนได้ทดลองด้วยตนเองจำนวนมาก สร้างกำแพงโรงเรียนด้านหน้าและด้านข้างบางส่วน แทนรั้วลวดหนามและรั้วเฟื่องฟ้าเดิม ปรับปรุงโรงเรียนอัสสัมชัญอาชีวศึกษา ที่เลิกกิจการไปให้เป็นนวกสถาน ปรับปรุงเป็นหอพักนักเรียนประจำ นำบ้านมงฟอร์ตมาเป็นสถานที่อบรมเยาวชนที่จะบวชเป็นภราดา ก่อนที่จะส่งไปศึกษาต่อที่ประเทศอินเดีย ในระหว่างนี้ ภราดาราฟาแอลได้ซื้อที่ดินที่ติดกับพื้นที่ด้านหลังโรงเรียนเพิ่มอีก 11 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวา และได้ซื้อที่ดินแปลงเล็ก ๆ เพิ่มอีก จนกระทั่งปัจจุบัน โรงเรียนมีเนื้อที่ทั้งหมด 80 ไร่ 27 ตารางวา
 
ปี [[พ.ศ. 2520]] ได้มีการเปลี่ยนวันหยุดประจำสัปดาห์ จากเดิมหยุดวันพฤหัสบดีและวันอาทิตย์ มาเป็นหยุดในวันเสาร์และวันอาทิตย์ ในปีการศึกษา 2522 ได้ก่อตั้ง กองลูกเสือสำรองและสามัญขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาปีการศึกษา 2523 มาสเตอร์ทวี ปัญญา ได้แต่งเพลงมาร์ชอัสสัมชัญธนบุรี และภราดาพีรพงศ์ ดาราไทย ได้ตั้งคณะโขนขึ้น ในส่วนของอาคารสถานที่ ได้ปรับปรุงสนามตะกร้อ สร้างสนามกรีฑา สนามเทนนิส ห้องน้ำนักเรียน ถนนรอบโรงเรียน และหอพักนักเรียนประจำ ขยายจำนวนห้องเรียนจากชั้นละ 4 ห้องเรียน เป็น 5 ห้องเรียน รื้ออาคารไม้หลังแรกออก และได้เริ่มก่อสร้างอาคารเรียนคอนกรีต 4 ชั้น 21 ห้องเรียน สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2525 เรียกว่า “อาคาร 4” ปีการศึกษา 2525 เปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทย์และสายศิลป์ อย่างละ 1 ห้อง เป็นปีแรก ซึ่งนักเรียนรุ่นแรก สามารถสอบเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาลได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังได้ตั้งวงดนตรีไทยวงใหญ่ขึ้น ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรีไทยประเภทขับร้องเดี่ยว ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ทั่วประเทศ ได้รับรางวัลโล่ชนะเลิศจาก[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี]] ต่อมา ได้ตั้งวงโยธวาทิตพร้อมเครื่องดนตรีใหม่ครบชุด 36 ชิ้น ขึ้นเป็นครั้งแรกในโรงเรียน
 
ปี [[พ.ศ. 2526]] ได้มีการจัดทำแผนแม่บทระยะ 12 ปี ได้สร้างอาคารเรียน 4 ชั้น ทางด้านทิศตะวันออกเชื่อมกับอาคาร 4 เดิม แล้วเสร็จในปีการศึกษา 2529 ซึ่งเป็นวโรกาสที่โรงเรียนก่อตั้งครบ 25 ปี และได้รับพระกรุณาคุณจาก[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ]] เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานพิธีเปิด ภราดามีศักดิ์ ยังได้ก่อตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูฯ ก่อตั้งสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญธนบุรี สร้างกำแพงด้านข้างและด้านหลังโรงเรียนต่อจากของเดิม ทำให้โรงเรียนมีกำแพงล้อมรอบโรงเรียนครบทั้ง 4 ด้าน สร้างโรงอาหารขนาดมาตรฐาน 2 ชั้น เริ่มจัดทำวารสารประจำโรงเรียน จัดให้มีงานราตรีสัมพันธ์เป็นครั้งแรก จัดตั้งโรงเรียนคอมพิวเตอร์อัสสัมชัญธนบุรี สร้างสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐานโอลิมปิกเป็นสระลอย 2 สระ โดยได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานพิธีเปิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2535 และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อสระว่ายน้ำว่า “เทิดเทพรัตน์’ 36” ในวโรกาสที่พระองค์ท่านมีพระชนมายุ 36 ชันษา นอกจากนั้น ยังได้สร้างเรือนไทยคีตวัณณ์ สำหรับฝึกซ้อมวงดนตรีไทย ได้ปรับปรุงวงโยธวาทิตโดยจัดหาเครื่องดนตรีเพิ่มเติมหลายชิ้น และมีการฝึกซ้อมอย่างจริงจัง จนได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันวงโยธวาทิตนักเรียน นิสิต นักศึกษา เขตการศึกษากรุงเทพมหานคร ประจำปีการศึกษา 2533 นอกจากนั้นยังได้รับเชิญให้ไปร่วมแสดงงานดนตรีเยาวชน 90 ในโอกาสที่ประเทศสิงคโปร์เฉลิมฉลองเอกราชครบ 25 ปี ได้สร้างสนามกรีฑาขนาดมาตรฐานพร้อมอัฒจันทร์และกระถางคบเพลิง ปรับปรุงสนามฟุตบอล สร้างอาคารมัธยมศึกษาตอนปลายชั่วคราว สร้างอาคารเก็บพัสดุครุภัณฑ์ต่าง ๆ ปรับปรุงประตูทางเข้า พัฒนาโรงอาหารจนได้รับรางวัลโรงอาหารมาตรฐานระดับดีเยี่ยม ริเริ่มให้มีการแข่งขันกีฬาครูสัมพันธ์อัสสัมชัญ 4 สถาบัน ขึ้นเป็นครั้งแรก
 
ปี [[พ.ศ. 2534]] ได้มีการปรับปรุงแผนแม่บทในการพัฒนาโรงเรียน ปีการศึกษา 2538 ได้ร่วมกับ The Bell Educational Trust จากสหราชอาณาจักร เปิดศูนย์ภาษาอังกฤษอัสสัมชัญธนบุรี Bell โดย ดร.เจริญ คันธวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานพิธีเปิด นอกจากนั้น ยังมีการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีอย่างจริงจัง โดยให้บุคลากรทุกคนอบรมการใช้คอมพิวเตอร์ ปีการศึกษา 2539 เป็นวโรกาสที่[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ร่วมกับคณะผู้ปกครอง ได้ร่วมกันสมทบทุนสร้างสวนกาญจนาภิเษก จากนั้น ได้เริ่มโครงการก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้โดย ฯพณฯ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ และ[[พระคาร์ดินัล]]ไมเกิ้ล [[มีชัย กิจบุญชู]] [[อัครมุขนายก]][[เขตมิสซังกรุงเทพฯ|มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ]] เป็นประธานพิธีเสกอาคาร และเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดอาคาร และได้พระราชทานนามอาคารหลังนี้ว่า “รัตนบรรณาคาร” แปลว่า อาคารแห่งหนังสือที่รุ่งเรือง พร้อมกันนี้ โรงเรียนได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายห้องทรงงานบนชั้น 3 ของอาคาร โดยได้รับพระราชานุญาต ให้ใช้นามห้องนี้ว่า “สิรินธร” และในคราวเสด็จฯ ทอดพระเนตรนิทรรศการ มีพระกรุณาธิคุณผสมเกสรดอกกล้วยไม้ระหว่างพันธุ์มาดามวิภากับพันธุ์เขียวบางเลน และได้พระราชทานนามกล้วยไม้ที่ผสมนี้ว่า “พันธุ์อัสสัมชัญ” ปีการศึกษา 2540 ได้เปิดการเรียนการสอนแบบสหศึกษาขึ้นเป็นครั้งแรก โดยรับนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นปีแรก จากนั้นได้ก่อสร้างอาคาร “ราฟาแอล” โดยมีศิษย์เก่า คือ ฯพณฯ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ และมุขนายกยอร์ช [[ยอด พิมพิสาร]] เป็นประธานพิธีเสกอาคาร จากนั้น ได้ก่อสร้างอาคารหอประชุมหลุยส์ มารี เดอ มงฟอร์ต ในโอกาสที่ก่อตั้งโรงเรียนครบ 36 ปี นับได้ว่ายุคนี้ เป็นช่วงเวลาแห่งการเข้าสู่ยุคการศึกษาสมัยใหม่อย่างแท้จริง
 
ปี [[พ.ศ. 2541]] ได้มีการก่อสร้างหอประชุมหลุยส์ มารี เดอ มงฟอร์ต จนแล้วเสร็จ ในปีการศึกษา 2542 มุขนายกไมเกิ้ล [[ประพนธ์ ชัยเจริญ]] ให้เกียรติมาเป็นประธานพิธีเสกอาคาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานพิธีเปิด เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2543 จากนั้น ภราดาเลอชัยได้ก่อสร้างอาคารบ้านพักภราดาหลังใหม่แทนบ้านพักภราดาหลังเดิม ก่อตั้งทุน “ลวสุต” เพื่อมอบให้กับนักเรียนในชุมชนโดยรอบที่เรียนดีแต่ขาดแคลน สร้างบรรยากาศคาทอลิกโดยการติดตั้งรูปปั้น[[พระนางมารีย์พรหมจารี]] รูปปั้นนักบุญ[[หลุยส์ เดอ มงฟอร์]] ตามบริเวณต่าง ๆ ของโรงเรียน ทำรูปหล่อคุณไถง สุวรรณฑัต และภราดายอห์น แมรี่ ถมคลองทำถนนรอบโรงเรียน ปรับปรุงสถานที่ด้านหลังโรงเรียนให้เป็นสวนเกษตรผสมผสานตามแนวทฤษฏีใหม่ สร้างแปลงนาสาธิต ตลอดจนสร้างแหล่งเรียนรู้ที่มีสัตว์เลี้ยงนานาชนิด สนับสนุนการแข่งขันกีฬาฟุตบอลภายใน ให้ชื่อว่า “ตากสินคัพ” ริเริ่มโครงการนักกีฬาฟุตบอลช้างเผือกโดยใช้หอพักเดิมที่อยู่ในบริเวณวัดนักบุญหลุยส์ฯ เป็นที่พัก สนับสนุนพัฒนาห้องสมุดเป็นอย่างมาก โดยปีการศึกษา 2543 สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ได้มอบรางวัลห้องสมุดดีเด่นระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษให้กับโรงเรียน นอกจากนั้น ยังได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ได้จัดตั้งกองทุนต่าง ๆ อาทิ กองทุนสวัสดิการครู กองทุนถาวรครูไม่สูญสลาย กองทุนครูเกษียณ และเริ่มก่อสร้างอาคาร “ยอห์น แมรี่”
 
ปี[[พ.ศ. 2544]] ได้มีการสร้างอาคาร “ยอห์น แมรี่” จนแล้วเสร็จ เพื่อเป็นสถานที่จำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเขียน ห้องอาหาร ที่ทำการสมาคมผู้ปกครองฯ ที่ทำการสมาคมศิษย์เก่า และห้องประชุม ปีการศึกษา 2544 สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ได้มอบรางวัลห้องสมุดดีเด่นระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ให้กับโรงเรียน ปรับปรุงอาคาร “มาร์ติน” ให้เป็นหอพักนักกีฬาฟุตบอลช้างเผือก ส่งเสริมสนับสนุนทีมนักกีฬาฟุตบอลจนกระทั่งได้รับชัยชนะหลายรายการ ได้สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนและประเทศชาติ โดยเป็นตัวแทนโซนเอเชีย ไปแข่งขันในรายการ “แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด พรีเมียร์คัพ 2003 เวิลด์ไฟนัล” ที่รัฐโอเรกอนประเทศสหรัฐอเมริกา ได้อันดับที่ 5 จาก 20 ทีมทั่วโลก สนับสนุนให้คณะครูแต่งเครื่องแบบของโรงเรียน เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับสถาบัน Knoten Welmar สาธารณรัฐเยอรมัน โดยนำเศษกิ่งไม้ใบไม้มาทำปุ๋ยหมักเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ปรับปรุงสวนสัตว์โดยการสร้างกรงนกขนาดใหญ่ และได้ก่อสร้างอาคารเซนต์แอนดรูว์สำหรับเป็นบ้านพักครูต่างชาติ ได้เช่าสถานที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียลที่คลองทวีวัฒนา เพื่อทำสนามฝึกซ้อมให้กับนักกีฬาฟุตบอลช้างเผือก นอกจากนั้นยังได้นำหลักสูตรภาษาจีนเข้ามาสอนในโรงเรียน และเริ่มวางแผนการเปิดหลักสูตร English Program
 
ปี [[พ.ศ. 2547]]ได้มีการเปิดสอนหลักสูตร English Program ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประถมศึกษาปีที่ 4 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 และได้ก่อสร้างอาคารบ้านพักครูต่างชาติเพิ่มอีก 1 หลัง สร้างศูนย์การเรียนสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 ปรับปรุงพื้นที่ใต้สระว่ายน้ำให้เป็นครัวลีลาวดี สร้างห้องเบเกอรี่ ห้องเซรามิค และห้องเบญจรงค์ สร้างแหล่งเรียนรู้โดยรอบโรงเรียน อาทิ สร้างโรงเพาะเห็ด วังมัจฉา โรงทำกระดาษ ไบโอดีเซล และปลูกพืชไฮโดรโปรนิก จัดตั้ง ACT Bank พัฒนาโรงเรียน จนได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่ ในปีการศึกษา 2548 และนายชวิน ชัยวัฒน์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถทำคะแนนรวมเป็นที่ 1 ของประเทศในคณะแพทยศาสตร์ ต่อมาในปีการศึกษา 2549 ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่อีกครั้ง
 
<br />
ปี [[พ.ศ. 2550]] ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานใหม่ พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ นำเอา Interactive Board พร้อมระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ตลอดจนจอ LCD ขนาดใหญ่ มาใช้ในห้องเรียน ปรับเปลี่ยนคอมพิวเตอร์จำนวนมาก นำระบบ School Web-based Information System SWIS มาใช้ในการบริหารงาน ติดระบบวงจรปิดเพื่อความปลอดภัยตามสถานที่ต่างๆ ของโรงเรียน ขยายหลักสูตร English Program ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพิ่มแผนการเรียนสหศิลป์ ดนตรี กีฬา คอมพิวแตอร์ จัดตั้งศูนย์ดนตรีและจัดหลักสูตรเรียนดนตรีในเวลาเรียนให้นักเรียนเลือกเรียนตามความสนใจ ขยายหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษกับศูนย์ Bell ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และสอนภาษาจีนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นอกจากนั้นยังบูรณาการ การสอนภาษาอังกฤษในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และคอมพิวเตอร์ สนับสนุนให้ครูทำงานวิจัยและเขียนบทความ จัดทำห้องศูนย์การพิมพ์ให้ครูใช้ผลิตสื่อการสอน เปิดรับนักเรียนหญิงในทุกระดับชั้น นับว่าโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีเป็นโรงเรียนสหศึกษาโดยสมบูรณ์ ในด้านอาคารสถานที่ ได้ก่อสร้างอาคารเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเซนต์ปีเตอร์ ในคราวที่โรงเรียนก่อตั้งครบ 48 ปี และสร้างอาคารยิมเนเซียม ในโอกาสฉลอง 50 ปีโรงเรียน นอกจากนั้นยังได้ก่อสร้างอาคาร ลวสุต เป็นที่พักนักกีฬาโครงการพิเศษ (ช้างเผือก) สร้างอาคารสำนักงานฝ่ายอาคารสถานที่สำหรับเป็นที่เก็บวัสดุครุภัณฑ์ต่าง ๆ ปรับปรุงอาคารเซนต์คาเบรียล และอาคารอิลเดอฟองโซ ให้เป็นสถานที่เรียนอย่างเป็นสัดส่วนของนักเรียน English Program ปรับปรุงประตูทางเข้าและแนวรั้วด้านหน้าโรงเรียนใหม่ ปรับปรุงสนามกีฬา ลู่วิ่ง กระถางคบเพลิง และอัฒจันทร์ใหม่ ให้ชื่อว่า “สนามว่องประชานุกูล” ปรับปรุงอาคารมาร์ติน ให้เป็นสถานที่เรียนกิจกรรม ปรับปรุงสระว่ายน้ำ สถานที่ต่าง ๆ ตลอดจนภูมิทัศน์โดยรอบโรงเรียนใหม่ให้สวยงาม นอกจากนั้น ยังได้นำบทสวดมนต์ภาษาอังกฤษมาใช้ในโรงเรียน ส่งเสริมสนับสนุนให้ฝึกซ้อมวงโยธวาทิตอย่างจริงจัง ร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง รณรงค์ให้โรงเรียนเป็นแหล่งอนุรักษ์พลังงาน จนได้รับรางวัลสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงาน สนับสนุนให้นักฟุตบอลเข้าร่วมการแข่งขันในระดับประเทศ ส่งผลให้ทีมฟุตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ได้เลื่อนชั้นไปเล่นฟุตบอลอาชีพ ลีกดิวิชั่น 2 ในชื่อ “อัสสัมชัญธนบุรี เดอะแพค เอฟซี” นอกจากนั้นนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ยังได้รับรางวัลอื่น ๆ ในระดับชาติอีกมากมายหลายรายการ
 
เส้น 66 ⟶ 84:
== ผู้ก่อตั้งโรงเรียน ==
[[ไฟล์: Bro.John.jpg|right|frame|right|เจษฎาธิการ ภราดายอห์น แมรี่ เยซู ซาลาส เอสควิโรส]]
'''เจษฎาธิการ ภราดายอห์น แมรี่ เยซู ซาลาส เอสควิโรส''' (Reverend Brother John Mary Jesus Salas Esquiroz) ผู้ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี เกิดเมื่อวันที่ [[25 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2457]]<ref>http://writer.dek-d.com/Writer/story/view.php?id=232333</ref> ที่เมือง ทาฟารา นาวารา (TaTafalla Navarra) [[ประเทศสเปน]] สมัครเข้าศึกษาในยุวลัยคณะภราดาเซนต์คาเบรียล และได้ถวายตัวครั้งแรก เมื่อวันที่ [[15 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2474]] จากนั้น ได้อาสามาปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในประเทศไทย ในวันที่ [[6 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2479]] และได้ถวายตัวตลอดชีวิต ที่วัดน้อย [[โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา]] [[จังหวัดชลบุรี]] เมื่อ [[17 เมษายน]] [[พ.ศ. 2481]] พ.ศ. 2491 – 2494 เป็นอธิการโรงเรียนเซนต์หลุยส์ พ.ศ. 2496 - 2498 เป็นอธิการโรงเรียนเซนต์คาเบรียล พ.ศ. 2503 – 2505 เป็นอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญ พ.ศ. 2498 – 2507
 
เป็นเจ้าคณะแขวงคณะภราดาเซนต์คาเบรียลไทย พ.ศ. 2508 – 2514 <ref>http://haab.catholic.or.th/priest/priestfr/bsgthai.html</ref>เป็นผู้ช่วยอัคราธิการคณะเซนต์คาเบรียลที่กรุงโรม พ.ศ.. 2515 – 2516 เป็นอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา พ.ศ. 2517 – 2540 ประจำอยู่วิริยานุชนสถาน ขอนแก่น พ.ศ..2540 – 2546 เกษียณที่โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี พ.ศ. 2546 พักเกษียณที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จนถึงวันที่ [[23 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2546]] ท่านได้มรณภาพอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลคามิลเลี่ยน รวมอายุได้ 88 ปี 7 เดือน 28 วัน จากนั้น ได้นำร่างฝังที่สุสานคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ภายในยุวลัย นักบุญหลุยส์ มารี โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา โดย[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]]พระราชทานดินฝังศพ เป็นกรณีพิเศษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน และเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ จากราชอาณาจักรสเปน มีดังนี้
*1.เครื่องหมายเชิดชูเกียรติที่ได้เป็นมิสชั่นนารีดีเด่น จากกระทรวงการต่างประเทศสเปน เมื่อ พ.ศ. 2505
*2.เครื่องราชอิสริยาภรณ์ Great Cross of Isabel La Catolica ชั้นที่ 2 โดย Mr.Castielle รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสเปน ในปี พ.ศ. 2507
*3.เครื่องราชอิสริยาภรณ์ Great Cross of Isabel La Catolica ชั้นที่ 1 จาก[[สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน]] ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะ
 
ระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่ง[[อธิการเจ้าคณะแขวง]] ท่านได้ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี โรงพยาบาลที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา (ยุวลัยนักบุญหลุยส์มารี ในปัจจุบัน) และก่อสร้างศูนย์กลางแขวงไทยที่ซองทองหล่อ หลังจากเกษียณอายุแล้ว ท่านได้ใช้เวลาในการเขียนหนังสือเกี่ยวกับประวัติของคณะภราดาในประเทศไทย พระศาสนจักร[[โรมันคาทอลิกในประเทศไทย]] หนังสืออื่นๆ เช่น 30 ปีกับคนโรคเรื้อน, มรดกของเรา (ประวัติภราดา 10 ท่านที่ทำชื่อเสียงในประเทศไทย) บทความเกี่ยวกับโรงเรียนต่างๆ และข่าวในวารสาร NOK ซึ่งเป็นวารสารในคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแขวงประเทศไทย
 
== ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน ==
{| class="wikitable" width="70%"
|-
! ที่
! ชื่อ - สกุล
! ตำแหน่ง
! วาระการดำรงตำแหน่ง
 
|-
| 1
| ภราดาอาซีเนียว อานเกล อินฟานเต
| อธิการ
| พ.ศ. 2504 – 2505
 
|-
| 2
| ภราดาอิลเดอฟองโซ มารี ซีซีเรีย
| อธิการ
| พ.ศ. 2505 – 2507
 
|-
| 3
| ภราดาฟิลิป (อำนวย ปิ่นรัตน์)
| อธิการ
| พ.ศ. 2508
 
|-
| 4
| ภราดาแอนดรูว์ (อารมณ์ วรศิลป์)
| อธิการ
| พ.ศ. 2507 – 2510
 
|-
| 5
| ภราดาเลโอ (ดร.วิศิษฐ์ ศรีวิชัยรัตน์)
| อธิการ
| พ.ศ. 2510 – 2517
 
|-
| 6
| ภราดา ดร.[[บัญชา แสงหิรัญ]]
| อธิการ
| พ.ศ. 2518 – 2520
 
|-
| 7
| ภราดาสมพงษ์ ศรีสุระ
| อธิการ
| พ.ศ. 2520 – 2526
 
|-
| 8
| ภราดามีศักดิ์ ว่องประชานุกูล
| อธิการ
| พ.ศ. 2526 – 2534
 
|-
| 9
| ภราดา ดร.อานันท์ ปรีชาวุฒิ
| ผู้อำนวยการ
| พ.ศ. 2534 – 2541
 
|-
| 10
| ภราดา ดร.เลอชัย ลวสุต
| ผู้อำนวยการ
| พ.ศ. 2541 – 2543
|-
| 11
| ภราดา ดร.เดชาชัย ศรีพิจารณ์
| ผู้อำนวยการ
| พ.ศ. 2544 – 2546
 
|-
| 12
| ภราดาอาจิณ เต่งตระกูล
| ผู้อำนวยการ
| พ.ศ. 2547 – 2549
 
|-
| 13
| ภราดา ดร.ชำนาญ เหล่ารักผล
| ผู้อำนวยการ
| พ.ศ. 2550 – 2555
 
|-
| 14
| ภราดา ดร.วีรยุทธ บุญพราหมณ์
| ผู้อำนวยการ
| พ.ศ. 2556 – ปัจจุบัน
|}
 
== สถานที่สำคัญในโรงเรียน ==
โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี มีอาคารหลักทั้งหมด 15 อาคาร เป็นอาคารเรียน 6 อาคาร และอาคารอเนกประสงค์ 9 อาคาร <ref>http://www.weekendhobby.com/act50th/webboard/Question.asp?ID=99</ref>
 
'''อาคารรัตนบรรณาคาร''' เป็นอาคารศูนย์การเรียนรู้ที่ครบวงจรขนาดใหญ่ พื้นที่ใช้สอยจำนวน 4 ชั้นโดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อว่า "รัตนบรรณาคาร" อีกทั้งยังมีพระกรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดอาคาร นอกจากนี้ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ และ[[พระคาร์ดินัล]]ไมเกิ้ล [[มีชัย กิจบุญชู]] [[อัครมุขนายก]][[เขตมิสซังกรุงเทพ|มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ]] เป็นประธานเสกอาคาร อาคารรัตนบรรรณาคาร ประกอบด้วย ห้องสมุดทวีปัญญา ซึ่งเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่พิเศษใช้พื้นที่บริเวณชั้น 3 และ ชั้น 4 ภายในประกอบไปด้วย ห้องสมุดเสเสียง ห้องสิรินธร ห้องฉายภาพยนตร์ และห้องพิพิธภัณฑ์ ในส่วนชั้นที่ 1 และ ชั้นที่ 2 ประกอบไปด้วย ห้องประชุมรัตนบรรณาคาร ห้องประชุมไถง สุวรรณฑัต ห้องวิจัยครู สำนักผู้อำนวยการ ห้องโสตทัศนูปกรณ์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการชีววิทยา ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ ห้องปฏิบัติการแมคอินทอช ห้องปฏิบัติการวินโดวส์ ตลอดจนห้องปฏิบัติการสาระการเรียนรู้วิชาต่างๆ ห้องเซิร์ฟเวอร์ ห้องเลขาผู้อำนวยการ ห้องแนะแนว ห้องปฏิบัติการเคมี
 
'''หอประชุมหลุยส์ มารี เดอ มงฟอร์ต''' เป็นอาคารศูนย์การเรียนรู้ที่ทันสมัย สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติและอนุสรณรำลึกบุญคุณของ นักบุญ[[หลุยส์ เดอ มงฟอร์]] ผู้ก่อตั้ง[[คณะภราดาเซนต์คาเบรียล]] โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระกรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร อาคารดังกล่าว ประกอบด้วย ห้องประชุมอเนกประสงค์ขนาดใหญ่พิเศษที่สามารถใช้เป็นได้ทั้งสถานที่ประชุม สนามกีฬาในร่ม และโรงละคร สามารถจุคนได้มากกว่า 2,000 คน นอกจากนี้ยังมีห้องประชุมมงฟอร์ตออดิโธเรียม ตลอดจนศูนย์ดนตรี ซึ่งประกอบด้วยห้องเรียนดนตรีไทยและสากล 20 ห้อง <ref>http://www.icons.co.th/Architectsubdb.asp?name=6831</ref>
 
'''อาคารอัสสัมชัญ''' พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงเปิดอาคารในงานฉลองครบ 30 ปีของโรงเรียน เป็นอาคารเรียนที่มีความยาวที่สุดในโรงเรียน ขนาดความยาว 135 เมตร ปัจจุบันประกอบด้วย ห้องเรียนนักเรียนระดับชั้น ป.5 - ม.2 จำนวน 40 ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 6 ห้อง ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ 2 ห้อง ห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น ห้องเรียนภาษาจีน
 
'''อาคารราฟาแอล''' เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ ภราดาราฟาแอล ภักดี ทุมมกานนท์ ภราดาอาวุโส เป็นอาคารเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 6 ชั้น ประกอบไปด้วย ห้องเรียนนักเรียนระดับชั้น ป.1 - ป.4 ห้องเรียนเปียโน ห้องคอมพิวเตอร์ 4 ห้อง ห้องเรียนศิลปะ ห้องแล็บ ห้องเรียนภาษาจีน ห้องเรียนเซรามิค ห้องประชุมราฟาแอล ห้องเสริมทักษะพัฒนาการเรียนรู้ ตลอดจนโถงอเนกประสงค์ขนาดใหญ่<ref>http://www.civiltechdesign.com/project_education_h.html</ref>
 
'''อาคารเทิดเทพรัตน์ 36''' เป็นอาคารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา โดยได้รับพระกรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร อาคารหลังดังกล่าวประกอบด้วยสระว่ายน้ำขนาด 25 เมตร และ 50 เมตร รวม 2 สระ ตลอดจนห้องเก็บอุปกรณ์พลศึกษา ห้องเก็บอุปกรณ์ศิลปะ ห้องพยาบาล และมีห้องอาหารอยู่บริเวณใต้อาคาร <ref>http://www.act.ac.th/department/pool/</ref>
 
'''อาคารอิลเดอฟองโซ''' เดิมชื่ออาคารอำนวยการ หรืออาคาร 1 ต่อมาตั้งนามเพื่อเป็นเกียรติแด่ ภราดาอิลเดอฟองโซ มาเรีย ซีซีเรีย อดีตผู้อำนวยการคนที่ 2 ของโรงเรียน ประกอบด้วยห้องเรียนนักเรียนระดับชั้น EP (ENGLISH PROGRAM) และห้องปกครอง
 
'''อาคารเซนต์คาเบรียล''' เดิมชื่ออาคารวิทยาศาสตร์ หรืออาคาร 2 ต่อมาตั้งนามเพื่อเป็นเกียรติแด่[[อัครทูตสวรรค์]][[กาเบรียล]] องค์อุปถัมภ์คณะภราดาเซนต์คาเบรียล ประกอบด้วยห้องเรียนนักเรียนระดับชั้น EP (ENGLISH PROGRAM) ห้องวิชาการ ห้องการเงิน และห้องธุรการ
 
'''อาคารยอห์น แมรี่''' เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติและอนุสรณ์รำลึกถึงบุญคุณของ ภราดายอห์น แมรี่ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี อาคารหลังนี้เป็นที่ทำการของสมาคมศิษย์เก่าฯ ร้านค้าของโรงเรียน และห้องอาคารครัวต้นสน
 
'''อาคารเซนต์แมรี่''' เดิมชื่ออาคารเซนต์หลุยส์ เปลี่ยนมาเป็นเซนต์แมรี่ ในสมัยภราดาเลอชัย ลวสุต เพื่อถวายแด่แม่พระ อาคารหลังนี้เป็นโรงอาหารขนาดใหญ่ 2 ชั้น ประกอบด้วยปีกซ้าย และ ปีกขวา โดยแต่ละด้านจะมีร้านอาหารด้านละ 25 ร้าน ส่วนชั้นบนจะเป็นที่รับรองของคุณครูและแขกทางโรงเรียน ในอดีตโรงอาหารชั้นบนจะเป็นของส่วนนักเรียนประถม และชั้นล่างจะเป็นของส่วนนักเรียนมัธยม ปัจจุบันส่วนรับประทานอาหารของนักเรียนประถม ได้ย้ายไปใช้โรงอาหารอาคารโกลเด้นจูบิลี่แล้ว
 
'''อาคารเซนต์ยอแซฟ''' เดิมเป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานช่างของโรงเรียน จึงตั้งนามเพื่อเป็นเกียรติแด่[[นักบุญโยเซฟ]] ภัสดาพระนางมารีย์ [[นักบุญองค์อุปถัมภ์]]กรรมกร ปัจจุบันอาคารหลังนี้เป็น อาคารเรียนโปรแกรมการเรียนภาษาอังกฤษพิเศษจากศูนย์ BELL ประเทศอังกฤษ
 
'''อาคารเซนต์มาร์ติน''' เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ ภราดามาร์ติน ประทีป โกมลมาศ ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน อาคารหลังนี้เป็นที่พักของนักเรียนโครงการนักกีฬาช้างเผือก
 
'''อาคารเซนต์แอนดรูว์''' เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ภราดาแอนดรูว์ อารมณ์ วรศิลป์ อดีตอธิการของโรงเรียน อาคารหลังนี้เป็นที่พัก สำหรับครูชาวต่างประเทศ เป็นอาคารสูง 12 ชั้น ตกแต่งห้องพักเหมือนโรงแรมชั้นนำ
 
'''อาคารลวสุต''' เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ภราดาชาลล์ โบโรเมโอ เลอชัย ลวสุต อาคารหลังนี้ใช้เป็นบ้านพักนักกีฬาโครงการพิเศษ
 
'''อาคารเซนต์ปีเตอร์''' เป็นอาคารเรียนขนาดใหญ่ของระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดอาคาร โดยอาคารนี้ตั้งนามเพื่อเป็นเกียรติแด่ภราดาเปโตร อานันท์ ปรีชาวุฒิ อธิการคนที่ 9 ของโรงเรียน ใช้เป็นอาคารเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยตั้งขนาบกับอาคารอิลเดอฟองโซและอาคารเซนต์คาเบรียล ประกอบด้วยห้องการเรียนที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน มีคอมพิวเตอร์ โปรเจกต์เตอร์ สมาร์ทบอร์ด ทุกห้องเรียน โดยในชั้นบนจะเป็นห้องประชุมเซนต์ปีเตอร์
 
'''อาคารโกลเด้นจูบิลี่ (ยิมเนเซียม)''' เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงรองรับกีฬาในร่มประเภทต่างๆได้โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดอาคาร ออกแบบโดยบริษัท ไทยโพลิคอนส์<ref>http://www.thaipolycons.co.th/2009/th/Service/previous/hospital_.aspx</ref> โดยประกอบทั้งหมด 4 ชั้น ได้แก่ ชั้นใต้ดินเป็นลานจอดรถ ชั้น 1 เป็นโรงอาหารขนาดใหญ่ ชั้น 2 เป็น ห้องเรียนกอล์ฟ ห้องเรียนเทคอนโด ห้องเรียนการแสดงจากบางกอกแดนซ์ ห้องคหกรรม ห้องฟิตเนส เป็นต้น ส่วนชั้น 3 เป็นโรงยิมในร่มชื่อว่า มาร์ตินยิมเนเซียม ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนไปเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่ได้ โดยสามารถรองรับได้ 1,000 คน
 
'''อาคาร Alexis Music Building''' ศูนย์ฝึกดนตรีวงโยธวาทิตซึ่งเป็นอาคารเรียนและฝึกซ้อมของนักเรียนวงโยธวาทิต
 
อีกทั้งยังมีสนามฟุตบอลใหญ่ 1 สนาม คือ สนามว่องประชานุกูล (เดิมชื่อสนามแอนดรูว์) สนามหญ้าเทียมบริเวณหน้าอาคารรัตนบรรณาคาร ลานอเนกประสงค์ ACT Sport Arena ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นสนามฟุตบอลเล็ก 2 สนาม หรือสนามบาสเก็ตบอล 2 สนาม หรือสนามเทนนิสได้ ในส่วนของจะประกอบไปด้วยสวนกาญจนาภิเษก โดยมีอาคารโดมแปดเหลี่ยม สร้างเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสฉลองครบรอบ 50 ปี แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ใกล้ๆกันมีสวนสมุนไพร สวนพรรณไม้ในวรรณคดี สวนเศรษฐกิจพอเพียง บ้านดำรงไทย ตลอดจนอาคารขนาดกลางและขนาดเล็กอื่นๆ
 
นอกจากนี้โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี มีวัดประจำโรงเรียน คือ วัดนักบุญหลุยส์ มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต บางแค เพื่อใช้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนและเป็นวัดให้กับทางชุมชนอีกด้วย
 
== หลักสูตรที่เปิดสอน ==
โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี มีแผนการเรียนแบ่งได้ดังนี้ <ref>http://www.act.ac.th/document/detail2553.pdf</ref>
 
เส้น 86 ⟶ 240:
# แผนการเรียน English Program
 
'''ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6'''
* หลักสูตรสามัญ
# แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ (วิทย์ – คณิต)
# แผนการเรียนอังกฤษ – คณิตศาสตร์ (ศิลป์ – คำนวณ)
# แผนการเรียนสหศิลป์ ได้แก่ สหศิลป์-จีน , สหศิลป์-ญี่ปุ่น , สหศิลป์-คอมพิวเตอร์ , สหศิลป์ดนตรีและการแสดง , สหศิลป์กีฬา(เฉพาะนักกีฬาโครงการพิเศษของโรงเรียน)
 
* หลักสูตร English Program
# แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ (วิทย์ – คณิต)
# แผนการเรียนอังกฤษ – คณิตศาสตร์ (ศิลป์ – คำนวณ)
 
== แนวทางจัดการเรียนการสอน ==
 
'''หลักสูตรสามัญ IEP (Interactive English Program) ป.1 - ม.6'''
 
ป.1 - ม.3
เรียนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เสริมทักษะด้านภาษาโดยบูรณาการการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ใน 5 วิชา ได้แก่ วิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา และคอมพิวเตอร์ มีครูไทยสอนคู่กับครูต่างชาติเพื่อเพิ่มความเข้มข้นด้านภาษาอังกฤษให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะครบทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่ ฟัง พูด อ่าน เขียน นอกจากนั้นโรงเรียนได้ส่งเสริมทักษะภาษาจีนให้แก่นักเรียนอีกด้วยโดยนักเรียนจะได้เรียนภาษาจีน 2 คาบต่อสัมดาห์ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ม.4 - ม.6
จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เสริมทักษะด้านภาษา โดยบูรณาการการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษใน 5 รายวิชา ได้แก่ วิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา และคอมพิวเตอร์ โดยมีครูต่างชาติสอนคู่กับครูไทย แบ่งแผนการเรียนตามความถนัดของนักเรียน ดังนี้
 
* แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ เน้นการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาต่อเกี่ยวกับการแพทย์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
 
* แผนการเรียนคณิตศาสตร์ – ภาษาอังกฤษ (สายศิลป์คำนวณเน้นภาษาอังกฤษ) เน้นการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย เรียน วิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษกับครูชาวต่างชาติเหมาะสำหรับผู้สนใจศึกษาต่อด้านบริหารธุรกิจ การทูต กฎหมาย นิเทศศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บัญชี สถาปนิก อักษรศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ ฯลฯ
 
* แผนการเรียนสหศิลป์ เน้นการเรียนด้านต่างๆซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกเรียนด้านใดด้านหนึ่งได้ตามความถนัดและความสนใจ แบ่งเป็น ด้านดนตรีและการแสดง คอมพิวเตอร์ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน และกีฬา(แผนกีฬาเฉพาะนักกีฬาโครงการพิเศษของโรงเรียน) เหมาะสำหรับผู้ที่จะศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา มัณฑนศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ นิเทศศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์การจัดการ การท่องเที่ยว คณะพลศึกษา สื่อสารและเทคโนโลยี อักษรศาสตร์ บริหารธุรกิจ กฎหมาย ฯลฯ
 
 
* '''หลักสูตรสามัญ – Bell (Interactive English Program - ฺBell) ป.1 - ม.3'''
โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีได้เข้าร่วมกับสถาบันสอนภาษา The Bell Educational Trust ประเทศอังกฤษ จัดการเรียนการสอนโดยครูต่างชาติที่เป็น Native Speaker ที่มีความเชี่ยวชาญในการสอนภาษาอังกฤษสำหรับคนต่างชาติ ด้วยการจัดนักเรียนเป็นกลุ่มย่อยกลุ่มละ 15-20 คน ต่อครู 1 คน มีการวัดมาตรฐานการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษโดยการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษตามมาตรฐานของ Cambridge ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลก นอกจากนั้นยังเสริมทักษะภาษาอังกฤษโดยบูรณาการวิชาภาษาอังกฤษกับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา และคอมพิวเตอร์ โดยมีครูไทยสอนร่วมกับครูต่างชาติ นักเรียนแผน IEP-Bell ป.1-ป.6 เรียนภาษาอังกฤษกับ Native Speaker 3 คาบต่อสัปดาห์ และภาษาจีน 2 คาบต่อสัปดาห์ / นักเรียน ม.1-ม.3 เรียนภาษาอังกฤษกับ Native Speaker 5 คาบต่อสัปดาห์ (ไม่มีเรียนภาษาจีน)
 
* '''หลักสูตร English Program ป.1 - ม.6'''
โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี เริ่มเปิดสอนนักเรียนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนด้านความรู้ภาษาอังกฤษและศาสตร์อื่นๆ โดยคณะครูผู้สอนได้แก่ ครูที่เป็นเจ้าของภาษา (Native English Speakers) ครูชาติอื่นๆ (Non- Native English Speakers) รวมทั้งครูไทยที่มีความสามารถด้านภาษา มีวุฒิการศึกษา และมีประสบการณ์ในการสอนตรงตามวิชาที่สอน โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีได้เปิดสอนหลักสูตร English Program ตั้งแต่ Grade 1-12 (ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6) โดยสอนทุกวิชาเป็นภาษาอังกฤษ ยกเว้นวิชาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทย ได้แก่ ภาษาไทย ศิลปะ นาฎศิลปื ดนตรี ส่วนวิชาสังคมศึกษาและคอมพิวเตอร์ดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตรของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
 
== ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง ==
== ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงบ้านเศรษฐกิจ" ซึ่งจะวิ่งจากหน้าโรงเรียน ผ่านวงเวียนภายในหมู่บ้านเศรษฐกิจ เลี้ยงขวาออกถนนเพชรเกษม โดยจะไปสิ้นสุดที่จุดกลับรถบริเวณห้างซีคอนบางแค ==
* พลโท ศาสตราจารย์คลินิก [[ภานุวิชญ์ พุ่มหิรัญ]] (ACT155) - เจ้ากรมแพทย์ทหารบก ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนารักษ์
* [[สุวัจน์ ลิปตพัลลภ]] (ACT07) - อดีตรองนายกรัฐมนตรี
* [[จำเริญ รัตนตั้งตระกูล]] (ACT3013) - ผู้ประกาศข่าว
* [[สุดเขต ประภากมล]] (ACT3114) - นักแบดมินตันทีมชาติไทย
* [[ภัททพล เงินศรีสุข]] (ACT3114) - นักแบดมินตันทีมชาติไทย
* [[สุริยนต์ อรุณวัฒนกูล]] (ACT3417) - พิธีกรรายการ [[โอไอซี]]
* [[มนัญญา ลิ่มเสถียร]] (ACT3619) - นักร้องวง [[เกิร์ลลีเบอร์รี]]
* [[หยาดทิพย์ ราชปาล]] (ACT3821) - [[นักแสดง]]
* [[วิทวัส สิงห์ลำพอง]] (ACT3922) - [[นักแสดง]]
* [[ประสาร ไตรรัตน์วรกุล]] (ACT04) - กรรมการ และกรรมการผู้จัดการ [[ธนาคารกสิกรไทย|บมจ.ธนาคารกสิกรไทย]]
* พลเรือเอก [[กำธร พุ่มหิรัญ]] - ผู้บัญชาการทหารเรือ
* ธีรพจน์ ผลิตากุล - นักเปียโนแจ๊ส, อาจารย์ประจำ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ [[มหาวิทยาลัยมหิดล]]
* [[เปรมณัช สุวรรณานนท์]] - นักแสดง
* [[สุธา ชันแสง]] - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2551)
* [[ธีรศิลป์ แดงดา]] - [[ฟุตบอลทีมชาติไทย|นักฟุตบอลทีมชาติไทย]] และ [[สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด|เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด]]
* [[ประกิต ดีพร้อม]] - [[ฟุตบอลทีมชาติไทย|นักฟุตบอลทีมชาติไทย]] และ [[สโมสรฟุตบอลจังหวัดชลบุรี|ชลบุรี]]
* [[กวิน ธรรมสัจจานันท์]] - [[ฟุตบอลทีมชาติไทย|นักฟุตบอลทีมชาติไทย]] และ [[สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด|เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด]]
* [[ธีราทร บุญมาทัน]] - [[ฟุตบอลทีมชาติไทย|นักฟุตบอลทีมชาติไทย]] และ [[สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด|เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด]]
* [[สารัช อยู่เย็น]] - [[ฟุตบอลทีมชาติไทย|นักฟุตบอลทีมชาติไทย]] และ [[สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด|เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด]]
* [[นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม]] - [[ฟุตบอลทีมชาติไทย|นักฟุตบอลทีมชาติไทย]] และ [[สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด|บุรีรัมย์
ยูไนเต็ด]]
* [[พลัฏฐ์พล มิ่งพรพิชิต]] - ผู้กำกับภาพยนตร์
* [[รัชนก อินทนนท์]] - นักแบดมินตันหญิง
* [[ชนานันท์ ป้อมบุปผา]] - [[สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี|สุพรรณบุรี]]
* [[สุพรรณ ทองสงค์]] - [[สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด|เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด]]
* สรวิทย์ พานทอง - [[ฟุตบอลทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี|ไทย ยู-19]] และ [[สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด|เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด]]
* [[เสกสิทธิ์ ศรีใส]] - [[สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด|เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด]]
* [[พรชดา เครือคช]] - [[มิสทีนไทยแลนด์]] 2013 และ นักแสดงสังกัด [[ช่อง 7]]
 
== การเดินทาง ==
ทางถนนเพชรเกษม มีรถสองแถว "บางแค - หมู่บ้านเศรษฐกิจ" ซึ่งจะวิ่งจากหน้าโรงเรียน ผ่านวงเวียนภายในหมู่บ้านเศรษฐกิจ เลี้ยงขวาออกถนนเพชรเกษม โดยจะไปสิ้นสุดที่จุดกลับรถบริเวณห้างซีคอนบางแค
 
รถประจำทางสาย ปอ.91 (สนามหลวง - หมู่บ้านเศรษฐกิจ) จะมีที่จอดประจำอยู่ที่หน้าวัดนักบุญหลุยส์ มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต ซึ่งอยู่ติดกับโรงเรียน