ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แสมดำ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
}}
 
'''แสมดำ''' ({{ชื่อวิทยาศาสตร์|Avicennia officinalis}}) เป็นพืชใน[[ป่าชายเลน]] พบได้ทั้งหาดทรายปนเลนและหาดเลน เป็นแนวป่าที่ช่วยดักตะกอนดินสำคัญในระบบนิเวศป่าชายเลน รากเป็นร่างแห มีรากหายใจเป็นแท่งโผล่ขึ้นดิน เปลือกต้นเรียบ สีเขียวเข้มถึงเทาเข้ม ใบแตกตรงข้ามเป็นคู่ ใต้ใบไม่ซีดแบบแสมขาว ใบหนาอวบน้ำป้องกันการสูญเสียน้ำ มี[[ต่อมเกลือ]]ที่ใบช่วยขับเกลือออก ดอกสีขาว-เหลือง 4 กลีบ เป็นช่อคล้ายดอก[[แสมขาว]] แต่ดอกใหญ่กว่า ผลเป็นรูปกระเปาะคล้ายแสมขาว แต่สั้นกว่า ผลเป็นรูปหยดน้ำ ปลายผลงอ มีขนสีน้ำตาลอ่อนคลุมทั้งผล ผลลอยน้ำได้
==การใช้ประโยชน์==
มีสาร[[แทนนิน]]ในเปลือกใช้ฟอกหนัง ผลใช้ทำขนมลูกแสมซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านของ[[อำเภอบ้านแหลม]] [[จังหวัดเพชรบุรี]]ได้ โดยนำลูกแสมมาแกะไส้กลางซึ่งเป็น[[เอ็มบริโอ]]ออกไปก่อน นำไปต้มไล่ความขมออกหลายน้ำจนจืด นำลูกแสมต้มนี้ไปคลุก[[เกลือ]]รับประทาน หรือนำไปผสมกับ[[แป้งมันสำปะหลัง]] [[แป้งข้าวเจ้า]] หัว[[กะทิ]] น้ำตาลปี๊บ แล้วนำไปนึ่ง ลูกแสมที่นิยมนำมาทำขนมจะเป็นผลอ่อน เปลือกสีเขียวอ่อน ถ้าผลแก่จะใช้ทำขนมไม่ได้
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/แสมดำ"