ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตะไคร้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
สุทธิศักดิ์15132 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
}}
 
'''ตะไคร้''' ({{ชื่อวิทยาศาสตร์|Cymbopogon citratus}}); ชื่อท้องถิ่น: จะไคร ([[ภาคเหนือ]]), หัวซิงไค ([[ภาคอีสาน]]), ไคร ([[ภาคใต้]]), คาหอม ([[แม่ฮ่องสอน]]), เชิดเกรย, เหลอะเกรย (เขมร-[[สุรินทร์]]), ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง-[[แม่ฮ่องสอน]]) ) เป็น[[พืชล้มลุก]] ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็น[[พืชสมุนไพร]]ด้วย
 
== ถิ่นกำเนิด ==
ตะไคร้มีถิ่นกำเนิด ในประเทศ[[อินโดนีเซีย]] [[ศรีลังกา]] [[พม่า]] [[อินเดีย]] [[ไทย]] ใน[[ทวีปอเมริกาใต้]] และ[[คองโก]]
 
== ลักษณะโดยทั่วไป ==
บรรทัด 35:
# ตะไคร้น้ำ
# ตะไคร้หางสิงห์
# [[ตะไคร้หอม]]
เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วย[[น้ำมันหอมระเหย]] ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป
 
== การปลูกและขยายพันธุ์ ==
บรรทัด 44:
== ประโยชน์ ==
[[ไฟล์:LemongrassEssOil.png|thumb|น้ำมันตะไคร้]]
ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามาก ๆ ช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลด[[ความดันสูง]] น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากัน[[ยุง]]ได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่น ๆ จะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัด[[ยุง]]บางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจากมีกลิ่นที่แรงจึงช่วยทำให้ไล่ยุงได้
นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมาก ๆ
 
บรรทัด 53:
ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
 
ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้[[โรคทางเดินปัสสาวะ]] [[นิ่ว]] เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้[[โรคหนองใน]] และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้"