ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คิม จ็อง-อิล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anony 011 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่ได้เป็น แต่เป็นเลขาธิการตลอดกาล
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Anony 011 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 78:
 
=== นโยบายเศรษฐกิจและการทหาร ===
เศรษฐกิจเกาหลีเหนือที่รัฐควบคุมประสบความยุ่งยากตลอดคริสต์ทศวรรษ 1990 อันเนื่องมาจากการบริหารจัดการผิด และนโยบาย''ชูจูเช'' ({{เกาหลี|주체}}) ของประธานาธิบดี คิม อิล-ซ็อง ผู้เป็นบิดา อันเป็นนโยบายพึ่งพาตนเองโดยสมบูรณ์แบบ ตัดขาดการติดต่อจากโลกภายนอกทั้งทางด้านเศรษฐกิจแลและการเมือง เมื่อการผลิตทางเกษตรกรรมประสบความล้มเหลวอย่างรุนแรงอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ ประกอบกับการบริหารจัดการที่ดินที่ไม่ดี<ref name=noland>{{cite journal|last=Noland|first=Marcus|title=Famine and Reform in North Korea|journal=Asian Economic Papers|year=2004|volume=3|issue=2|pages=1–40|doi=10.1162/1535351044193411?journalCode=asep}}</ref><ref>{{cite book|last=Haggard, Nolan, Sen|title=Famine in North Korea: Markets, Aid, and Reform|year=2009|isbn=9780231140010|page=209|quote=This tragedy was the result of a misguided strategy of self-reliance that only served to increase the country's vulnerability to both economic and natural shocks ... The state's culpability in this vast misery elevates the North Korean famine to a crime against humanity}}</ref><ref>{{cite news|url=http://www.economist.com/node/147613|accessdate=24 September 2011|title=North Korea: A terrible truth |work=[[The Economist]]|date=17 April 1997}}</ref> จากเหตุนี้ ประกอบกับที่ดินที่สามารถเพาะปลูกได้เพียง 18%<ref>[http://www.country-studies.com/north-korea/agriculture.html "North Korea Agriculture"], Federal Research Division of the Library of Congress. Retrieved 11 March 2007.</ref> และการไม่สามารถนำเข้าสินค้าจำเป็นต่อการบำรุงอุตสาหกรรม<ref>[http://www.fas.org/nuke/guide/dprk/target/industry.htm "Other Industry – North Korean Targets"] Federation of American Scientists, 15 June 2000.</ref> ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารอย่างหนักในเกาหลีเหนือ นำไปสู่[[ทุพภิกขภัยเกาหลีเหนือ]] (North Korean Famine) ในช่วงค.ศ. 1994 ถึง ค.ศ. 1998 มีชาวเกาหลีเหนือเสียชีวิตจากความอดอยากร่วมกว่า 240,000 ถึง 3,500,000 คน คิม จ็อง-อิล เข้าดำรงตำแหน่งผู้นำของเกาหลีเหนือในค.ศ. 1994 ต้องเผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจและความอดอยาก รัฐบาลเกาหลีเหนือแก้ไขปัญหาอย่างขาดประสิทธิภาพ โดยการสร้างระบบกระจายอาหารสาธารณะ (Public Distribution System) แบ่งอาหารให้ประชาชนในประเทศด้วยอัตราที่ไม่เท่าเทียม ชนชั้นแรงงานอุตสาหกรรมมีอภิสิทธิ์ได้รับอาหารมากกว่าประชาชนธรรมดา คนชราและเด็ก จนกระทั่งเมื่อ[[สหประชาชาติ]]รับทราบถึงปัญหาทุกภิกขภัยของเกาหลีเหนือจึงมีการบริจาคอาหารเข้าช่วยเหลือประชาชนเกาหลีเหนือ มีแหล่งที่มาจาก[[ประเทศเกาหลีใต้]] [[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] และ[[สหรัฐอเมริกา]]เป็นหลัก
 
แม้ว่าประเทศและประชาชนจะประสบปัญหาขาดแคลนอย่างหนักในขณะนั้น ค.ศ. 1995 คิม จ็อง-อิล ได้ประกาศนโยบาย''ซ็องกุน'' ({{เกาหลี|선군}}) หรือ"ทหารมาก่อน" (Military First) คือนโยบายการใช้ทรัพยากรไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีความก้าวหน้าทางการทหารเป็นอันดับแรก เพื่อเป็นการป้องกันประเทศเกาหลีเหนือจากการคุกคามของชาติตะวันตก<ref>[http://www.carlisle.army.mil/usawc/Parameters/03spring/hodge.htm "North Korea's Military Strategy"], ''Parameters'', U.S. Army War College Quarterly, 2003.</ref> ในระดับชาติ นโยบายนี้ได้มีอัตราเติบโตเป็นบวกสำหรับประเทศตั้งแต่ ค.ศ. 1996 และการนำ "การปฏิบัติเศรษฐกิจตลาดหลักเขตประเภทสังคมนิยม" ใน ค.ศ. 2002 ยังประคับประคองให้เกาหลีเหนือไม่ล่มจมแม้ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือด้านอาหารจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่องก็ตาม<ref>[http://www.atimes.com/atimes/Korea/IA04Dg02.html "Kim Jong-il's military-first policy a silver bullet"], Asia Times Online, 4 January 2007.</ref>