ผลต่างระหว่างรุ่นของ "องศา (มุม)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ทำลาย
บรรทัด 7:
ตัวเลข 360 ที่เป็นจำนวนองศาในวงกลม เป็นไปได้ว่าเอามาจากการประมาณจำนวน[[วัน]]ในหนึ่ง[[ปี]] เนื่องจาก[[นักดาราศาสตร์]]ในสมัยก่อนได้สังเกตว่าดวงดาวต่างๆ บนท้องฟ้า ที่หมุนรอบแกนกลางของทรงกลมท้องฟ้า ดูเหมือนว่าเคลื่อนที่รอบแกนวันละ {{เศษ|1|360}} ของวงกลม [[ปฏิทิน]]แบบดั้งเดิมอย่าง[[ปฏิทินเปอร์เซีย]]จึงกำหนดให้มี 360 วันใน 1 ปี สำหรับการวัดมุมทาง[[เรขาคณิต]]ริเริ่มขึ้นโดย[[เธลีส]] (Thales) ผู้ซึ่งทำให้[[วิชา]]เรขาคณิตเป็นที่นิยมในหมู่[[ชาวกรีก]]
 
== การสนับสนุนเหตุผล ==
ตัวเลข 360 มีประโยชน์เนื่องจากสามารถหารลงตัวได้ง่าย เพราะว่า 360 มีตัวหารทั้งหมด 24 ตัว รวมทั้งจำนวนตั้งแต่ 1 ถึง [[10]] แต่ยกเว้น [[7]] เนื่องจากถ้ากำหนดให้จำนวนองศาในวงกลมสามารถหารได้ลงตัวด้วย 1 ถึง 10 ทั้งหมด เราจะต้องมี 2520 องศาในวงกลม (360×7) ซึ่งเป็นตัวเลขที่คำนวณไม่ค่อยจะสะดวกนัก
 
ในทางปฏิบัติ หนึ่งองศาก็เป็นขนาดของมุมที่เล็กพอสำหรับความแม่นยำ แต่หากยังไม่พอเพียง ดังกรณีของวิชาดาราศาสตร์ หรือการระบุพิกัดเป็น[[ละติจูด]]และ[[ลองจิจูด]]บนพื้นโลก องศาก็สามารถเขียนเป็น[[เลขทศนิยม]] หรือ[[เลขฐานหกสิบ]]ที่มักพบได้บ่อยครั้ง คือ 1 องศาสามารถแบ่งออกได้เป็น 60 [[ลิปดา]] (minute of arc, arcminute) และ 1 ลิปดาก็แบ่งได้อีกเป็น 60 [[พิลิปดา]] (second of arc, arcsecond) ซึ่งใช้สัญลักษณ์เป็น[[ไพรม์]] ' และ[[ดับเบิลไพรม์]] " ตามลำดับ เช่น 40.1875° = 40° 11' 15" ถ้าหากต้องการความละเอียดลงไปมากกว่านี้ก็สามารถแบ่งหน่วยไปทีละ [[60]] ต่อไปเรื่อยๆ โดยใช้[[เลขโรมัน]]เขียนยกสูงขึ้น เริ่มต้นที่ลิปดา ตัวอย่างเช่น 1<sup>I</sup> แทนลิปดา, 1<sup>II</sup> แทนพิลิปดา, 1<sup>III</sup> แทน {{เศษ|1|60}} ของพิลิปดา, 1<sup>IV</sup> แทน {{เศษ|1|360}} ของพิลิปดา เป็นต้น แต่หาที่ใช้น้อย