ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าสการะวุตพี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
พุทธามาตย์ ย้ายหน้า พระเจ้าทากายุตปี ไปยัง พระเจ้าสการะวุตพี
Zenzazasada (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 8:
เพราะการขาดสภาวะผู้นำของพระเจ้าสการะวุตพีเป็นการเปิดโอกาสให้[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]] ยุวกษัตริย์จาก[[อาณาจักรตองอู]] อาณาจักรเล็ก ๆ ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือและขุนศึกคู่พระทัยของพระองค์อย่าง[[พระเจ้าบุเรงนอง|บุเรงนอง]] กรีธาทัพลงมาโจมตีอาณาจักรหงสาวดีถึง 3 ครั้งคือ ค.ศ. 1534, 1537 และ 1538 โดยเฉพาะใน ค.ศ. 1538 พระเจ้าสการะวุตพีขาดแม่ทัพที่มีความสามารถและพระองค์ไม่มีพระทัยที่จะสู้รบรวมถึง[[สอพินยา]] (စောဗညား ''ซอบะญา'') เจ้าเมือง[[เมาะตะมะ]] ผู้เป็นพระเทวัน (พี่เขย) มิได้ส่งกำลังทหารมาช่วยจึงหนีไปพึ่งเมือง[[แปร]] ซึ่งขณะนั้นปกครองโดย[[พระเจ้านรปติแห่งแปร|พระเจ้านรปติ]] (နရပတိ) หรือในนวนิยายเรื่อง[[ผู้ชนะสิบทิศ]]เรียก '''พระเจ้านรบดี''' ผู้เป็นพระเทวัน (พี่เขย) อีกพระองค์หนึ่ง ในที่สุดตองอูก็เข้ายึดหงสาวดีได้โดยไม่เสียเลือดเนื้อทำให้อาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญที่รุ่งเรืองมากว่า 252 ปีต้องล่มสลายลง พันธมิตรอย่าง[[รัฐฉาน]]และพระเจ้านรปติได้พยายามสถาปนาพระเจ้าสการะวุตพีขึ้นเป็นกษัตริย์อีกครั้ง แต่พระองค์ได้ปฏิเสธพร้อมขี่ช้างศึกออกจากเมืองแปรไปพร้อมกับทหารจำนวนหนึ่งกระทั่งถึง[[สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี]] ที่เมือง [[Maubin]] พระเจ้าสการะวุตพีก็ประชวรอย่างกะทันหันและสวรรคตที่เมืองนี้
 
หลังจากพระเจ้าสการะวุตพีสวรรคตแล้วสอพินยาได้ประกาศเอกราชและตั้งตนเป็นพระเจ้าเมาะตะมะ กระทั่งพ่ายแพ้และถูกสังหารโดยกองทัพตองอูเมื่อ ค.ศ. 1541 เป็นอันสิ้นสุด[[สงครามตองอู—หงสาวดี]] ที่กินเวลายาวนานถึง 7 ปี หลังการสวรรคตของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ใน ค.ศ. 1550 [[สมิงสอตุต]]และ[[สมิงทอ]]ได้ลอบปลงพระชนพระเจ้าสการะวุตพีและตั้งตนเป็นกษัตริย์ของชาวมอญ จนได้[[สมิงทอ]] พระอนุชาของพระเจ้าสการะวุตพีปราบลงได้แต่ในที่สุดสมิงทอก็ถูกไล่ล่าและสังหารโดยกองทัพตองอูภายใต้การนำของ[[พระเจ้าบุเรงนอง]]ที่ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้เมื่อ ค.ศ. 1552
 
== อ้างอิง ==