ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าฟ้ากุณฑล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แอนเดอร์สัน ย้ายหน้า เจ้าฟ้ากุณฑล เจ้าฟ้ามงกุฎ ไปยัง เจ้าฟ้ากุณฑล
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{hatnote|ระวังสับสนกับ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี]]}}
{{เก็บกวาดบุคคล}}
{{กล่องข้อมูล เชื้อพระวงศ์
'''เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ''' เป็นพระราชธิดาใน[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]]และ[[เจ้าฟ้าสังวาลย์]] และเป็นพระขนิษฐาต่างพระมารดาของ[[เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์]] (เจ้าฟ้ากุ้ง) เจ้าฟ้าทั้ง 2 พระองค์นั้นเป็นผู้พระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง[[ดาหลัง]]และ[[อิเหนา]]
| ภาพ =
| พระนาม =
| วันประสูติ =
| วันสิ้นพระชนม์ =
| พระอิสริยยศ = เจ้าฟ้า
| พระราชบิดา = [[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]]
| พระราชมารดา = [[เจ้าฟ้าสังวาลย์]]
| พระราชสวามี =
| พระราชโอรส/ธิดา =
| ราชวงศ์ = [[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง|บ้านพลูหลวง]]
}}
 
'''เจ้าฟ้ากุณฑล'''<ref name="ประดู่">คำให้การขุนหลวง วัดประดู่ทรงธรรม, ''ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง'', หน้า 285</ref> หรือ '''เจ้าฟ้าขวันตง'''<ref name="บัญชี">คำให้การชาวกรุงเก่า, ''ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง'', หน้า 175</ref> เป็นพระราชธิดาใน[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]] กับ[[เจ้าฟ้าสังวาลย์]] พระองค์เป็นพระเชษฐภคินีร่วมพระชนกชนนีกับ[[เจ้าฟ้ามงกุฎ (พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)|เจ้าฟ้ามงกุฎ]] และเป็นพระขนิษฐาต่างพระมารดาของ[[เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์]] โดยเจ้าฟ้ากุณฑลได้พระราชนิพนธ์ ''[[ดาหลัง]]'' (อิเหนาใหญ่) โดยดัดแปลงจากนิทานอิง[[พงศาวดารชวา]]<ref name="สิรินธร">{{cite web |url= http://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=296 |title= บทละครเรื่อง อิเหนา |author=|date=|work= ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร |publisher=|accessdate= 4 กรกฎาคม 2561}}</ref>
 
== พระประวัติ ==
เจ้าฟ้ากุณฑลเป็นพระราชธิดาใน[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]] ประสูติแต่[[เจ้าฟ้าสังวาลย์]]พระมเหสีฝ่ายซ้าย<ref name="ประดู่"/> ''[[คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม]]'' ระบุว่าเจ้าฟ้ากุณฑลมีพระอนุชาและพระขนิษฐาอีกสามพระองค์ได้แก่ เจ้าฟ้าอาภรณ์, [[เจ้าฟ้ามงกุฎ (พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)|เจ้าฟ้ามงกุฎ]] และเจ้าฟ้าสังคีต<ref>คำให้การขุนหลวง วัดประดู่ทรงธรรม, ''ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง'', หน้า 286</ref> ส่วน "บาญชีพระนามเจ้านาย" ที่มีอยู่ใน ''[[คำให้การชาวกรุงเก่า]]'' ระบุว่าเจ้าฟ้ากุณฑลมีพระอนุชาและพระขนิษฐา คือ เจ้าฟ้าอัมพร (คือเจ้าฟ้าอาภรณ์) และเจ้าฟ้าหญิงไม่ทราบพระนาม (คือเจ้าฟ้ามงกุฎ)<ref name="บัญชี"/>
ในแผ่นดิน[[กรุงศรีอยุธยา]]นั้น สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีเจ้าฟ้าที่เป็นยอดกวีของกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ รวมทั้ง เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎด้วย เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและเจ้าฟ้าสังวาลย์ วันหนึ่งมีนางข้าหลวงจาก[[ปัตตานี]]มาเป็นพระพี่เลี้ยงของเจ้าฟ้าทั้งสองชื่อว่ายายยะโว ยายยะโวนั้นชอบเล่านิทาน[[ปรัมปรา]]ต่างๆ ให้เจ้าฟ้าทั้งสองฟัง วันหนึ่งยายยะโวเล่าเรื่องอิเหนาให้ฟังแต่เล่าไม่จบเพราะยายยะโวต้องไปธุระ เจ้าฟ้าทั้งสองจึงแอบออกจากพระตำหนักมาหอสมุดเพื่อหาอ่านกัน แต่ไปเจอเจ้าฟ้ากุ้งเสียก่อน เจ้าฟ้ากุ้งจึงเล่าเรื่องอิเหนาให้ฟังจนจบ เจ้าฟ้าทั้งสองชอบเรื่องอิเหนาเป็นอย่างมากจึงเอาไปแสดงเล่นกับเหล่าเจ้าฟ้าบ่อยครั้ง อีกทั้งได้ให้เจ้าฟ้ากุ้งสอนกวีนิพนธ์ต่างๆด้วย หลายปีต่อมาคนฝึกซ้อมละครในไม่มีพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเห็นว่าเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎนั้นได้เก่งด้านนี้จึงให้เจ้าฟ้าทั้งสองเป็นคนฝึกซ้อมละครในแทน เมื่อฝึกซ้อมแล้วเอาไปแสดง นานเข้าคนดูเริ่มเบื่อ เจ้าฟ้าทั้งสองจึงคิดที่จะแต่งบทละครกันเองโดยได้ปรึกษากันว่าจะแต่งเรื่อง[[อิเหนา]] แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเอาตอนไหนมาแต่งดีอีกทั้งความคิดของเจ้าฟ้าทั้งสองไม่ตรงกันจึงไปปรึกษาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงให้แต่งกันคนละเรื่อง เจ้าฟ้าทั้งสองใช้เวลานานกว่าเดือนกว่าจะแต่งเสร็จ เมื่อแต่งเสร็จก็ไปให้พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทอดพระเนตร พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงให้เจ้าฟ้าทั้งสองนำไปแสดงเป็นละคร โดยเจ้าฟ้ากุณฑลพระราชนิพนธ์เรื่องดาหลัง ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาพอเอาไปแสดงละครแล้วปรากฏว่าคนดูชอบของเจ้าฟ้ามงกุฎมากกว่า พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงอนุญาตให้นำบทละครทั้งสองมาแสดงสืบต่อมา แต่ครั้น[[เสียกรุงครั้งที่ 2]] ต้นฉบับทั้ง 2 ก็ได้หายสาบสูญไป จนสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]]และ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่
 
เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎมักจะฟัง[[นิทาน]][[ปรัมปรา]]หรือเรื่องเล่าจากยายยะโว (ยะโวคือคำว่ายาวอหรือยะวาแปลว่า[[ชาวชวา]]) นางพระกำนัลจาก[[จังหวัดปัตตานี|เมืองปัตตานี]]<ref name="ประพนธ์">''บุหงาปัตตานี คติชนมุสลิมชายแดนภาคใต้'', หน้า 174-175</ref> ซึ่งยายยะโวได้เล่านิทานอิง[[พงศาวดารชวา]]ถวายเจ้าฟ้าทั้งสอง เจ้าฟ้ากุณฑลจึงพระราชนิพนธ์บทละคร ''[[ดาหลัง]]'' หรืออิเหนาใหญ่ ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎจึงพระราชนิพนธ์บทละคร ''[[อิเหนา|อิเหนาเล็ก]]'' มาตั้งแต่นั้น<ref name="สิรินธร"/> ซึ่งคำชวาและมลายูที่ปรากฏมักลงท้ายด้วยเสียงสูงอันแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากผู้เล่าที่มีสำเนียงใต้เป็นสำคัญ<ref name="ประพนธ์"/>
 
หลังการสถาปนา[[กรุงรัตนโกสินทร์]]ในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]ซึ่งเป็นยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม พระองค์จึงทรงรวบรวมบทละครเรื่อง ''อิเหนาเล็ก'' และ ''ดาหลัง'' มาเรียบเรียงใหม่<ref name="สิรินธร"/>
 
== อ้างอิง ==
; เชิงอรรถ
{{เริ่มรายการอ้างอิง|2}}
* หนังสือเรื่อง เจ้าฟ้ากุณฑล เจ้าฟ้ามงกุฎกับบทพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา ของบริษัท EQ plus
; บรรณานุกรม
{{จบอ้างอิง}}
* {{อ้างหนังสือ | ผู้แต่ง = ประพนธ์ เรืองณรงค์ | ชื่อหนังสือ = บุหงาปัตตานี คติชนมุสลิมชายแดนภาคใต้ | URL =| พิมพ์ที่ = สถาพรบุ๊คส์ | จังหวัด = กรุงเทพฯ | ปี = 2554 | ISBN = 978-616-00-0087-6| จำนวนหน้า = 276}}
* {{อ้างหนังสือ | ผู้แต่ง =| ชื่อหนังสือ = ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง | URL =| พิมพ์ที่ = แสงดาว | จังหวัด = กรุงเทพฯ | ปี = 2553 | ISBN = 978-616-508-073-6| จำนวนหน้า =536}}
* {{อ้างหนังสือ| ผู้แต่ง = | ชื่อหนังสือ = พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น| จังหวัด = นนทบุรี| พิมพ์ที่ = ศรีปัญญา| ปี = 2553| ISBN = 978-616-7146-08-9| จำนวนหน้า = 800}}
 
{{เรียงลำดับ|กุณฑล}}
[[หมวดหมู่:เจ้าฟ้า|ก]]
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]]
[[หมวดหมู่:เจ้าฟ้า|ก]]