ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 30:
 
หลังรัฐประหาร คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้จัดตั้ง[[รัฐบาลชั่วคราว หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|รัฐบาลชั่วคราว]] [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้แต่งตั้งพลเอก [[สุรยุทธ์ จุลานนท์]]เป็น[[รายนามนายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]]ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ต่อมาวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้[[กฎอัยการศึก]]ใน 41 จังหวัด แต่ยังคงไว้ 35 จังหวัด<ref name="matichon-20070127">มติชน, โปรดเกล้าฯเลิกอัยการศึก 41จว.สู่ปกติ คมช.หมดอำนาจเบ็ดเสร็จ, 27 มกราคม 2550</ref>
 
รัฐประหารดังกล่าวไม่มีการเสียเลือดเนื้อและไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาตอบรับจากนานาชาติมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์ในหลายประเทศ เช่น [[ประเทศออสเตรเลีย|ออสเตรเลีย]] การแสดงความความเป็นกลาง เช่น [[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] ไปจนการแสดงความผิดหวังอย่าง[[สหรัฐอเมริกา]] ซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็น[[พันธมิตรนอกนาโต]] และว่า รัฐประหาร "ไม่มีเหตุผลยอมรับได้"<ref>Bangkok Post, [http://bangkokpost.net/breaking_news/breakingnews.php?id=113057 "United States: Thai coup 'unjustified'"], 21 September 2006</ref>