ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุคคามากูระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Pangloy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35:
ในค.ศ. 1274 กุบไลข่านจึงตระเตียมกำลังพลผสมระหว่างมองโกลและเกาหลีเพื่อเข้ารุกรานญี่ปุ่น นำโดยฮินตู (Hintu) ขุนพลฝ่ายมองโกล ฮงดากู (Hong Dagu) ขุนพลชาวเกาหลี ยกทัพเรือข้ามทะเลมาเทียบท่าที่อ่าวฮะกะตะ ({{nihongo2|博多|Hakata}}) บนเกาะคีวชู เรียกว่า การรุกรานปีบุงเอ ({{nihongo2|文永の役|Bunei no eki}}) ฝ่ายญี่ปุ่นมี[[โชนิ ซุเกะโยะชิ]] ({{nihongo2|少弐資能|Shōni Sukeyoshi}}) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น''ชินเซ บุเงียว'' ({{nihongo2|鎮西奉行|Chinzei Bugyō}}) หรือผู้ปกครองเกาะคีวชู นำทัพญี่ปุ่นเข้าห้ำหั่นแต่ไม่สามารถทัดทานทัพผสมมองโกล-เกาหลีได้ จนกระทั่งมีลมพายุพัดเข้าอ่านฮะกะตะทำลายเรือของทัพมองโกลลงไปมาก ทำให้ฝ่ายมองโกลต้องถอยหนีกลับไป ชาวญี่ปุ่นจึงยกย่องลมนี้ว่าเป็น คะมิกะเซะ ({{nihongo2|神風|Kamikaze}}) หรือลมที่เทพเจ้าส่งมาเพื่อปกป้องญี่ปุ่นจากผู้รุกราน
 
แม้กระนั้นกุบไลข่านก็ยังไม่ลดละ ในค.ศ. 1275 กุบไลข่านส่งทูตมีมาอีกครั้งโดยไม่ผ่านเกาหลี แต่คณะทูตมองโกลถูกจับกุมไปยังเมืองคะมะกุระและถูกสังหาร ''ชิกเก็ง''โทะกิมุเนะเกรงว่าพวกมองโกลจะยกมาอีกจึงให้มีการเตรียมการรองรับการรุกรานของมองโกลไว้พร้อม หลังจากที่พิชิตราชวงศ์ซ่งใต้ได้แล้ว มองโกลจึงส่งทูตมาญี่ปุ่นอีกครั้งในค.ศ. 1279 แต่ชาวญี่ปุ่นได้สังหารคณะทูตมองโลกทันทีที่ขึ้นฝั่งอ่าวฮะกะตะ ในค.ศ. 1281 กุบไลข่านจึงส่งทัพเรือเข้ารุกรานญี่ปุ่นอีกครั้งเรียกว่า การรุกรานปีเคอัง ({{nihongo2|弘安の役|Keian no eki}}) โดยใช้ทั้งกองทัพเรือของอาณาจักรโครยอ และทัพเรือของ[[ราชวงศ์ซ่ง]]ใต้ขนาดมหึมา ฝ่ายมองโกลวางแผนให้ทัพเรือซ่งใต้มาสมทบกับทัพเรือเกาหลีเพื่อเข้ารุกรานญี่ปุ่น แต่ทัพเรือจีนเกิดความล่าช้ามาสมทบไม่ทัน ทัพเรือเกาหลีจึงเข้าโจมตีแต่ฝ่ายญี่ปุ่นเตรียมการมาดีจึงสามารถต้านทานได้ ลมพายุคะมิกะเซะพัดเข้ามาอีกครั้งทำลายทัพเรือเกาหลีจนต้องล่าถอยกลับไป
 
===การเรืองอำนาจของมิอุชิบิโตะ และ จุดจบของคะมะกุระบะกุฟุ===