ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศสวิตเซอร์แลนด์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7685315 สร้างโดย 213.55.211.118 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 103:
ภายหลังจาก[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] สิ้นสุดลงในปี [[พ.ศ. 2488]] (ค.ศ. 1945) ได้มีการก่อตั้ง[[องค์การสหประชาชาติ]] ขึ้น โดยมีสำนักงานใหญ่ที่สหรัฐอเมริกา และสำนักงานภาคพื้นยุโรปที่นคร[[เจนีวา]] ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ในอาคารที่เคยเป็นที่ตั้งของ [[สันนิบาตชาติ]] เดิม) ประเทศหลายประเทศได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาติแต่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเจ้าบ้านกลับไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในสมัยแรก เนื่องจากสวิตเซอร์แลนด์ยืนยันยึดมั่นในหลักการความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด โดยองค์การสากลแห่งแรกที่สวิสเข้าร่วมเป็นสมาชิกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือองค์การ UNESCO ซึ่งเข้าร่วมในปี [[พ.ศ. 2491]] (ค.ศ. 1948) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเมื่อปี [[พ.ศ. 2545]] (ค.ศ. 2002) ต่อมาในปี 2548 ประชาชนชาวสวิตเซอร์แลนด์ได้ทำการลงประชามติเพื่อให้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมเป็นประเทศใน[[สนธิสัญญาเช็งเก็น]] (Schengen Agreement)
 
ตามข้อกำหนดใน[[ความตกลงเชงเกน|สนธิสัญญาเช็งเก็น]] นักท่องเที่ยวที่มีใบอนุญาตเช็งเก็น (Schengen Visa) แบบมัลติเพิลของประเทศใดประเทศหนึ่งซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มเช็งเก็นสามารถเดินทางเข้าออกประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มเช็งเก็นได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าของประเทศนั้น ๆ ปัจจุบันประเทศในกลุ่มเช็งเก็นมีด้วยกันทั้งหมด 27 ประเทศรวมทั้ง [[ประเทศเบลเยียม]], [[ประเทศฝรั่งเศส]], [[ประเทศอิตาลี]], [[ประเทศลักเซมเบิร์ก]], [[ประเทศเนเธอร์แลนด์]], [[ประเทศเดนมาร์ก]], [[ประเทศกรีซ]], [[ประเทศโปรตุเกส]], [[ประเทศสเปน]], [[ประเทศเยอรมนี]], [[ประเทศออสเตรีย]], [[ประเทศฟินแลนด์]], [[ประเทศสวีเดน]], [[ประเทศนอร์เวย์]], [[ประเทศไอซ์แลนด์]], [[ประเทศมอลตา]], [[สาธารณรัฐเช็ก]], [[ประเทศเอสโตเนีย]], [[ประเทศฮังการี]], [[ประเทศโปแลนด์]], [[ประเทศสโลวาเกีย]], [[ประเทศสโลวีเนีย]], [[ประเทศลัตเวีย]], [[ประเทศลิทัวเนีย]] [[ประเทศโมนาโก]]และ [[ประเทศโครเอเชีย]]
 
== การเมืองการปกครอง ==