ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทองปาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15:
| runtime = 60 นาที
| country = ไทย
| language = [[ภาษาไทย|ไทย]], [[ภาษาลาว|ลาว]] <br>คำบรรยาย[[ภาษาอังกฤษ]]
| budget =
| preceded_by =
บรรทัด 28:
'''ทองปาน''' เป็น[[ภาพยนตร์ไทย]]กึ่ง[[สารคดี]] ที่สร้างขึ้นในปี [[พ.ศ. 2519]] เรื่องราวเกี่ยวกับ[[ชาวนา]][[อีสาน]]ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้าง[[เขื่อนผามอง]] เพื่อการพัฒนาลุ่ม[[แม่น้ำโขง]]ตอนกลาง โครงการนี้เป็นโครงการของ[[สหรัฐอเมริกา]]โดยได้รับการสนับสนุนจาก[[ธนาคารโลก]] เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก <ref>อ้างอิงจากบทบรรยายในภาพยนตร์</ref> ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของ[[จังหวัดเลย]] [[หนองคาย]] [[หลวงพระบาง]] และ[[เวียงจันทน์]] จมอยู่ใต้น้ำ
 
ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำที่[[อำเภอบัวใหญ่]] [[จังหวัดนครราชสีมา]] และที่[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] ซึ่งหลังจากถ่ายทำเสร็จไม่นาน และอยู่ระหว่างการตัดต่อ ก็เกิด[[เหตุการณ์ 6 ตุลา]] ขึ้น บรรดานักแสดงและทีมงานต้องตกเป็นผู้ต้องหา กระทำการเป็น[[คอมมิวนิสต์]] หลบหนีเข้าป่า ไพจง ไหลสกุล ผู้อำนวยการสร้าง, เขียนบท และกำกับ ต้องหลบหนีออกไปต่างประเทศพร้อมกับฟิล์มภาพนตร์ภาพยนตร์ ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้กลายเป็นภาพยนตร์ต้องห้าม ไม่มีโอกาสฉายในประเทศไทยในรอบปกติ เพลง "คนกับควาย" ของสุรชัย จันทิมาธร ในเรื่อง ก็เป็นเพลงต้องห้าม
 
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ฉายครั้งแรกใน[[เทศกาลภาพยนตร์ลอนดอน]] (London Film Festival) และได้รับรางวัลเกียรติยศ Outstanding Film of Southeast Asia <ref>ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, "ทองปาน" ภาพยนตร์ "ประหลาด" ของไทย</ref> เข้ามาฉายในประเทศไทยครั้งแรกช่วงปลายปี พ.ศ. 2520 ที่[[สถาบันเกอเธ่]] [[บ้านพระอาทิตย์]] และที่[[สยามสมาคม]] <ref>สุดารัตน์ มุสิกวงศ์ และวิมลรัตน์ อรุณโรจน์สุริยะ, ทองปาน หนังต้องห้าม.. สัมภาษณ์ ไพจง ไหลสกุล</ref>
 
ภาพยนตร์สร้างจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2518 ของทองปาน ชาวนา[[คนชายขอบ]]ผู้เคยต้องย้ายที่ทำกินมาแล้วถึง 2 ครั้ง เนื่องจากการสร้างเขื่อน ทองปานกำลังเดินทางไปซื้อยารักษา[[วัณโรค]]ให้ภรรยา และถูกเชิญชวนให้มาร่วมการสัมมนาเรื่องผลกระทบจากการสร้างเขื่อนผามอง กั้นแม่น้ำโขง ชายแดน[[ไทย]]-[[ลาว]] ซึ่งมีนักวิชาการ ตัวแทนจากภาครัฐ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษา นักข่าว และชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ เข้าร่วม <ref>การสัมมนาจริง เกิดเมื่อวันที่ [[20 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2518]] ชื่อ ''เขื่อนผามอง ปัญหาการตั้งรกรากใหม่และการเคลื่อนย้ายประชากร'' จัดที่[[เขื่อนจุฬาภรณ์]] [[จังหวัดชัยภูมิ]] มี ดร.[[ป๋วย อึ้งภากรณ์]]และ[[เสน่ห์ จามริก]] เข้าร่วมสัมมนาด้วย ซึ่งหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา [[หนังสือพิมพ์ดาวสยาม]]ได้นำภาพถ่ายผู้ร่วมการสัมมนาไปพาดหัวข่าว กล่าวหาว่า ดร.ป๋วย และเสน่ห์ เข้าร่วมประชุมกับ[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย]]และ[[เคจีบี]] เพื่อคิดล้มล้างระบอบการปกครอง </ref> ระหว่างการสัมมนา ทองปานทำกระเป๋าสตางค์ที่มีเงินอยู่เพียง 20 บาทหาย และไม่ได้ไปซื้อยา และพบว่าภรรยาตายเสียแล้ว <ref>คำสิงห์ ศรีนอก, บอกเล่าความเป็นมาของหนังเรื่องทองปาน</ref>
 
ภาพยนตร์นำเรื่องของทองปานมาดัดแปลง ให้ทองปานเป็นอดีตชาวนาที่อาศัยอยู่ใต้[[เขื่อน]] ผู้มีโอกาสได้เรียนหนังสือ ต้องเปลี่ยนอาชีพมาเป็นผู้กรรมกร เพราะทางการไม่ยอมปล่อยน้ำเหนือเขื่อน เขาได้รับการชักชวนชาวบ้านให้เข้าจากนักศึกษามาร่วมสัมมนา บอกเล่าผลกระทบจากเขื่อน ภาพยนตร์นำเสนอภาพการสัมมนา สลับกับภาพชีวิตประจำวันของทองปาน เป็นการเสียดสี และวิพากษ์วิจารณ์นโยบายการพัฒนาชนบทของรัฐบาล ช่วงหลัง[[เหตุการณ์ 14 ตุลา]]
 
นักแสดงนำผู้รับบท ทองปาน ชีวิตจริงเป็น[[นักมวย]]ชื่อ องอาจ โพนทอง ต่อมาได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง [[ลูกอีสาน]] (2525) ของ[[วิจิตร คุณาวุฒิ]] รับบทเป็น ทองปาน โพนทอง
บรรทัด 50:
[[หมวดหมู่:ภาพยนตร์ไทย]]
[[หมวดหมู่:ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2520]]
[[หมวดหมู่:ภาพยนตร์ขาวดำ]]
[[en:Tongpan]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ทองปาน"