ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โพคาฮอนทัส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
'''โพคาฮอนทัส''' ({{lang-en|Pocahontas}}; ราว ค.ศ. 1596 – มีนาคม ค.ศ. 1617) ชื่อเกิดว่า '''มาโทอาคา''' (Matoaka) ชื่ออื่นว่า '''อาโมนูเท''' (Amonute) เป็นหญิง[[เผ่าอเมริกันพื้นเมืองในเวอร์จิเนีย|ชาวอเมริกันพื้นเมือง]]<ref name=VIwriting>{{cite web|title=A Guide to Writing about Virginia Indians and Virginia Indian History|url=http://indians.vipnet.org/resources/writersGuide.pdf|date=January 2012|publisher=Commonwealth of Virginia, Virginia Council on Indians|accessdate=July 19, 2012|deadurl=yes|archiveurl=https://web.archive.org/web/20120224023658/http://indians.vipnet.org/resources/writersGuide.pdf|archivedate=February 24, 2012|df=}}</ref><ref>[http://virginiaindians.pwnet.org/lesson_plans/Heritage%20Trail_2ed.pdf Karenne Wood, ed., ''The Virginia Indian Heritage Trail''] {{webarchive|url=https://web.archive.org/web/20090704031303/http://virginiaindians.pwnet.org/lesson_plans/Heritage%20Trail_2ed.pdf |date=2009-07-04 }}, Charlottesville, VA: Virginia Foundation for the Humanities, 2007.</ref><ref name=Poca>{{cite web|title=Pocahontas|url=http://apva.org/rediscovery/page.php?page_id=26|publisher=Preservation Virginia|work=Historic Jamestowne|accessdate=April 27, 2013}}</ref> มีชื่อเสียงเพราะความสัมพันธ์กับชุมชนอาณานิคมใน[[เจมส์ทาวน์ (เวอร์จิเนีย)|เจมส์ทาวน์]] [[เวอร์จิเนีย]] โพคาฮอนทัสเป็นบุตรีของ[[พาวฮาทัน (ผู้นำอเมริกันพื้นเมือง)|พาวฮาทัน]] (Powhatan) ผู้เป็น[[ประมุขสูงสุด]] (paramount chief) ของเครือข่ายชนเผ่าใน[[Tsenacommacah|เซนาคอมมาคาห์]] (Tsenacommacah) ซึ่งกินพื้นที่[[Tidewater region|ภูมิภาคไทด์วอเทอร์]] (Tidewater region) แห่งเวอร์จิเนีย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่รู้จักกันดีระบุว่า ใน ค.ศ. 1607 นางช่วยชีวิต[[จอห์น สมิท (นักสำรวจ)|จอห์น สมิท]] (John Smith) ชาวอังกฤษซึ่งถูกชนอเมริกันพื้นเมืองจับเป็นเชลย โดยนางวางศีรษะของตนไว้บนแท่นประหารแทนศีรษะของเขาขณะที่บิดาของนางกำลังเงื้อกระบองเพื่อประหารเขา แต่นักประวัติศาสตร์จำนวนมากตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของเรื่องดังกล่าว<ref name="NMAI">{{cite book |author=National Museum of the American Indian |title=Do All Indians Live in Tipis? Questions & Answers from the National Museum of the American Indian |location=New York |publisher=HarperCollins |date=2007 |isbn=978-0-06-115301-3}}</ref><ref name="5 Myths About Pocahontas">{{cite web|author=Jesse Greenspan|url=http://www.history.com/news/history-lists/5-myths-about-pocahontas|title=5 Myths About Pocahontas|date=20 March 2017}}</ref>
 
ใน ค.ศ. 1613 นางถูกชาวอังกฤษจับกุมไปเรียกค่าไถ่ในช่วงที่อังกฤษและชนอเมริกันพื้นเมืองเป็นปฏิปักษ์กัน ระหว่างที่นางถูกจับนั้น นางเข้ารีตเป็น[[คริสต์ศาสนิกชน|คริสต์ศาสนานิกศาสนิก]]และเปลี่ยนชื่อเป็น '''รีเบกกา''' (Rebecca) ต่อมาเมื่อนางมีโอกาสกลับไปหาผู้คนของตน นางกลับเลือกอยู่กับคนอังกฤษ ครั้นเดือนเมษายน ค.ศ. 1614 นางอายุได้ 17 ปี เข้าพิธีสมรสกับ[[จอห์น รอล์ฟ]] (John Rolfe) คนปลูกใบยาสูบ ต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 1615 นางให้กำเนิดบุตรชายของเขานามว่า [[Thomas Rolfe|ทอมัส รอล์ฟ]] (Thomas Rolfe)<ref name="Stebbins 2010">{{Cite web|url = http://www.nps.gov/jame/learn/historyculture/pocahontas-her-life-and-legend.htm|title = Pocahontas: Her Life and Legend|accessdate = April 7, 2015|website = National Park Service|publisher = U.S. Department of the Interior|last = Stebbins|first = Sarah J|date=August 2010}}</ref>
 
ใน ค.ศ. 1616 ครอบครัวรอล์ฟเดินทางไปลอนดอน มีการนำเสนอนางต่อสังคมอังกฤษว่า เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของ[[คนเถื่อนใจธรรม|คนป่าเถื่อนที่ได้รับการสั่งสอนให้มีอารยะ]] เพื่อกระตุ้นการลงทุนในชุมชนเจมส์ทาวน์ที่เวอร์จิเนีย นางจึงเกิดมีชื่อเสียงขึ้น ได้รับการเลี้ยงดูปูเสื่อหรูหรา และได้ชม[[ละครหน้ากาก]] (masque) ที่[[Whitehall Palace|วังไวต์ฮอล]] (Whitehall Palace) ด้วย ครั้น ค.ศ. 1617 ครอบครัวรอล์ฟตั้งใจจะเดินทางกลับเวอร์จิเนีย แต่นางเสียชีวิตที่[[เกรฟเซนด์]] (Gravesend) ในอังกฤษไปเสียก่อนโดยไม่ทราบสาเหตุ อายุได้ราว 20 หรือ 21 ปี ศพของนางฝังไว้ที่[[โบสถ์เซนต์จอร์จ (เกรฟเซนด์)|โบสถ์เซนต์จอร์จ]] (St George's Church) ณ เกรฟเซนด์นั้น แต่การบูรณะโบสถ์ในภายหลังทำให้ตำแหน่งที่แน่นอนของหลุมศพนางในปัจจุบันนั้นไม่อาจทราบได้อีก<ref name="Stebbins 2010"/>