ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมืองสวางคบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 45:
'''สวางคบุรี''' หรือ '''ฝาง''' เป็นเมืองโบราณที่มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของผู้คนสืบต่อเนื่องยาวนานมากที่สุดแห่งหนึ่งใน[[จังหวัดอุตรดิตถ์]] เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่สมัย[[อาณาจักรสุโขทัย]] เคยเป็นเมืองที่อยู่เหนือสุดปลายพระราชอาณาเขตและเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญของ[[อาณาจักรอยุธยา]]โบราณ โดยอาณาเขตเมืองสวางคบุรีโบราณครอบคลุมพื้นที่ ตำบลผาจุก, [[ตำบลคุ้งตะเภา]] และตำบลแสนตอ ในปัจจุบัน
 
เมืองสวางคบุรี ปรากฎปรากฏหลักฐานการมีอยู่ในพงศาวดารเหนือ ระบุว่าเป็นที่ตั้งของ[[วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ|พระมหาธาตุที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญ]]ของพระพุทธเจ้า<ref>ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.</ref><ref>'''“พระราชพงศาวดารเหนือ”'''. (2542). ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1. กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.</ref> และปรากฎปรากฏชื่อเมืองใน[[ศิลาจารึก]]สุโขทัยหลายหลัก<ref>'''ประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย'''. (2548). กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.</ref> รวมถึงพระราชพงศาวดารตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์<ref>'''พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา (ภาคจบ)'''. (2505). พระนคร : โอเดียสโตร์.</ref><ref>'''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ฯ (ขำ บุนนาค)'''. (2547). กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.</ref><ref>'''“พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)”'''. (2542). ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3. กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.</ref><ref>'''“พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน”'''. (2542). ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 2. กรุงเทพฯ : กอง วรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.</ref> และจากการเคยเป็นเมืองชายแดนพระราชอาณาเขต ทำให้เมืองนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้คนจากแคว้น[[ล้านนา]]และ[[ล้านช้าง]] <ref>ลาลูแบร์. (2552). '''จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม'''. สันต์ ท.โกมลบุตร (แปล). นนทบุรี : ศรีปัญญา.</ref> ผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองส่วนใหญ่สืบทอดขนบวัฒนธรรมแบบคนหัวเมืองเหนือโบราณ (ภาษาถิ่นสุโขทัย) ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของเมืองนี้
 
หลังการสิ้นสุดลงของ[[ชุมนุมเจ้าพระฝาง]] ระหว่างปี [[พ.ศ. 2310]]-[[พ.ศ. 2313|2313]] ที่มีเมืองสวางคบุรีเป็นศูนย์กลาง และการขับไล่พม่ารวบรวมหัวเมืองล้านนาไว้ภายในพระราชอาณาเขตได้ในสมัย[[กรุงธนบุรี]]<ref>'''“พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)”'''. (2542). ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3. กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.</ref> ประกอบกับตำแหน่งภูมิศาสตร์ทางการค้าลุ่มแม่น้ำน่านในยุคต่อมาเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เมืองสวางคบุรีร่วงโรยลงในระยะต่อมา
บรรทัด 53:
==ประวัติ==
===ชื่อเมืองสวางคบุรี===
ตั้งแต่อดีต มีการเรียกชื่อเมืองสวางคบุรีในหลากหลายชื่อ เช่น เมืองฝาง เมืองพระฝาง หรือเมืองสวางคบุรี เป็นต้น<ref>ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). ''''''สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ 245 ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา''''''. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN 978-616-543-334-1</ref> ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฎปรากฏในหลักฐานทั้งศิลาจารึกและพระราชพงศาวดาร ดังนี้
 
====เมืองฝาง====
บรรทัด 65:
'''เมืองสวางคบุรี''' ชื่อนี้ปรากฏหลักฐานในสมัยอยุธยาตอนปลายสืบเนื่องมาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้สันนิษฐานว่ามีที่มาจาก “สว่างบุรี” แปลว่า เมืองสว่าง หมายความว่าเป็นเมืองที่ได้รับความสว่างจากพระพุทธศาสนา ต่อมาได้กลายเป็น “เมืองสวางคบุรี” โดยไม้เอกหายไปมีตัว ค เข้ามาแทน <ref> มณเฑียร ดีแท้. ประวัติวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถและเจ้าพระฝางหัวหน้าก๊กเจ้าพระฝาง เมืองอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์ : วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์, 2519. หน้า 41</ref> ส่วนในเอกสารประกาศเทวดาบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 4 พบการเรียกชื่อเมืองนี้ว่า “เมืองฉวาง” <ref> ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์. พระราชพงศาวการกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต และผลงานคัดสรร พลตรี หม่อมราชวงศ์ ศุภวัฒย์ เกษมศรี นักประวัติศาสตร์อาวุโสดีเด่น. กรุงเทพฯ : สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์ฯ, 2552. หน้า 116</ref> ซึ่งน่าจะเกิดจากการรับรู้เกี่ยวกับการออกเสียงที่ต่างกัน จึงทำให้เกิดการเขียนพยัญชนะต่างกันตามไปด้วย<ref>ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). ''''''สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ 245 ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา''''''. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN 978-616-543-334-1</ref>
 
ถึงแม้ว่าในระยะหลังจะมีการเรียกเมืองฝางว่าเมืองสวางคบุรี แต่ชื่อเมืองฝางก็ยังมีการใช้เรียกปะปนกับชื่อสวางคบุรีมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอกสารประวัติศาสตร์ล้านนา เช่น ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ <ref> อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และ เดวิด เค. วัยอาจ (ปริวรรต). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ซิลค์เวอร์บุคส์, 2547. หน้า 85</ref> และตำนานพื้นเมืองน่าน <ref> สรัสวดี อ๋องสกุล (ปริวรรต). พื้นเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง, 2539. หน้า 60-62</ref> หรือแม้แต่ในพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเรียกว่า “เมืองฝาง” <ref> จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ และคณะ. รายงานการวิจัยเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือของรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2444 (ร.ศ.120). พิษณุโลก : รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3, 2551. หน้า 71</ref> แสดงให้เห็นว่าชื่อเมืองฝางจะเป็นที่รับรู้ของผู้คนโดยทั่วไปมากกว่าชื่อสวางคบุรี ซึ่งน่าจะเป็นชื่อที่มีการตั้งชื่อขึ้นใหม่โดยราชสำนักที่กรุงศรีอยุธยาในภายหลัง<ref>ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). ''''''สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ 245 ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา''''''. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN 978-616-543-334-1</ref>
 
== ขอบเขตที่ตั้งเมืองสวางคบุรีโบราณ ==
บรรทัด 84:
เหนือจากด่านคุ้งยางไปตามแม่น้ำน่านราว 10 กิโลเมตรบริเวณตำบลแสนตอ ด้านใต้ของบ้านผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นบริเวณหลักเขตแดนระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเมืองน่าน ปรากฏในแผนที่โบราณว่า “หลักประโคน”<ref>Santanee Phasuk and Philip Stott. (2004). ROYAL SIAMESE MAPS : War and Trade in Nineteenth Century Thailand. Bangkok : River Books.</ref> ซึ่งหมายถึง เสาใหญ่ปักหมายเขตแดนระหว่างประเทศหรือเมือง <ref>เอนก นาวิกมูล. (2552). หลัก-ฐาน-บ้าน-เมือง. กรุงเทพฯ : แสงดาว.</ref> ปัจจุบันยังปรากฏหลักฐานอยู่ ชาวบ้านเรียกว่า “หลักมั่นหลักคง”
 
สำหรับบ้านผาเลือดซึ่งอยู่เหนือหลักประโคนขึ้นมานี้ เดิมขึ้นอยู่กับเมืองท่าปลาในเขตปกครองของเมืองน่าน และเป็นชุมชนสุดท้ายชายแดนของเมืองน่านทางทิศใต้ด้วย<ref>ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2553 ข). “หลักมั่นหลักคง:เรื่องราวหลักประโคนเขตแดนสยาม-น่าน”. ใน จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. ปีที่ 15 ฉบับที่ 84 พฤษภาคม-มิถุนายน.</ref> แต่ด้วยความที่เมืองท่าปลาอยู่ใกล้ศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์มากกว่าศาลากลางจังหวัดน่าน พ.ศ. 2465 กระทรวงมหาดไทยจึงตัดเขตพื้นที่ของจังหวัดน่านมาอยู่ในความปกครองของจังหวัดอุตรดิตถ์ กลายเป็นอำเภอท่าปลาในปัจจุบัน<ref>ราชกิจจานุเบกษา. (2465). “ประกาศโอนอำเภอท่าปลาจากจังหวัดน่านมาขึ้นจังหวัดอุตรดิฐ”. เล่ม 39. 4 มิถุนายน พ.ศ. 2465.</ref>
 
===ขอบเขตด้านตะวันตก===
บรรทัด 91:
บริเวณใต้เมืองสวางคบุรีโดย[[แม่น้ำน่าน]] หรือขอบเขตด้านตะวันตกของเมืองสวางคบุรี โดยทางบก เป็นพื้นที่บึงกะโล่ พื้นที่ชุ่มน้ำรับน้ำหลากโบราณ และเป็นพื้นที่ที่เรียกกันในปัจจุบันว่า "ทุ่งบ่อพระ" เนื่องจากเคยเป็นสมรภูมิคราวปราบชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรีในสมัยธนบุรี พ.ศ. 2313
 
นอกจากนี้ ใต้เมืองสวางคบุรีทางฝั่งซ้าย[[แม่น้ำน่าน]] บริเวณที่เรียกกันในปัจจุบันว่าวัดคุ้งตะเภา สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่ตั้งของค่ายหาดสูงในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี คราวพักทัพหลังจากปราบชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรี ปรากฎปรากฏหลักฐานการอพยพเคลื่อนย้ายการสร้างวัดและตั้งถิ่นฐานของผู้คนจากเมืองสวางคบุรี การค้นพบหลักฐานพระราชกำหนดบทพระอัยการสมัยอยุธยาจำนวนมาก และซากโบราณสถานทั้งที่เป็นไม้และอิฐโบราณ ในเขตพื้นที่โบราณสถานวัดคุ้งตะเภาในปัจจุบัน
 
ซึ่งบริเวณดังกล่าวสันนิษฐานว่าอาจเคยเป็นศูนย์กลางทางการปกครองชั่วคราวของเมืองสวางคบุรีในสมัยธนบุรี ก่อนจะมีการเคลื่อนย้ายผู้คนไปอยู่บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำบางโพ ท่าอิฐ ท่าเสา เนื่องจากการเปลี่ยนเส้นทางการค้ากับหัวเมืองล้านนาในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในระยะต่อมา<ref>ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). ''''''สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ 245 ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา''''''. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN 978-616-543-334-1</ref>
บรรทัด 153:
 
==สภาพภูมิศาสตร์==
[[ไฟล์:Sawangkaburi.jpg|thumb|200px|แผนที่ปริมณฑลโบราณสถานและภูมินามวิทยา ที่ปรากฎปรากฏความเกี่ยวเนื่องกับเมืองสวางคบุรีโบราณ ตามหลักฐานพระราชพงศาวดาร<ref>ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). ''''''สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ 245 ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา''''''. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN 978-616-543-334-1</ref>]]
 
ตำแหน่งที่ตั้งของเมืองสวางคบุรีเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำน่าน มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมเป็นอย่างมาก ที่ราบลุ่มแห่งนี้ถูกล้อมรอบด้วยภูเขาถึงสามด้านด้วยกัน ยกเว้นทางทิศตะวันตกด้านเดียวเท่านั้นที่ไม่มีภูเขากั้น มีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบลุ่มหุบเขา และถือว่าเป็นที่ราบลุ่มแห่งแรกในลุ่มแม่น้ำน่านตอนล่าง สภาพที่ตั้งเมืองสวางคบุรีจึงถือได้ว่าอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแก่การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
บรรทัด 166:
[[ไฟล์:Old picture of Wat Phra Fang 02.jpg|thumb|160px|ภาพเก่า[[วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ]] สถานที่ประดิษฐานพระมหาธาตุศูนย์กลางของเมืองสวางคบุรี]]
* '''[[วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ]]''' วัดพระฝางหรือวัดพระมหาธาตุเมืองฝางเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระฝาง ซึ่งชาวบ้านบางคนเชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บารมีของเจ้าพระฝาง เป็นที่ตั้งของพระมหาธาตุเมืองฝาง ปูชนียสถานสำคัญและเป็นศูนย์กลางของเมืองสวางคบุรี
* '''โบราณสถานวัดโพธิ์ผียก''' ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของเมืองสวางคบุรี ใกล้กับหอประปาบ้านพระฝางหมู่ที่ 4 เดิมเคยเป็นที่ตั้งของที่ทำการป่าไม้แขวง บริเวณนี้มีเคยมีการพบฐานวิหารและฐานเจดีย์ ในสมัยอยุธยาตอนกลาง-ตอนปลาย ซึ่งถูกทำลาย ปัจจุบันพบเพียงเศษอิฐและกระเบื้องแตกกระจายอยู่ทั่วบริเวณไร่อ้อย วัดนี้อยู่ทางตะวันออกของบ้านพระฝางในปัจจุบัน และคงถูกได้รับความเสียหายในช่วงศึกเมืองสวางคบุรี พ.ศ. 2313 ต่อมาจึงถูกทิ้งร้าง เนื่องจากมีผู้คนและแรงงานในการปฏิสังขรณ์ไม่เพียงพอ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามีชาวเมืองสวางคบุรีมีการย้ายถิ่นฐานหลังสิ้นศึกครั้งนี้ เหตุที่ชาวบ้านเรียกชื่อวัดโพธิ์ผียกนั้น มาจากในอดีตบริเวณนี้มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ ต่อมาในถูกพายุพัดโค่นลงในตอนเย็นของวัน ๆ หนึ่ง พอถึงรุ่งเช้าชาวบ้านมาดูอีกครั้งพบว่าต้นโพธิ์กลับยืนต้นอยู่เหมือนเดิม ชาวบ้านจึงเชื่อว่ามีผีมายกต้นโพธิ์ขึ้น จึงเรียกชื่อว่าโพธิ์ผียกตั้งแต่นั้นมา<ref>ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). ''''''สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ 245 ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา''''''. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN 978-616-543-334-1</ref>
* '''ซากโบราณสถานใกล้กำแพงวัดพระฝางทางทิศตะวันออก''' ซากโบราณสถานแห่งนี้ปัจจุบันอยู่ในที่ดินของชาวบ้าน อยู่ใกล้กับแนวกำแพงและประตูวัดพระฝางทางทิศตะวันออก แต่เดิมบริเวณนี้เคยมีการพบซากโบราณสถานกลุ่มหนึ่ง แต่ถูกชาวบ้านขุดหาของมีค่า ในระยะหลังมีการนำดินมาถมทับซากโบราณสถานจนไม่เหลือร่องรอยแล้ว<ref>ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). ''''''สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ 245 ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา''''''. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN 978-616-543-334-1</ref>
[[ไฟล์:Historic site of wat khung taphao 02.jpg|thumb|160px|ซากโบราณสถานวัดคุ้งตะเภา ที่ตั้งค่ายพระตำหนักหาดสูงตามพระราชพงศาวดาร]]
* '''[[โบราณสถานวัดคุ้งตะเภา]]''' อยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองสวางคบุรี เป็นจุดที่ตั้งของที่พักทัพไพร่พลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คราวกระทำศึกปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง เมืองสวางคบุรี และมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เกลี่ยกล่อมรวบรวมราษฎรที่หลบหนีภัยสงครามตามป่าเขา และจัดการการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ พร้อมทั้งสถาปนาวัดคุ้งตะเภา และสร้างศาลาบอกมูลฯ ขึ้นในคราวเดียวกันนั้น เพื่อให้เป็นศูนย์รวมชุมชนและเป็นที่พำนักสั่งสอนของพระสงฆ์ผู้ทรงภูมิธรรมที่ทรงอาราธนานิมนต์มาจากกรุงธนบุรี วัดคุ้งตะเภาเคยปรากฎปรากฏหลักฐานการเป็นที่สถิตย์จำพรรษาของพระครูสวางคมุนี ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่เมืองฝาง<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2431/017/137_1.PDF ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์], เล่ม ๕ ตอน ๑๗, ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๑, หน้า ๑๓๘</ref> มาแต่โบราณ ปัจจุบันปรากฎปรากฏซากอาคารไม้ เศษอิฐโบราณ นอกจากนี้ยังพบหลักฐานสมุดไทยดำพระราชกำหนดบทพระอัยการลักษณะต่าง ๆ จำนวนมาก แสดงถึงการเป็นจุดศูนย์รวมสำคัญของชุมนุมผู้คนในสมัยอดีต ซึ่งเป็นสิ่งที่ตกค้างมาจากการที่บริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางชั่วคราวของเมืองสวางคบุรีในอดีต ก่อนการอพยพเคลื่อนย้ายผู้คนไปยังบริเวณท่าเสา ท่าอิฐ และเจริญขึ้นมาจากการค้าขายทั้งทางน้ำและทางบกกับหัวเมืองล้านนาและล้านช้าง จนทำให้ได้รับพระราชทานชื่อ "อุตรดิตถ์" ในสมัยรัชกาลที่ 4 และได้รับยกฐานะเป็นที่ตั้งตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ ในระยะต่อมา<ref>ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). ''''''สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ 245 ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา''''''. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN 978-616-543-334-1</ref>
* '''[[โบราณสถานวัดใหญ่ท่าเสา]]''' อยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองสวางคบุรี ท่าเสาเป็นชุมชนที่เริ่มมีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23-24 เป็นอย่างน้อย ดังปรากฏหลักฐานว่าโบสถ์และหอไตรภายในวัดใหญ่ท่าเสาเป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย-ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เคยเสด็จมาทอดพระเนตรโบราณวัดใหญ่ท่าเสาเมื่อปี พ.ศ. 2444 ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่าวัดนี้เป็นวัดเก่ามาก แต่เดิมชุมชนแห่งนี้น่าจะเป็นเพียงชุมชนเล็กๆ ชื่อของบ้านคือ ท่าเสา จากเรื่องราวชีวประวัติพระยาพิชัยดาบหักที่แต่งขึ้นโดยพระยาศรีสัชนาลัยบดีว่า นายทองดี (พระยาพิชัยดาบหัก) ได้เคยมาศึกษาวิชามวยกับครูเมฆที่บ้านท่าเสาด้วย<ref>ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). ''''''สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ 245 ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา''''''. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN 978-616-543-334-1</ref>
[[ไฟล์:Wat Doi Kaew Uttaradit.jpg|thumb|160px|โบราณสถานอุโบสถวัดดอยแก้ว ต.แสนตอ มีสถาปัตยกรรมคล้ายคลึงกับอุโบสถวัดพระฝาง]]
* '''หลักประโคน''' หรือหลักมั่นหลักคง ตั้งอยู่ที่ บ้านผาเต่า ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นหลักหินขนาดใหญ่ สูงราว 1.20 เมตร กว้างราว 40 เซนติเมตร ขาวบ้านเรียกว่า หลักมั่น อีกหลักมีขนาดเล็กกว่า สูงราว 50 เซนติเมตร เรียกว่า หลักคง เป็นแผ่นหินธรรมชาติ ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเขตแดนระหว่างเมืองน่านกับเมืองสวางคบุรี ในจุดที่ห้วยสามแสน และห้วยไหวตามอย มาสบกันที่ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำน่าน เสานี้ปรากฏในแผนที่โบราณว่า “หลักประโคน”<ref>Santanee Phasuk and Philip Stott. (2004). ROYAL SIAMESE MAPS : War and Trade in Nineteenth Century Thailand. Bangkok : River Books.</ref>
* '''วัดวังยาง''' อยู่ที่บ้านวังยาง ตำบลผาจุก ที่ได้ชื่อว่าวังยางนั้น มาจากแม่น้ำน่านบริเวณดังกล่าวเป็นแอ่งน้ำลึก และมีต้นยางขึ้นอยู่ริมฝั่งจำนวนมาก จากตำนานเจ้าพระฝางทำให้ทราบว่าวัดวังยาง เป็นที่อยู่ของพระครูคิริมานนท์ สหธรรมิก (เพื่อน) ของเจ้าพระฝาง ผู้เป็นกำลังสำคัญในการปกครองและควบคุมผู้คนสู้รบกับกองทัพจากกรุงธนบุรี<ref>ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). ''''''สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ 245 ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา''''''. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN 978-616-543-334-1</ref>
* '''อุโบสถโบราณวัดดอยแก้ว''' อยู่ในเขตหมู่ที่ 4 ตำบลแสนตอ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ใช้อิฐและศิลาแลงจากวัดทุ่งอ้อมโบราณ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2326 ในโบสถ์เคยประดิษฐานพระพุทธรูปไม้หน้าตักกว้าง 80 เซนติเมตร สูง 2 เมตร ที่ฐานมีจารึกว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2326 พร้อมกับโบสถ์หลังเดิม แต่ปัจจุบันนี้โบสถ์ชำรุดทรุดโทรมมาก<ref>ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). ''''''สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ 245 ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา''''''. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN 978-616-543-334-1</ref>
* '''[[ม่อนพระพุทธบาทสี่รอยบ้านนาตารอด]]''' ตั้งอยู่ที่ยอดม่อนภูเขาสูงกลางป่าชุมชนบ้านนาตารอด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยรอบอาคารพระพุทธบาท มีที่พักสงฆ์และศาลาขนาดเล็กที่สร้างมาตั้งแต่สมัยก่อน พ.ศ. 2500 โดยพระครูนิกรธรรมรักษ์ (ไซร้) เจ้าอาวาสวัดช่องลม เกจิอาจารย์ใหญ่แห่งเมืองอุตรดิตถ์ในสมัยนั้น<ref>ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). ''''''สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ 245 ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา''''''. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN 978-616-543-334-1</ref>
* '''ด่านคุ้งยาง''' อยู่ทางทิศตะวันออกของเมือง ในเขตตำบลบ้านด่าน อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ คุ้งยางเป็นคุ้งน้ำในแม่น้ำน่านที่มีต้นยางขึ้นอยู่มาก ใต้คุ้งยางลงมาก็จะมีแก่งและโขดหินที่สามารถเดินข้ามไปได้ในหน้าแล้ง ในขณะเดียวกันก็เป็นด่านทางด้านเหนือของเมืองสวางคบุรีด้วย ด่านคุ้งยางเป็นบริเวณที่เจ้าพระฝางเดินทางมาหลังตีฝ่าวงล้อมของกองทัพกรุงธนบุรีออกมาจากเมืองสวางคบุรีได้ โดยมีทหารหามเสลี่ยงหรือยานมาศ พามาจำนวนหนึ่ง จากนั้นก็ได้ข้ามแม่น้ำน่านที่ด่านคุ้งยางพร้อมกับลูกช้างพังเผือก<ref>ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). ''''''สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ 245 ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา''''''. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN 978-616-543-334-1</ref>