ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pilarbini (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการก่อกวน 1 ครั้งของ 49.49.183.159 (พูดคุย) ไปยังรุ่นโดย 2001:44C8:4246:C70C:1:1:E16E:EE60.ด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 32:
และตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2540-2552 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ จริยา บรอคเคลแมน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเป็นผู้วางระบบการบริหารจัดการด้วยเงินรายได้ของวิทยาลัยฯ จัดการศึกษาแบบ '''Liberal Arts Education''' ที่เน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้รอบด้าน และในหลากหลายมิติทั้ง[[วิทยาศาสตร์]] [[ศิลปศาสตร์]] [[มนุษยศาสตร์]] และ[[บริหารธุรกิจ]] ช่วงนี้จึงเริ่มมีการเปิดสอนหลักสูตรหลากหลายมากขึ้น ให้นักศึกษาได้เรียนรู้รอบด้านหลากหลายมิติ อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการผลิตบัณฑิตมีคุณภาพ รับใช้สังคม อุดมคุณธรรม วิทยาลัยฯ มีเครือข่ายการศึกษาใน 5 ทวีป ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา [[การวิจัย]] และจัดให้บริการวิชาการสู่สังคม จนทำให้วิทยาลัยฯ เป็นต้นแบบของการให้บริการทางวิชาการ และเป็นแบบอย่างของการพัฒนาการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติของประเทศไทยอย่างแท้จริง มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ <ref>[http://www.muic.mahidol.ac.th/thai/?page_id=335 ประวัติวิทยาลัยนานาชาติ]</ref>
 
30 ปีหลังจากการก่อตั้ง ขณะนี้วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิตใน 19 สาขาวิชาเอก และ 22 วิชาโท ทั้งด้านศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และการจัดการ รวมทั้งหลักสูตรระดับมหาบัณฑิตอีก 2 สาขา โดยมีนักศึกษาประมาณ 3,200 คน นอกจากนี้ ทางวิทยาลัยฯ คาดหวังว่าจะมีนักศึกษาเข้าเรียนเพิ่มมากขึ้นในอนาคต และเมื่อเร็วๆ นี้เพิ่งมีการอนุมัติจึงได้ทำการก่อสร้างจัดสร้างอาคารหลังใหม่ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2559 โดย[[พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ]] ประทานนามอาคารแห่งนี้ว่า ''' "อาคารกิติมาศอาคารอทิตยาทร" ''' เพื่อการเรียนการสอน มีความสูง 6 ชั้น พื้นที่ใช้สอยรวม 58,000 ตารางเมตร สำหรับหลักสูตรบริหารธุรกิจซึ่งกำลังดำเนินการขอการรับรองจาก AACSB International (The Association to Advance Collegiate Schools of Business) ในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ยังมีห้องปฏิบัติการของหลักสูตรจิตรกรรมและศิลปกรรม (Fine and Applied Arts) หอแสดงศิลปะ (Art Exhibition & Gallery) รวมทั้งเป็นอาคารสำนักงานและที่จอดรถใต้ดินจำนวน 3 ชั้น จากการขยายอาคารสถานที่ใหม่นี้ ทางวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล จะสามารถรองรับนักศึกษาได้ถึง 4,000 คน <ref>[http://www.li.mahidol.ac.th/mahidolnews/sept56/ic1_sep56.pdf ลงนามความร่วมมือสร้าง "อาคารกิติมาศ"]</ref><ref>[http://unigang.com/Article/15519 "อาคารกิติมาศ" ตึกใหม่ของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล]</ref>
 
== การบริหารงานภายในวิทยาลัย ==