ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลองด่าน (กรุงเทพมหานคร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
''สำหรับคลองด่านในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ดูที่: [[คลองด่าน (บางบ่อ)]]''
 
'''คลองด่านกระด้างรึป่าว''' ถือเป็นคลองสายประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ชื่อของคลองด่านมีที่มาจาก ในสมัยโบราณที่ปากคลองด่านด้านวัดหมู ([[วัดอัปสรสวรรค์]]ในปัจจุบัน) เคยเป็นด่านขนอนมาก่อน<ref>[http://tv.mthai.com/tv-archive/8019.html "พินิจนคร ตอน “สี่แพร่งแห่งคลองด่าน ตำนานด่านขนอน เส้นทางสัญจรสู่ความเจริญ” "](14 ธันวาคม พ.ศ. 2552)</ref> ด่าน[[ขนอน]]คือด่านที่เป็นกระโจมหลังคา มียอดสำหรับดูเรือในระยะไกล เพื่อตรวจสิ่งของต้องห้าม และเก็บภาษีจากเรือสินค้าต่างชาติทั้งฝรั่ง และจีน ที่ขึ้นล่องผ่านด่านมาติดต่อค้าขายในอาณาจักร ซึ่ง ณ ที่นี้จะสามารถเก็บภาษีทั้งจากเรือที่ผ่านมาทาง[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] และทาง[[แม่น้ำท่าจีน]]ได้ คลองด่านยังใช้เป็นเส้นทางไปออกแม่น้ำท่าจีนที่[[จังหวัดสมุทรสาคร]]ได้ด้วย ดังปรากฏว่าเป็นเส้นทางเดินทัพไปด่านเจดีย์สามองค์ในสมัย[[รัชกาลที่ 2]] <ref>[http://www.sac.or.th/main/activities_detail.php?lecture_id=67&category_id=8 "วัฒนธรรมสัญจร ร่มอารามในแผ่นดินพระนั่งเกล้า วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม 2550"]ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร</ref> และปรากฏเป็นเส้นทางสำคัญที่ใช้สัญจร ทั้งใน [[นิราศถลาง]]ของเสมียนมี (หมื่นพรหมสมพัตรสร) [[นิราศนรินทร์]] [[จดหมายเหตุลาลูแบร์]] [[โคลงนิราศพระยาตรัง]] และ[[โคลงนิราศทวาย]]ของพระพิพิธสาลี <ref>[http://khaosod.myfri3nd.com/blog/2009/03/09/entry-43 "คลองด่าาน วัดราชโอรส วัดนางนอง วัดหนัง"]โดยรุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552 จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด</ref>
 
ในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] คลองด่านเกิดตื้นเขิน จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน) เป็นแม่กองขุดลอกใน[[พ.ศ. 2374]] คลองด่านเป็นเส้นแบ่ง[[เขตภาษีเจริญ]]และ[[เขตธนบุรี]] ก่อนที่จะไหลเข้า[[เขตจอมทอง]] กรุงเทพมหานคร ปากคลองแยกจาก[[คลองบางกอกใหญ่]]ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ไปออก[[คลองบางขุนเทียน]] และ[[คลองสนามชัย]] ความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร<ref>[http://dds.bangkok.go.th/Csd/canal_h24.htm"กองระบบคลอง"]คลองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และความเจริญเติบโตของกรุงรัตนโกสินทร์ ปรับปรุงเมื่อ 1/02/50</ref>