ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้ามังระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Banklive (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Banklive (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 54:
สงครามจีน-พม่า เริ่มขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2308 มีเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างพม่ากับจีนในเรื่องหัวเมืองไทใหญ่ ซึ่งกองทัพพม่าได้ยกเข้าดินแดนไทใหญ่และรุกคืบไปเรื่อยๆ ทำให้พวกเจ้าฟ้าไทใหญ่ได้ไปขอความช่วยเหลือจากจีน แต่จีนก็ยังไม่ส่งกำลังมาช่วยโดยรอเวลาที่เหมาะสมอยู่และเวลานั้นก็มาถึงเมื่อจีนเห็นพม่ากำลังทำศึกติดพันอยู่กับอยุธยา จึงเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกำราบพม่าลง แต่การณ์ก็ไม่ได้เป็นไปดังนั้นเมื่อกองทัพของพม่าที่นำโดย [[อะแซหวุ่นกี้]], [[เนเมียวสีหตู]], [[บาลามินดิน]] และ[[เนเมียวสีหบดี]]ที่กลับมาช่วยในภายหลังนั้นกลับเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะต่อกองทัพต้าชิงอันเกรียงไกร ทำให้แม่ทัพของราชวงค์ชิงอย่าง หลิวเจ้าแม่ทัพกองธงเขียว(บุกครั้งที่1) หยางอิงจวี่แห่งกองธงเขียว(บุกครั้งที่2) รวมถึงพระนัดดา[[หมิงรุ่ย]]แห่งกองธงเหลือง(ขึ้นตรงต่อฮ่องเต้) ขุนพลเอกแห่งราชวงค์ชิงผู้พิชิตมองโกลและเติร์ก (บุกครั้งที่ 3) ต้องฆ่าตัวตายหนีความอัปยศ{{Sfn|Htin Aung|1967|pp=178–179}}<ref name=dyc-145>Dai, p. 145</ref>
 
หลังทรงทราบข่าวความพ่ายแพ้ของหมิงรุ่ย [[จักรพรรดิเฉียนหลง]]ทรงตกพระทัยและกริ้วยิ่งนัก จึงทรงมีรับสั่งเรียกตัวองคมนตรี[[ฟู่ เหิง|องค์มนตรีฟู่เหิง]]ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของ[[หมิงรุ่ย]] นักการทหารผู้เคยมีประสบการณ์ในการรบกับมองโกลยิ่งใหญ่แห่งต้าชิงกลับมารับตำแหน่ง พร้อมด้วยแม่ทัพแมนจูอีกหลายนาย เช่น [[อากุ้ย|เสนาบดีกรมกลาโหมอากุ้ย]], แม่ทัพใหญ่อาหลีกุ่น, รวมทั้งเอ้อหนิงสมุหเทศาภิบาลมณฑลยูนนานและกุ้ยโจว ให้มารวมตัวกันเพื่อเตรียมบุกพม่าเป็นครั้งที่สี่ นับเป็นการรวมตัวกันของเสนาบดีระดับสูงครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในยุคของพระองค์ โดยอาศัยกำลังทั้งจาก[[กองทัพแปดกองธง|ทัพแปดกองธง]]และกองธงเขียว การสู้รบเป็นไปอย่างดุเดือด โดยฝ่ายจีนพยายามอย่างมากในการเข้ายึดเมืองกองตนอันเป็นจุดยุทธศาสตร์แต่[[บาลามินดิน]]ก็ยังสามารถต้านเอาไว้ได้อย่างน่าประหลาดใจ ส่วนอีกด้านหนึ่งกองทัพจีนก็รุกคืบได้ช้ามาก เนื่องจากอะแซหวุ่นกี้ได้ส่ง[[เนเมียวสีหตู]]คอยทำสงครามจรยุทธปั่นป่วนแนวหลังของต้าชิงเอาไว้ ทำให้ต้าชิงต้องพะวงหลังตลอดการศึก ถึงอย่างนั้น[[อะแซหวุ่นกี้]]เองก็มีกำลังไม่มากพอที่จะเอาชนะต้าชิงได้ในตอนนี้{{Sfn|Hall|1960|pp=27–29}}
 
แต่แล้วจุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อกองทัพของ[[เนเมียวสีหบดี]]กลับมาถึงหลังจากพิชิตกรุงศรีอยุธยาลงได้แล้ว อะแซหุว่นกี้จึงเปลี่ยนแผนโดยใช้กองทัพเข้าโจมตีจุดสำคัญในเวลาพร้อมๆกัน เพื่อบีบให้กองทัพต้าชิงที่กระจายตัวอยู่ถอยกลับมารวมกับกองทัพใหญ่ จากนั้นกองทัพพม่าจึงเข้าตีกระหนาบและล้อมกองทัพต้าชิงไว้ได้ แม้ชัยชนะจะอยู่ต่อหน้าแล้ว แต่[[อะแซหวุ่นกี้]]ก็ไม่ได้สั่งให้ทหารพม่าเข้าทำลายกองทัพต้าชิง ทำแต่เพียงล้อมเอาไว้แล้วบีบให้ยอมเจรจา{{Sfn|Harvey|1925|p=255–257}} หลังจากการรบยืดเยื้อจนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2312 พม่าและจีนก็พักรบเนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างเหนื่อยล้าเต็มทน และยิ่งนานไปยิ่งไม่เป็นผลดีต่อทั้งคู่ โดยฝ่ายต้าชิงที่ติดอยู่ในวงล้อมตัดสินใจยอมเจรจากับทางพม่า การสู้รบที่ยาวนานถึง 4 ปีก็จบลงมีการทำ[[สนธิสัญญากองตน]] เป็นการจบสงครามระหว่าง พระเจ้ามังระ กับ จักรพรรดิเฉียนหลง ลงในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2312