ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บางกอกรีกอเดอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32:
ต่อมาในสมัย[[รัชกาลที่ 4]] พระองค์ทรงเปิดกว้างต่อการไหลบ่าของอารยธรรมตะวันตกมากขึ้น ทั้งยังทรงเคยเป็นสมาชิก บางกอกรีคอเดอ มาก่อน และเมื่อหมอบรัดเลย์ออกหนังสือพิมพ์อีก ก็ทรงบอกรับเป็นสมาชิกอีก ครั้นได้พบว่าหมอบรัดเลย์เขียนบทความโจมตี[[พุทธศาสนา]]ก็ทรงเขียนบทความตอบโต้ โดยมิทรงลงพระมหาปรมาภิไธย แต่คนทั่วไปก็ทราบดีกว่าบทความเหล่านั้นคือใคร<ref>สุกัญญา, เรื่องเดียวกัน, หน้า 55</ref> แต่เนื่องจากหมอบรัดเลย์ยกศาสนาของตนและประเทศของตนข่มคนไทย{{อ้างอิง}} จึงก่อให้เกิดความไม่พอใจกับคนไทยอย่างกว้างขวาง จึงทำให้การบอกรับสมาชิกไม่เพิ่มขึ้นทั้งสมาชิกเดิมก็ไม่จ่ายเงิน จึงยากที่จะยืนหยัดในสถานการณ์เช่นนี้
 
หมอบรัดเลย์ประกาศเลิกพิมพ์หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอเดอ ไว้ในเล่มที่ 2 ใบที่ 24 (วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410) โดยให้เหตุผลว่า เพราะขาดทุนและรัฐบาลไทยไม่สนับสนุนอย่างแต่ก่อน<ref name="วิจัย">[http://161.246.14.22/research/index.php?option=com_mtree&task=att_download&link_id=76&cf_id=34 ความเป็นมาของการวิจัย อักขราภิธานศรับท์]</ref>
 
== รูปแบบ ==
บรรทัด 46:
== ผลกระทบ ==
หนังสือจดหมายเหตุบางกอกรีคอเดอ ถือเป็นปฐมบทการพิมพ์และการสื่อสารมวลชนในประเทศไทย เป็นการริเริ่มหนังสือพิมพ์แบบตะวันตกในประเทศไทย ทำให้มีการสื่อสารสองทางระหว่างผู้สื่อสารกับผู้รับสาร เช่น จดหมายร้องทุกข์ และเนื่องจากการตอบโต้ของรัชกาลที่ 4 ต่อเนื้อหาที่ให้ข่าวที่ผิด และการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของราชสำนักอย่างผิดพลาดคลาดเคลื่อน ทำให้เกิดหนังสือเผยแพร่ข่าวสารของราชการ คือ [[ราชกิจจานุเบกษา]]<ref name="ประชาคมวิจัย"/>
 
บางกอกรีคอเดอ ทำให้ภาษาไทยเริ่มมีการใช้ภาษาทำเนียบแนวใหม่ ได้แก่การเขียนข่าว เขียนสารคดี การเขียนหนังสือสำแดงการ ซึ่งเป็นที่มาของบทบรรณธิการหรือคำนำของหนังสือปัจจุบัน หมอบรัดเลย์ยังให้ความรู้ด้านภาษาไทย เมื่อต้องการกล่าวถึงคำใหม่ ๆ จำเป็นต้องมีคำใหม่ ทำให้มีการทับศัพท์ การใช้คำภาษาไทยในความหมายใหม่ การสร้างคำศัพท์ การยืมคำ และการบัญญัติคำ เช่นคำว่า เปรสเตนต์ (president), กัมปะนี (company)<ref name="วิจัย"/>
 
== อ้างอิง ==