ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาศักราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
พระเจ้ากนิษกะ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
'''ท็อปรักซัสต์มหาศักราช''' (ตัวย่อ ''ม.ศ.''; [[ภาษาอังกฤษ]]: Shalivahana era, Saka era) เป็น[[ศักราช]]ที่ใช้ตามปีครองราชย์ของ '''[[พระเจ้ากนิษกะ]]''' กษัตริย์ที่ปกครอง[[อาณาจักรกุษาณะ]] หรือ '''[[พระเจ้าสลิวาหนะ]]''' ศากยะวงศ์องค์หนึ่ง<ref>[http://www.aksorn.com/webguide/webguide_detail.php?content_id=801 ทำไม? เรียกศักราช ] aksorn.com</ref> ที่มีอาณาเขตยิ่งใหญ่ปกครองอาณาเขตถึงบริเวณที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ [[อินเดีย]]ส่วนเหนือ [[อัฟกานิสถาน]] [[ทาจิกิสถาน]] และส่วนตะวันตกของ[[จีน]] ปีมหาศักราชนั้นในหนังสือไทยจะอ้างถึงปีที่เริ่มครองราชย์คือ [[พ.ศ. 621]] (ค.ศ. 78)<ref>[http://www.culture.go.th/knowledge/vid/newyear/04.htm ความรู้เรื่องศักราชที่ใช้ในหนังสือไทย] สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมห่งชาติ</ref> ในขณะที่บันทึกต่างประเทศระบุว่าครองราชย์ในปี [[ค.ศ. 127]] (พ.ศ. 670)<ref>Falk, Harry (2001): “The yuga of Sphujiddhvaja and the era of the Kuṣâṇas.” ''Silk Road Art and Archaeology'' VII, pp. 121-136.</ref> <ref>Falk, Harry (2004): “The Kaniṣka era in Gupta records.” ''Silk Road Art and Archaeology'' X (2004), pp. 167-176.</ref> ด้าน[[สารานุกรมบริเตนนิกา]]ระบุว่าไม่ทราบปีครองราชย์ที่แน่นอน คาดว่าอยู่ในช่วง [[ค.ศ. 78]] - [[ค.ศ. 144|144]]<ref>Encyclopædia Britannica 2001</ref>
 
เมื่อมหาศักราชแพร่เข้ามายัง[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] ทำให้จารึกต่าง ๆ ในสมัย[[สุโขทัย]]และอาณาจักรใกล้เคียงต่างใช้มหาศักราชเป็นส่วนใหญ่{{อ้างอิง}} คาดว่าไทยเลิกใช้มหาศักราชในปี [[พ.ศ. 2112]] โดยเปลี่ยนไปใช้[[จุลศักราช]]แทน อย่างไรก็ตามมีการใช้มหาศักราชอยู่บ้างหลังจากนั้น ดังปรากฏใน[[จารึกวัดไชยวัฒนาราม]] ([[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]]){{อ้างอิง}}