ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประสิทธิ์ ณรงค์เดช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
'''นายประสิทธิ์ ณรงค์เดช''' อดีตนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
 
== ประวัติ ==
นายประสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 ที่บ้านถนนพรหมราช [[อำเภอเมืองอุบลราชธานี|อำเภอเมือง]] [[จังหวัดอุบลราชธานี]] ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีฐานะ เป็นบุตรชายของนายเปี้ยน และนางเฮียง ณรงค์เดช จบการศึกษาขั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดห้วยขะยุง [[อำเภอวารินชำราบ]] และต่อช้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนวัดศรีทอง ภายในอำเภอเมือง และได้ย้ายมาศึกษาต่อที่[[โรงเรียนเซนต์คาเบรียล]] ในกรุงเทพมหานคร และจบการศึกษาจาก[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]] และจบการศึกษาขั้นปริญญาตรี จาก[[คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] จากนั้นได้เข้ารับราชการเป็นทหารเป็นเวลาหนึ่งปี ได้รับยศร้อยตรี (ร.ต.) จากนั้นได้ไปศึกษาต่อและทำงานยังสหรัฐอเมริกา จบปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์ จาก[[มหาวิทยาลัยเท็กซัส]] รัฐเท็กซัส
 
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ ศาสตราจารย์ เกษรี ณรงค์เดช มีบุตร 4 คน
 
== งานการเมือง ==
นายประสิทธิ์ ได้เข้ามามีบทบาทในแวดวงการเมือง ตั้งแต่ยังเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเป็นหนึ่งในกลุ่มนิสิตและนักศึกษาที่ก่อตั้ง สมาพันธ์นักศึกษาห้าสถาบัน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการชุมนุมประท้วง[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500|การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500]] ที่ได้ชื่อว่าเป็นการเลือกตั้งที่ทุจริตอย่างกว้างขวางในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก่อนที่จะมี[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500|การรัฐประหารโดย พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปีเดียวกัน]] และเข้ามามีบทบาทอย่างเต็มตัวหลัง[[เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516]] โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิก[[สมัชชาแห่งชาติไทย|สมัชชาแห่งชาติ]] และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง[[พรรคพลังใหม่]] โดยมี น.พ.[[กระแส ชนะวงศ์]] เป็นหัวหน้าพรรค นายประสิทธิ์ได้ลงรับ[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518|เลือกตั้งในกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2518]] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
 
ต่อมาในรัฐบาลม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายประสิทธิ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่า[[การเคหะแห่งชาติ]] และประธาน[[ธนาคารอาคารสงเคราะห์]] ในสมัยรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2520
 
ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522|ปี พ.ศ. 2522]] นายประสิทธิ์ได้ลงเลือกตั้งในจังหวัดอุบลราชธานี และได้[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี|รับการเลือกตั้ง]] ทำให้ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ หลังจากปี พ.ศ. 2526 นายประสิทธิ์ได้ยุติบทบาททางการเมืองลง แต่อีกหลายปีต่อมา คือ ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538|การเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538]] นายประสิทธิ์ได้ลงเลือกตั้งอีกครั้งที่จังหวัดอุบลราชธานี 2530 เขาเข้ามามีบทบาทในฐานะรองหัวหน้าเลขาธิการพรรคกิจประชาคม<ref>[[พรรคนำไทย]]http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2530/A/100/182.PDF และได้รับเลือกตั้งประกาศกระทรวงมหาดไทย จนกระทั่งถึงวาระที่นายบรรหารเรื่อง ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีได้[[การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทย|ยุบสภาพรรคกิจประชาคมเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค]]เมื่อปี</ref> พ.ศ.ซึ่งมี 2539บุญชู บทบาททางการเมืองของนายประสิทธิ์จึงได้ยุติลงโรจนเสถียร โดยหันไปประกอบธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียวเป็นหัวหน้าพรรค
 
ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538|การเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538]] นายประสิทธิ์ได้ลงเลือกตั้งอีกครั้งที่จังหวัดอุบลราชธานี ในฐานะรองหัวหน้า[[พรรคนำไทย]] และได้รับเลือกตั้ง จนกระทั่งถึงวาระที่นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีได้[[การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทย|ยุบสภา]]เมื่อปี พ.ศ. 2539 บทบาททางการเมืองของนายประสิทธิ์จึงได้ยุติลง โดยหันไปประกอบธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียว
 
== งานธุรกิจ ==
ด้านธุรกิจ นายประสิทธิ์ เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทอนามัยภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ. 2507 ด้วยการร่วมหุ้นกันในหมู่เครือญาติตระกูลณรงค์เดช จำหน่ายและนำเข้าสินค้าประเภทผ้าอนามัยและกระดาษชำระจากสหรัฐอเมริกา และยังก่อตั้งอีกหลายบริษัท เช่น บริษัทประสิทธิ์อินเตอร์เนชั่นแนล เมื่อปี พ.ศ. 2513, บริษัทบีดีเอฟ-อินทนิล เมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นผู้ผลิตพลาสเตอร์และจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จากประเทศเยอรมนี และบริษัทสุราทิพย์ในปี พ.ศ. 2516 เป็นผู้ผลิตสุราไทยยี่ห้อต่าง ๆ <ref>''สก๊อตต์ & เกษม อัดประสิทธิ์ สงครามเดิมพันสูงที่ไม่ต้องคำนึงถึงสายสัมพันธ์เก่า'' โดย สุดจิตร์ ไชยตระกูลชัย. นิตยสารผู้จัดการ: กุมภาพันธ์ 2531</ref>
 
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ ศาสตราจารย์ เกษรี ณรงค์เดช มีบุตร 4 คน
== บั้นปลายชีวิต ==
นายประสิทธิ์ ณรงค์เดช ถึงแก่อนิจกรรมเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2541 สิริอายุได้ 62 ปี<ref>หน้า 10 บทความ–การ์ตูน, ''ประสิทธิ์ ณรงค์เดช : ผู้นำพรรคพลังใหม่''. "ส่วนร่วมสังคมไทย" โดย นรนิติ เศรษฐบุตร. '''เดลินิวส์'''ฉบับที่ 24,361: วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559 แรม 5 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก</ref>
 
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
 
{{ม.ป.ช.|2517}}
{{ม.ว.ม.|2515}}
เส้น 53 ⟶ 57:
{{รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม}}
{{รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม}}
 
{{เกิดปี|2478}}{{ตายปี|2541}}
[[หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดอุบลราชธานี]]