ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความกลัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
[[ไฟล์:Expression_of_the_Emotions_Figure_20.png|thumb|right|สีหน้าแสดงความกลัว จากหนังสือ ''The Expression of the Emotions in Man and Animals'' ของ[[ชาลส์ ดาร์วิน]]]]
 
'''ความกลัว''' เป็น[[อารมณ์]]ที่เกิดจากการรับรู้[[การคุกคาม|ภัยคุกคาม]]ของ[[สิ่ง]]มีชีวิต ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสมองและการทำงานของอวัยวะ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในที่สุด เช่น การวิ่งหนี การหลบซ่อน หรือการช็อคจากเหตุการณ์ที่ทำร้ายจิตใจ ความกลัวอาจเป็นการตอบสนองต่อ[[ตัวกระตุ้น]]ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน หรือในอนาคต ซึ่งรับรู้ว่าเป็น[[ความเสี่ยง]]ต่อสุขภาพหรือชีวิต สถานภาพ อำนาจ ความปลอดภัย หรือความมั่งคั่ง หรือสิ่งมีค่าใด ๆ การตอบสนองความกลัวเกิดขึ้นได้จาก[[สัญชาน|การรับรู้]]อันตรายที่นำไปสู่การเผชิญหน้าหรือการหลบหนีจากภัยคุกคาม ซึ่งในกรณีความกลัวสุดโต่ง อาจทำให้ช็อคหรือชาได้
 
ในมนุษย์และสัตว์ ความกลัวเกิดขึ้นจากกระบวนการ[[ประชาน]]และเรียนรู้ ดังนั้นความกลัวจึงสามารถประเมินได้ว่า[[ความมีเหตุผล|มีเหตุผล]]หรือเหมาะสม และ[[ความไม่มีเหตุผล|ไม่มีเหตุผล]]หรือไม่เหมาะสม ความกลัวที่ไม่มีเหตุผลเรียกว่า [[โรคกลัว]] (phobia)
 
นักจิตวิทยาหลายคน เช่น [[จอห์น บี. วัตสัน]] [[โรเบิร์ต พลุตชิก]] และ[[พอล เอ็กแมน]] แนะว่ามีอารมณ์พื้นฐานหรืออารมณ์ที่มีตั้งแต่เกิดอยู่จำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้นคือความกลัว กลุ่มความรู้สึกที่เป็นสมมุติฐานนี้รวมถึงอารมณ์ต่าง ๆ เช่น [[ความสุข]] [[ความเศร้า]] ความสยองขวัญ [[ความตื่นตระหนก]] [[ความกังวล]] [[ปฏิกิริยาเฉียบพลันต่อความเครียด]] และ[[ความโกรธ]]