ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอวาริชภูมิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Billner2009 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Worradhep (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มรายละเอียดประวัติการจัดตั้งเมือง และเพิ่มแหล่งอ้างอิง
บรรทัด 18:
}}
'''วาริชภูมิ''' เป็นอำเภอหนึ่งของ[[จังหวัดสกลนคร]] โรงเรียนประจำอำเภอคือโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ
 
== ประวัติ ==
เมื่อปี พ.ศ.2387 ชาวภูไทเมืองกะป๋อง ( เมืองเซโปน [[ประเทศลาว|สาธารณรััฐประชาธิปไตยประชาชนลาว]] ) ประมาณ 400 ครัวเรือน ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงเขามายังประเทศ[[สยาม]] โดยมีผู้นำการอพยพครั้งนั้นคือ ท้าวราชนิกูล ยุตรของท้าวคำผง เจ้าเมืองกะป๋อง ขบวนผู้อพยพได้เดินทาง พักแรม ผ่านเขตเมือง[[จังหวัดนครพนม|นครพนม]] [[จังหวัดสกลนคร|สกลนคร]] จนกระทั่งปี พ.ศ.2390 ท้าวราชนิกูลและชาวภูไทกะป๋อง ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านหนองหอย ( อำเภอวาริชภูมิในปัจจุบัน ) เนื่องจากเห็นว่าเป็นทำเลที่ดี มี กุ้ง หอย ปู ปลา แหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ในปี พ.ศ.2420 ท้าวราชนิกูล ได้ถึงแก่กรรมลง ท้าวสุพรม ผู้เป็นบุตรชาย ได้เดินทางไปยังกรุงเทพมหานคร เพื่อเข้าเฝ้า[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 5 และขอจัดตั้งเมืองวาริชภูมิ เมื่อทางการ[[สยาม]] ได้สืบประวัติ สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับตระกูลของท้าวสุพรม ไปยังเจ้าเมืองต่าง ๆ ในหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ทั้งจากบันทึก และคำบอกเล่า สามารถยืนยันได้ว่าตะกูลของท้าวสุพรม เคยเป็นเจ้าเมืองเมื่อครั้งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมาก่อน [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] จึงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศ[[บรรดาศักดิ์ไทย|บรรดาศักดฺิ์]] แต่งตั้งให้ ท้าวสุพรม เป็น " รองอำมาตย์เอก[[พระสุรินทรบริรักษ์]] " ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองวาริชภูมิ<ref>http://husojournal.ksu.ac.th/manage/upload_file/6NlHoDQCci520131128223818.pdf มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ วารสารวิถีสังคมมนุษย์ ปีที่ 1 ฉบับพิเศษ เดือนมกราคม - มิถุนายน พ.ศ.2556 : " ภูไทกะป๋อง " ประวัติศาศตร์ท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธ์ภูไทในลุ่มน้ำโขงตอนกลาง , ดร.สพสันติ์ เพชรคำ</ref>
 
ในช่วงระยะแรกของเมืองวาริชภูมิ การทำราชการต่าง ๆ จะขึ้นกับ[[เมืองหนองหาน]] แต่เกิดกรณีพิพาทเขตแดนระหว่างเมืองหนองหาน กับเมือง[[สกลนคร]]อยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งในที่สุด ปี พ.ศ.2435 พลตรี พระเจ้าบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม|กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม]] ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ มีคำสั่งให้โอนเมืองวาริชภูมิไปทำราชการขึ้นกับเมือง[[สกลนคร]] แต่ให้กรมการเมืองวาริชภูมิยังคงตำแหน่งเดิมทุกคน และในปี พ.ศ.2441 มีพระราชโองการประกาศใช้ข้อบังคับท้องที่ ร.ศ.117 ให้ยกเลิกตำแหน่ง อุปฮาด ราชบุตร ราชวงษ์ ซึ่งเป็นตำเดิมแบบ[[อาณาจักรล้านช้าง]]โบราณ มาเป็นตำแหน่งข้าราชการเช่นเดียวกับส่วนกลางทั่วประเทศ ในครั้งนั้น คณะกรมการเมืองวาริชภูมิ ประกอบด้วย
 
พระสุรินทรบริรักษ์ ( สุพรม เหมะธุลิน ) ผู้ว่าราชการเมือง
 
หลวงสมัครวาริชกิจ ( หล้า ) ปลัดเมือง
 
หลวงสฤษฎ์วาริชการ ( พิมพ์ ) ศาลเมือง ( ยกกระบัตรเมือง )
 
ขุนสมานวาริชภูมิ ( คำตัน ) ศาลเมือง ( ยกกระบัตรเมือง )
 
ขุนราชมหาดไทย ( เคน ) มหาดไทย
 
ขุนบริบาล (วันทอง ) นครบาล
 
ขุนพรหมสุวรรณ ( เพชร ) คลังเมือง
 
ขุนศรีสุริยวงศ์ ( บุตร ) โยธาเมือง<ref>https://www.facebook.com/KrmKarmeuxngSwangdaendin/posts/524117240978302<nowiki/>กรมการเมืองสว่างแดนดิน พระสุรินทรบริรักษ์ , ธวัช ปุณโณทก เรียบเรียง</ref>
 
เรียงลำดับการเปลี่ยนแปลงของเมืองวาริชภูมิได้ดังนี้
 
พ.ศ.2420 มีการจัดตั้งเมืองวาริชภูมิขึ้นครั้งแรก
 
พ.ศ.2440 ปรับเปลี่ยนเมืองวาริชภูมิ เป็นอำเภอวาริชภูมิ ในปีเดียวกัน ได้เกิดเหตุการณ์ไฟใหม้เมือง จึงทำให้ผู้คนต่างแยกย้ายออกไปตั้งบ้านเรือนที่อื่น
 
พ.ศ.2457 อำเภอวาริชภูมิ ถูกปรับเปลี่ยนเป็นตำบลวาริชภูมิ ขึ้นกับ[[อำเภอพรรณานิคม]] จังหวัด[[จังหวัดสกลนคร|สกลนคร]]
 
พ.ศ.2469 เปลี่ยนจากตำบลวาริชภูมิ เป็นกิ่งอำเภอวาริชภูมิ
 
พ.ศ.2496 เปลี่ยนจากกิ่งอำเภอวาริชภูมิ เป็นอำเภอวาริชภูมิ จนถึงปัจจุบัน<ref>http://phutaikapong.blogspot.com/p/blog-page_8.html<nowiki/>การอพบพของกลุ่มไทดำ ไทกะป๋องวาริชภูมิ</ref>
 
== ที่ตั้งและอาณาเขต ==