ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บรรดาศักดิ์ไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 19:
# เจ้าพระยา
# พระยา
# พระ
# พระ หรือ หมื่น (เจ้าหมื่น)
# หลวง
# ขุน
บรรทัด 28:
แต่ละบรรดาศักดิ์ จะมี '''ศักดินา''' ประกอบกับบรรดาศักดิ์นั้นด้วย ระบบขุนนางไทย ถือว่า ศักดินา สำคัญกว่า '''บรรดาศักดิ์''' เพราะศักดินา จะใช้เป็นตัววัดในการ[[ปรับไหม]] และ [[พินัย]] ในกรณีขึ้นศาล บรรดาศักดิ์ ใน '''พระไอยการนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง''' นี้ ค่อนข้างสับสนและไม่เป็นระบบ คล้ายๆ กับว่า ผู้ออกกฎหมายนึกอยากจะให้บรรดาศักดิ์ใด ศักดินาเท่าไหร่ ก็ใส่ลงไป โดยไม่ได้จัดเป็นระบบแต่อย่างใด (เพิ่มเติมวันที่ 4 มีนาคม 2550 ตามความเห็นไม่คิดว่าจะจัดไม่เป็นระบบแต่อย่างใด แต่เป็นลักษณะอย่าง เช่น เมืองตากเป็นเมืองเล็กๆ พระยาตากอาจถือศักดินาสูงสุดอยู่ในเมืองตาก หมายความว่าใหญ่สุดในเมืองตากทั้งศักดินาและบรรดาศักดิ์ แต่อย่างที่บอกไป เมืองตากเป็นเมืองเล็ก เป็นไปได้ว่าอาจมีศักดินาต่ำกว่ายศขุนของอยุธยาซึ่งถือว่าเป็นเมืองใหญ่ก็เป็นได้ ทั้งนี้ควรหาข้อมูลเปรียบเทียบตรงจุดนี้ให้กระจ่าง) ดังนั้น จึงมีขุนนางใน กรมช่างอาสาสิบหมู่ หรือ บางกรม ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา แต่ศักดินาต่ำกว่า 1,000 ซึ่งถือเป็นขุนนางระดับต่ำ
 
ในสมัยต่อมาได้มีการเพิ่มเติม บรรดาศักดิ์ต่าง ๆ จากทำเนียบพระไอยการนาพลเรือน นาทนายหาร หัวเมืองขึ้นเมือง ขึ้นอีกเป็นอันมาก
 
ขุนนางของไทยสมัยโบราณ ไม่เหมือนกับขุนนางในประเทศตะวันตก คือ ไม่ได้เป็นขุนนางสืบตระกูล ผู้ที่ได้ครองบรรดาศักดิ์ก็อยู่ในบรรดาศักดิ์เฉพาะตนเท่านั้น จึงเทียบได้กับข้าราชการ หรือ ระบบชั้นยศของข้าราชการในสมัยปัจจุบัน ที่มีการแบ่งเป็นระดับต่างๆ แต่ขุนนางไทยในสมัยโบราณ จะมี[[ราชทินนาม]] และ [[ศักดินา]] เพิ่มเติมแตกต่างจากข้าราชในปัจจุบันที่มีเพียงชั้นยศเท่านั้น
บรรทัด 43:
# [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์]] ศักดินา 30,000 สถาปนาขึ้นในรัชกาลที่ 5
 
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการติดต่อกับประเทศตะวันตก ฝรั่งเทียบให้บรรดาศักดิ์ "สมเด็จเจ้าพระยา" เทียบเท่ากับ ขุนนางตะวันตกชั้น "Grand Duke" โดยหนังสือที่มีถึง [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)|สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์]] นั้นเรียกท่านว่า แกรนด์ดยุก
 
สมเด็จเจ้าพระยาในสมัยรัตนโกสินทร์มีศักดินา 30,000ไร่ เสมอ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยา แล้วยังรับ เครื่องประกอบอิสริยยศ ทองคำลงยาราชาวดี เสมอเจ้าต่างกรม มีพระกลดกางกั้น มีพระแสงราชอาญาสิทธิ์ หากวายชนม์ ก็ให้ใช้คำว่า "ถึงแก่พิราลัย"
 
== เจ้าพระยา ==
บรรทัด 61:
 
== พระยา ==
ส่วน บรรดาศักดิ์ พระยา นั้น เป็นบรรดาศักดิ์ สำหรับขุนนางระดับสูง หัวหน้ากรมต่างๆ เจ้าเมืองชั้นโท และแม่ทัพสำคัญ ในพระไอยการฯ มีเพียง 33 ตำแหน่ง ดังนั้น จึงมีประเพณี พระราชทานเครื่องยศ (โปรดดูเรื่อง [[เครื่องราชอิสริยยศไทย]]) ประกอบกับบรรดาศักดิ์ด้วย โดย พระยาที่มีศักดินามากกว่า 5,000 จะได้รับพระราชทานพานทอง ประกอบเป็นเครื่องยศ จึงเรียกกันว่า '''พระยาพานทอง''' ซึ่งถือเป็นขุนนางระดับสูง ส่วนพระยาที่มีศักดินาต่ำกว่านี้ จะไม่ได้รับพระราชทานพานทอง (ปัจจุบันผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[[ทุติยจุลจอมเกล้า]] และ [[ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ]] ถือว่ามียศเทียบเท่ากับ '''พระยาพานทอง''')
 
ในเรื่องนี้ จึงมีประเด็นความเชื่อ โดยบุตรขุนนางที่เกิดใหม่ บิดามักเอาพานทองไปรองรับทารกที่เกิดใหม่นั้น พร้อมอธิษฐานว่า ขอให้บุตรของตนมีวาสนาได้เป็นพระยาพานทองในอนาคต หากเทียบกับปัจจุบัน พระยาพานทอง คงเทียบได้กับข้าราชการ ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษหรือ ทหารชั้นยศนายพล ตำแหน่ง เจ้ากรมทหาร เพราะในปัจจุบันการมอบตำแหน่งพระยาพานทองคือผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ [[ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ|ทุติยจุลจอมเกล้า]]และ[[ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ]]
 
== ขุนนางที่มีศักดินา 10,000 ==