ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คุณหญิง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงโปรด'→'โปรด'
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
'''คุณหญิง''' เป็นคำนำหน้าใช้สำหรับสตรีที่สมรสแล้วซึ่งได้รับพระราชทาน[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า]] ชั้น [[จตุตถจุลจอมเกล้า]] (จ.จ.) [[ตติยจุลจอมเกล้า]] (ต.จ.) และ[[ทุติยจุลจอมเกล้า]] (ท.จ.) ส่วนสตรีที่ยังมิได้สมรสให้ใช้คำนำหน้าว่า '''"คุณ"''' ยกเว้น สตรีในราชตระกูลตั้งแต่ชั้น[[หม่อมเจ้า]]ขึ้นไป รวมทั้ง [[หม่อมราชวงศ์]]และ[[หม่อมหลวง]] ยังคงใช้พระนามและคำนำหน้านามเดิม
 
นอกจากนี้ คำว่า '''คุณหญิง''' ยังใช้เป็นนามลำลองของ '''หม่อมราชวงศ์หญิง''' อีกด้วย เช่น หม่อมราชวงศ์ ศรีคำรุ้ง ยุคล มีนามลำลองว่า คุณหญิงแมงมุม เป็นต้น
 
== ประวัติ ==
 
ในอดีตนั้นสตรีที่เป็นภรรยาของขุนนางชั้น '''พระยา''' จะได้ใช้คำนำหน้าชื่อว่า '''คุณหญิง'''
การใช้คำนำหน้าสตรีในอดีตนั้นมีการระบุเกี่ยวพันกับ[[บรรดาศักดิ์]]ของสามีที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันรัฐบาลจะไม่มีนโยบายขอพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ข้าราชการแล้ว แต่คำนำหน้าสตรีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ก็ยังสมควรได้รับคำยกย่องอยู่ เนื่องจากประเทศไทยปกครองด้วย[[ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] และเพื่อเป็นการเทิดทูนองค์พระมหากษัตริย์ รวมทั้ง นับเป็นเกียรติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้แก่สตรีผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษ โดยมิได้ขอพระราชทานโดยรัฐบาล<ref name="หนังสือเวียน">[http://www.cabinet.thaigov.go.th/d_Chulav.htm หนังสือเวียนที่กล่าวถึงการใช้คำนำนามสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์] จาก สำนักเลขธิการคณะรัฐมนตรี</ref> ดังนั้น จึงสมควรยกย่องสตรีผู้ได้รับเกียรติจากองค์พระมหากษัตริย์ด้วย โดยอนุโลมไม่ต้องยึดถือบรรดาศักดิ์ของสามีเป็นเกณฑ์
 
การใช้คำนำหน้าสตรีในอดีตนั้นมีการระบุเกี่ยวพันกับ[[บรรดาศักดิ์]]ของสามีที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันรัฐบาลจะไม่มีนโยบายขอพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ข้าราชการแล้ว แต่คำนำหน้าสตรีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ก็ยังสมควรได้รับคำยกย่องอยู่ เนื่องจากประเทศไทยปกครองด้วย[[ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] และเพื่อเป็นการเทิดทูนองค์พระมหากษัตริย์ รวมทั้ง นับเป็นเกียรติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้แก่สตรีผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษ โดยมิได้ขอพระราชทานโดยรัฐบาล<ref name="หนังสือเวียน">[http://www.cabinet.thaigov.go.th/d_Chulav.htm หนังสือเวียนที่กล่าวถึงการใช้คำนำนามสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์] จาก สำนักเลขธิการคณะรัฐมนตรี</ref> ดังนั้น จึงสมควรยกย่องสตรีผู้ได้รับเกียรติจากองค์พระมหากษัตริย์ด้วย โดยอนุโลมไม่ต้องยึดถือบรรดาศักดิ์ของสามีเป็นเกณฑ์
 
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ [[พ.ศ. 2416]] เนื่องในวโรกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 90 ปี ให้ใช้แพรแถบ[[สีชมพู]]อันเป็นสีของวันอังคาร ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพ โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้า มีจำนวน 150 ดวง ตติยจุลจอมเกล้า จำนวน 250 ดวง และทุติยจุลจอมเกล้า จำนวน 100 สำรับ ดังนั้นจำนวนคุณหญิง (และคุณ) จะมีไม่เกิน 500 คน