ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นครวัด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Opalzasw (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 27:
 
== ประวัติ ==
[[Fileไฟล์:Suryavarman II in procession.jpg|thumb|ritg0hk|[[พระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2]] ผู้สร้างนครวัด]]
นครวัดตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมือง[[เสียมราฐ (เมือง)|เสียมราฐ]]ในปัจจุบัน ห่างออกไป 5.5 กิโลเมตรจากตัวเมือง แต่หากวัดจากเมืองหลวงก่อนหน้าซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่[[ปราสาทบาปวน]] นครวัดจะมีระยะห่างจากเมืองหลวงเดิมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยนครวัดจะตั้งอยู่ทางทิศใต้เยื้องไปทางทิศตะวันออกเล็กน้อย และถือเป็นปราสาทที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของบริเวณ[[เมืองพระนคร]]
 
บรรทัด 79:
}}
=== ที่ตั้งและผัง ===
[[Fileไฟล์:Angkor-Wat-from-the-air.JPG|thumb|left|ภาพนครวัดจากมุมสูง]]
นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นด้วยการรวมเอาลักษณะการสร้างปราสาทให้เสมือนภูเขา (แบบแผนของการออกแบบปราสาทของอาณาจักร)เข้ากับแบบผังของอาคารในสมัยหลังที่มีการทำระเบียงคดล้อมจุดศูนย์กลาง การก่อสร้างนครวัดยังได้บ่งบอกให้ทราบว่าปราสาทยังมีนัยยะสำคัญเกี่ยวข้องกับท้องฟ้าเนื่องด้วยองค์ประกอบบางส่วนของตัวปราสาท นัยยะดังกล่าวคือในบริเวณด้านทิศตะวันออกและตะวันตกของปราสาท ซึ่งระเบียงภายในได้มีการออกแบบให้เชื่อมต่อเข้าหากันโดยปราศจากสิ่งกำบังส่งผลให้ปราสาททั้งสองทิศตั้งอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับพระอาทิตย์ที่ขึ้นช่วงวันอายัน <ref>{{cite web|last1=Fleming|first1=Stuart|title=The City of Angkor Wat: A Royal Observatory on Life?|url=https://www.jstor.org/stable/pdf/41731666.pdf?refreqid=search%3A5600eaa9280692a3cf075c50dc93a2c0|website=jstor.org|publisher=Archaeological Institute of America}}</ref> ปราสาทแห่งนี้คืออาคารที่สื่อแทนถึงเขาพระสุเมรุอันเป็นที่สถิตของเทพเจ้า โดยปรางค์ประธานตรงกลางทั้งห้านั้นเป็นสัญลักษณ์แทนถึงยอดห้ายอดของภูเขา ส่วนกำแพงแต่ละชั้นและคูน้ำนั้นก็แทนถึงเขาสัตบริภัณฑ์และมหาสมุทร<ref name="multiref2">Freeman and Jacques p. 48.</ref> แต่เดิมพื้นที่ส่วนบนของปราสาทนั้นถูกจำกัดสิทธิการเข้าถึงมาโดยตลอด ผู้ที่เป็นฆราวาสจึงถูกจำกัดให้อยู่แค่บริเวณส่วนล่างของปราสาทเท่านั้น<ref>Glaize p. 62.</ref>
 
นครวัดมีความแตกต่างจากปราสาทเขมรหลังอื่นในเรื่องของการวางทิศประธานที่หันไปทางทิศตะวันตกแทนที่จะเป็นทิศตะวันออก ความต่างนี้ได้ส่งผลให้ผู้คนจำนวนมาก(รวมไปถึง[[มอริส เกรซ]] และ [[ยอร์ช เซเดส์]]) ออกมาสรุปว่าพระเจ้าสุริยวรรมันนั้นประสงค์ที่จะสร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นให้เป็นปราสาทที่เก็บพระบรมศพของพระองค์<ref name=Coedes>{{cite book|last= Coedès|first= George|authorlink= George Coedès|editor= Walter F. Vella|others= trans.Susan Brown Cowing|title= The Indianized States of Southeast Asia|date= 1968|publisher= University of Hawaii Press|isbn= 978-0-8248-0368-1 |page=162 }}</ref><ref>The diplomatic envoy Zhou Da Guan sent by Emperor [[Temür Khan]] to Angkor in 1295 reported that the head of state was buried in a tower after his death, and he referred to Angkor Wat as a mausoleum</ref> แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานอื่นๆที่ได้จากการศึกษาภาพสลักนูนต่ำที่เรียงลำดับเรื่องราวในทิศทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งต่างไปจากเทวสถานฮินดูทั่วไป โดยพิธีกรรมต่างๆของพราหมณ์ในพิธีพระบรมศพก็ยังจัดขึ้นแบบย้อนลำดับอีกด้วย<ref name="multiref1" /> นักโบราณคดี ชาร์ล ไฮแฮม ยังได้อธิบายถึงภาชนะชิ้นหนึ่งว่ามีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นพระโกศบรรจุพระบรมอัฐิ โดยภาชนะนี้ถูกขุดขึ้นมาจากปรางค์ประธานตรงกลาง<ref name="multiref3">Higham, ''The Civilization of Angkor'' p. 118.</ref> โดยบุคคลบางกลุ่มได้เสนอแนวคิดที่ว่าปรางค์ประธานตรงกลางนั้นเหมาะสมที่สุดในการทำพิธีจัดการกับพระบรมศพเพราะเชื่อกันว่าเปรียบเสมือนศูนย์รวมของพลังอำนาจทั้งปวง<ref name="Scarre p. 81-85">Scarre, Chris editor "The Seventy Wonders of the Ancient World", p.&nbsp;81–85 (1999) Thames & Hudson, London</ref> อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางคนได้ระบุว่าปราสาทหลายหลังในเมืองพระนครเองก็ไม่ได้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามธรรมเนียมเสียหมด และได้เสนอว่าการที่นครวัดมีการวางทิศเช่นนี้ก็เพราะปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่[[พระวิษณุ]] ซึ่งเป็นเทพเจ้าประจำทิศตะวันตก<ref name="multiref2" />
 
เอเลนอร์ แมนนิกกาได้นำเสนอการตีความนครวัดในแบบที่แตกต่างออกไป โดยได้วิเคราะห์จากการวางทิศ มิติของอาคาร และจากลำดับการเล่าเรื่องและเนื้อหาของภาพสลักนูนต่ำ เธอได้แย้งว่า ปราสาทแห่งนี้ได้อ้างถึงยุคสมัยใหม่แห่งความสงบสุขในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรรมันที่ 2 โดยได้ระบุว่า “เนื่องจากมีการคำนวณวงจรเวลาการขึ้นของพระอาทิตย์และพระจันทร์ไว้ในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของนครวัด ภาพเทพเทวดาผู้อยู่ในอาณัติของการปกครองจึงได้ปรากฎปรากฏอยู่บนตัวเรือนธาตุและเฉลียง สื่อความหมายถึงปกปักษ์ให้อำนาจของกษัตริย์เป็นนิจนิรันดร เป็นการเฉลิมพระเกียรติและสร้างความสงบแก่เหล่าเทวดาที่ประทัพอยู่บนสรวงสวรรค์” <ref>[[Eleanor Mannikka|Mannikka, Eleanor]]. [http://huntingtonarchive.osu.edu/seasia/angkor.html Angkor Wat, 1113–1150]. (This page does not cite an author's name.)</ref><ref>Stencel, Robert, Fred Gifford, and Eleanor Moron. "Astronomy and Cosmology at Angkor Wat." ''Science'' 193 (1976): 281–287. (Mannikka, née Moron)</ref> ข้อเสนอของแมนนิกกานั้นได้มอบทั้งความสนใจและข้อแคลงใจในแวดวงวิชาการ<ref name="multiref3" /> เธอได้ฉีกหนีข้อสันนิษฐานของนักวิชาการคนอื่นๆ อาทิ แกรแฮม แฮนคอก ด้วยข้อสันนิษฐานที่ว่านครวัดนั้นคือสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงกลุ่มดาวมังกร<ref>Transcript of [http://www.grahamhancock.com/horizon/horizon_script_2.htm Atlantis Reborn], broadcast [[BBC Two|BBC2]] 4 November 1999.</ref>
 
===รูปแบบ===
[[Fileไฟล์:Angkor Vat (6931599619).jpg|thumb|left|ภาพนครวัดจากมุมมองด้านข้าง]]
 
นครวัดถือเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมเขมรรูปแบบคลาสสิคที่สำคัญที่สุด ซึ่งชื่อเรียกรูปแบบศิลปะในสมัยคลาสสิคนี้ยังเรียกกันว่า “ศิลปะนครวัด” อีกด้วย ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 นั้น สถาปนิกเขมรได้มีทั้งทักษะความสามารถและความมั่นใจในการใช้หินทรายเป็นวัสดุโครงสร้างหลักของอาคาร(จากเดิมที่ใช้อิฐหรือศิลาแลงในการก่อสร้าง) ส่วนของปราสาทที่มองเห็นได้นั้นทำมาจากหินทรายที่มีการตัดเป็นบล็อก ในขณะที่กำแพงภายนอกและโครงสร้างภายในนั้นทำจากศิลาแลงแต่ใช้บล็อกหินทรายปิดบังเอาไว้ภายนอก ยังไม่มีการชี้ชัดว่าวัสดุที่ใช้เชื่อมหินแต่ละก้อนให้ติดกันนั้นคืออะไร แม้จะมีจะมีการเสนอว่าเป็นยางไม้และน้ำปูนใสมาโดยตลอดก็ตาม<ref>[http://www.gacp-angkor.de/ German Apsara Conservation Project] Building Techniques, p. 5.</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/นครวัด"