|
|
}}
'''ภูเขาไฟลาไค''' ({{lang-is|Lakagígar}}) เป็น[[ภูเขาไฟที่ปะทุตามรอยแยก]]ที่ตั้งอยู่ระหว่างธารน้ำแข็ง[[วาตนาเยอคูตล์]]และ[[Mýrdalsjökull|มีร์เดาเจียคุสต์]]ในพื้นที่รอยแยกที่แยกไปในจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไม่ไกลจาก[[หุบผาชัน]]เอนเกียวและหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึงใน[[Kirkjubæjarklaustur|เคิร์กยูแบยาร์กลุสทุสร์]]ในภาคใต้ของ[[ไอซ์แลนด์]] ช่องของภูเขาไฟกว้างเพียงไม่กี่เมตรแต่อาจยาวได้หลายกิโลเมตร ลาไคเป็นชื่อของภูเขาธรรมดาที่ไม่ปะทุบนภูเขาแต่จะปะทุตามรอยแยกด้านข้างของมัน ภูเขาไฟลาไคเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูเขาไฟ[[กริมสวอทน์]]และ[[Thordarhyrna|ธอห์ดอร์ฮีร์นะ]]<ref name="gvp">{{cite gvp
| vnum = 1702–03=
| title = Katla
|doi = 10.1016/j.jog.2006.09.015|bibcode = 2007JGeo...43..153G }}</ref>
ภูเขาไฟลาไคและ[[กริมสวอทน์]]ได้เกิดการประทุปะทุอย่างรุนแรกรุนแรงเป็นระยะเวลา 8 เดือนตั้งแต่มิถุนายน พ.ศ. 2326 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2327 ได้พ่นลาวาประมาณ 42 พันล้านตัน (14 ลูกบาศก์กิโลเมตร) กลุ่มก๊าซของ[[กรดไฮโดรฟลูออริก]]ที่เป็นพิษและ[[ซัลเฟอร์ไดออกไซด์]]ขึ้นมาปนเปื้อนดิน ทำให้พืชที่ปลูกตายและฆ่าประชากร[[ปศุสัตว์]]ในไอซ์แลนด์มากกว่า 50% และนำไปสู่สภาวะ[[ทุพภิกขภัย]]ที่ฆ่าประชากรบนเกาะไอซ์แลนด์กว่า 25%<ref>Gunnar Karlsson (2000), ''Iceland's 1100 Years'', p. 181</ref> นอกจากนี้ลาวายังได้ไหลเข้าทำลายหมู่บ้านอีก 20 แห่ง
การปะทุของลาไคทำให้อุณหภูมิโลกลดลงเพราะ[[ซัลเฟอร์ไดออกไซด์]]กว่า 120 ล้านตันถูกพัดขึ้นไปใน[[ซีกโลกเหนือ]]ส่งผลให้พืชใน[[ยุโรป]]แห้งตายและเกิดภัยแล้งใน[[ทวีปอเมริกาเหนือ]]และ[[อินเดีย]]
|