ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภูเขาไฟลาไค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{Infobox mountain | name = ลาไค | photo = Laki fissure (3).jpg | photo_caption = | elevation = Varies: canyon to {{convert|1725|m|ft|0}} | prominence = | map...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:27, 8 มิถุนายน 2561

ภูเขาไฟลาไค (ไอซ์แลนด์: Lakagígar) เป็นภูเขาไฟที่ปะทุตามรอยแยกที่ตั้งอยู่ระหว่างธารน้ำแข็งวาตนาเยอคูตล์และมีร์เดาเจียคุสต์ในพื้นที่รอยแยกที่แยกไปในทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไม่ไกลจากหุบผาชันเอนเกียวและหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึงในเคิร์กยูแบยาร์กลุสทุสร์ในภาคใต้ของไอซ์แลนด์ ช่องภูเขาไฟกว้างเพียงไม่กี่เมตรแต่อาจยาวได้หลายกิโลเมตร ลาไคเป็นชื่อของภูเขาธรรมดาที่ไม่ปะทุแต่จะตามรอยแยกด้านข้างของมัน ภูเขาไฟลาไคเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูเขาไฟกริมสวอทน์และธอห์ดอร์ฮีร์นะ[1][2][3]

ลาไค
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
Varies: canyon to 1,725 เมตร (5,659 ฟุต)
พิกัด64°03′53″N 18°13′34″W / 64.06472°N 18.22611°W / 64.06472; -18.22611พิกัดภูมิศาสตร์: 64°03′53″N 18°13′34″W / 64.06472°N 18.22611°W / 64.06472; -18.22611
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
ประเภทภูเขาภูเขาไฟที่ปะทุตามรอยแยก
การปะทุครั้งล่าสุดพ.ศ. 2327

ภูเขาไฟลาไคและกริมสวอทน์ได้เกิดการประทุอย่างรุนแรกเป็นระยะเวลา 8 เดือนตั้งแต่มิถุนายน พ.ศ. 2326 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2327 ได้พ่นลาวาประมาณ 42 พันล้านตัน (14 ลูกบาศก์กิโลเมตร) กลุ่มก๊าซของกรดไฮโดรฟลูออริกที่เป็นพิษและซัลเฟอร์ไดออกไซด์ขึ้นมาปนเปื้อนดิน ทำให้พืชที่ปลูกตายและฆ่าประชากรปศุสัตว์ในไอซ์แลนด์มากกว่า 50% และนำไปสู่สภาวะทุพภิกขภัยที่ฆ่าประชากรบนเกาะไอซ์แลนด์กว่า 25%[4] นอกจากนี้ลาวายังได้ไหลเข้าทำลายหมู่บ้านอีก 20 แห่ง

การปะทุของลาไคทำให้อุณหภูมิโลกลดลงเพราะซัลเฟอร์ไดออกไซด์กว่า 120 ล้านตันถูกพัดขึ้นไปในซีกโลกเหนือส่งผลให้พืชในยุโรปแห้งตายและเกิดภัยแล้งในทวีปอเมริกาเหนือและอินเดีย

อ้างอิง

  1. "Katla". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution. สืบค้นเมื่อ March 26, 2010.
  2. "Iceland : Katla Volcano". Iceland on the web. สืบค้นเมื่อ March 26, 2010.
  3. Gudmundsson, Magnús T.; Thórdís Högnadóttir (January 2007). "Volcanic systems and calderas in the Vatnajökull region, central Iceland: Constraints on crustal structure from gravity data". Journal of Geodynamics. 43 (1): 153–169. Bibcode:2007JGeo...43..153G. doi:10.1016/j.jog.2006.09.015.
  4. Gunnar Karlsson (2000), Iceland's 1100 Years, p. 181