ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กาลิเลโอ กาลิเลอี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
กิตติพํศ
ย้อนการแก้ไขที่ 7660478 สร้างโดย 183.88.146.55 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 23:
}}
{{ใช้ปีคศ}}
'''กาลิเลโอ กาลิเลอี''' ({{lang-it|Galileo Galilei}}; [[15 กุมภาพันธ์]] [[ค.ศ. 1564]] - [[8 มกราคม]] [[ค.ศ. 1642]]) เป็นชาวทัสกันหรือชาวทัสกันหรือ[[ชาวอิตาลี]] ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งใน[[การปฏิวัติวิทยาศาสตร์]] ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของ[[กล้องโทรทรรศน์]]และผลสังเกตการณ์ทาง[[ดาราศาสตร์]]ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของ[[โคเปอร์นิคัส]]อย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่"<ref>Singer, Charles (1941), ''[http://www.google.com.au/books?id=mPIgAAAAMAAJ&pgis=1 A Short History of Science to the Nineteenth Century]'', Clarendon Press, (page 217)</ref> "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่"<ref name="manfred">Weidhorn, Manfred (2005). ''The Person of the Millennium: The Unique Impact of Galileo on World History''. iUniverse, p. 155. ISBN 0-595-36877-8.</ref> "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์"<ref name="manfred" /> และ "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่"<ref>Finocchiaro, Maurice A. (Fall 2007), "Book Review—The Person of the Millennium: The Unique Impact of Galileo on World History", ''The Historian'' '''69''' (3) : 601–602, doi:[http://dx.doi.org/10.1111%2Fj.1540-6563.2007.00189_68.x 10.1111/j.1540-6563.2007.00189_68.x]</ref>
 
การศึกษากาลิเลโอการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีความเร่งคงที่ ซึ่งสอนกันอยู่ทั่วไปในระดับมัธยมศึกษาและเป็นพื้นฐานสำคัญของวิชา[[ฟิสิกส์]]ก็เป็นผลงานของกาลิเลโอ รู้จักกันในเวลาต่อมาในฐานะวิชา[[จลนศาสตร์ดาวฤกษ์|วิทยาศาสตร์ศาสตร์]] งานศึกษาด้านดาราศาสตร์ที่สำคัญของกาลิเลโอได้แก่ การใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์คาบปรากฏของ[[ดาวศุกร์]] การค้นพบ[[ดาวบริวาร]]ของ[[ดาวพฤหัสบดี]] ซึ่งต่อมาตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่เขาว่า ''ดวงจันทร์กาลิเลียน'' รวมถึงการสังเกตการณ์และการตีความจากการพบจุดดับบน[[ดวงอาทิตย์]] กาลิเลโอยังมีผลงานด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ซึ่งช่วยพัฒนาการออกแบบ[[เข็มทิศ]]อีกด้วย
 
การที่ผลงานของกาลิเลโอสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสกลายเป็นต้นเหตุของการถกเถียงหลายต่อหลายครั้งในชีวิตของเขา เพราะแนวคิดเรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลนั้นเป็นแนวคิดหลักมานานแสนนานนับแต่ยุคของ[[อริสโตเติลอาริสโตเติล]] การเปลี่ยนแนวคิดใหม่ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดยมีข้อมูลสังเกตการณ์ทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนจากกาลิเลโอช่วยสนับสนุน ทำให้คริสตจักร[[โรมันคาทอลิก]]ต้องออกกฎให้แนวคิดเช่นนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะขัดแย้งกับการตีความตามพระคัมภีร์<ref name="sharrat" /> กาลิเลโอถูกบังคับให้ปฏิเสธ[[แนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล|ความเชื่อเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง]] และต้องใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ในบ้านกักตัวในความควบคุมของศาลศาสนาโรมัน
 
== ประวัติ ==
เกิดเมื่อวันที่ [[15 กุมภาพันธ์]] [[ค.ศ. 1564]] ที่เมือง[[ปิซา]] ประเทศ[[ประเทศอิตาลี]] เป็นบุตรคนโตในจำนวนบุตร 6 คนของ[[วินเชนโซ กาลิเลอี]] นักดนตรี[[ลูท]]ผู้มีชื่อเสียง มารดาชื่อ จูเลีย อัมมันนาตี เมื่อกาลิเลโออายุได้ 8 ขวบ ครอบครัวได้ย้ายไปตั้งรกรากที่เมือง[[ฟลอเรนซ์]] แต่กาลิเลโอต้องพำนักอยู่กับจาโกโป บอร์กีนิ เป็นเวลาสองปี<ref name="ocorner">เจ. เจ. โอ'คอนเนอร์; อี. เอฟ. โรเบิร์ตสัน. "[http://www-history.mcs.st-andrews.ac.uk/Biographies/Galileo.html Galileo Galilei]". ''The MacTutor History of Mathematics archive''. มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์, สกอตแลนด์. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-07-24.</ref> เขาเรียนหนังสือที่อารามคามัลโดเลเซ เมืองวัลลอมโบรซา ซึ่งอยู่ห่างจากฟลอเรนซ์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 34 กิโลเมตร<ref name="ocorner" /> กาลิเลโอมีความคิดจะบวชตั้งแต่ยังหนุ่ม แต่เขาก็ได้สมัครเข้าเรียนวิชา[[แพทย์]]ที่[[มหาวิทยาลัยปิซา]]ตามความต้องการของพ่อ กาลิเลโอเรียนแพทย์ไม่จบ กลับไปได้ปริญญาสาขา[[คณิตศาสตร์]]มาแทน<ref>เจมส์ เรสตัน (2000). ''Galileo: A Life''. สำนักพิมพ์เบียร์ดบุ๊คส์. ISBN 1-893122-62-X.</ref> ปี ค.ศ. 1589 เขาได้รับเลือกเป็นหัวหน้าวิชาคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปิซา เมื่อถึงปี ค.ศ. 1591 บิดาของเขาเสียชีวิต กาลิเลโอรับหน้าที่อภิบาลน้องชายคนหนึ่งคือ มีเกลัญโญโล เขาย้ายไปสอนที่มหาวิทยาลัยแพดัวในปี ค.ศ. 1592 โดยสอนวิชา[[เรขาคณิต]] [[กลศาสตร์]] และ[[ดาราศาสตร์]] จนถึงปี ค.ศ. 1610<ref name="sharrat">ไมเคิล ชาร์รัตต์ (1996), ''Galileo: Decisive Innovator''. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, เคมบริดจ์. ISBN 0-521-56671-1</ref> ในระหว่างช่วงเวลานี้ กาลิเลโอได้ทำการค้นพบที่สำคัญมากมาย ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (เช่น จลนศาสตร์การเคลื่อนที่ และดาราศาสตร์) หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (เช่น ความแข็งของวัตถุ และการพัฒนา[[กล้องโทรทรรศน์]]) ความสนใจของเขายังครอบคลุมถึงความรู้ด้าน[[โหราศาสตร์]] ซึ่งในยุคสมัยนั้นมีความสำคัญไม่แพ้คณิตศาสตร์หรือดาราศาสตร์ทีเดียว<ref>เอช. ดาร์เรล รัทคิน. "[http://www.stanford.edu/dept/HPST/colloquia0405.html Galileo, Astrology, and the Scientific Revolution: Another Look]". วิชาประวัติศาสตร์และปรัชญาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-04-15.</ref>
 
แม้กาลิเลโอจะเป็น[[ชาวคาทอลิก]]ที่เคร่งครัด<ref name="sharrat1994" /> แต่เขากลับมีลูกนอกสมรส 3 คนกับมารินา แกมบา เป็นลูกสาว 2 คนคือ เวอร์จิเนีย (เกิด ค.ศ. 1600) กับลิเวีย (เกิด ค.ศ. 1601) และลูกชาย 1 คนคือ วินเชนโซ (เกิด ค.ศ. 1606) เนื่องจากลูกสาวทั้งสองเป็นลูกนอกสมรส จึงไม่สามารถแต่งงานกับใครได้ ทางเลือกเดียวที่ดีสำหรับพวกเธอคือหนทางแห่งศาสนา เด็กหญิงทั้งสองถูกส่งตัวไปยังคอนแวนต์ที่ซานมัตตีโอ ในเมืองอาร์เชตรี และพำนักอยู่ที่นั่นจวบจนตลอดชีวิต<ref>เดวา โซเบล [1999] (2000). ''Galileo's Daughter''. ลอนดอน: โฟร์ธเอสเตท. ISBN 1-85702-712-4.</ref> เวอร์จิเนียใช้ชื่อทางศาสนาว่า มาเรีย เชเลสเต เธอเสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1634 ร่างของเธอฝังไว้กับกาลิเลโอที่สุสาน[[บาซิลิกาซานตาโครเช]] ลิเวียใช้ชื่อทางศาสนาว่า ซิสเตอร์อาร์แคนเจลา มีสุขภาพไม่ค่อยดีและป่วยกระเสาะกระแสะอยู่เสมอ ส่วนวินเชนโซได้ขึ้นทะเบียนเป็นบุตรตามกฎหมายในภายหลัง และได้แต่งงานกับเซสตีเลีย บอกกีเนรี<ref>โอ. ปีเดอร์เซน (24–27 พฤษภาคม 1984). "[http://adsabs.harvard.edu/abs/1985gamf.conf...75P Galileo's Religion]". ''Proceedings of the Cracow Conference, The Galileo affair: A meeting of faith and science'': 75-102, คราโคว์: ดอร์เดรคท์, ดี. เรย์เดล พับบลิชชิ่ง. เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-06-09.</ref>
บรรทัด 36:
ปี ค.ศ. 1610 กาลิเลโอเผยแพร่งานค้นคว้าของเขาซึ่งเป็นผลสังเกตการณ์[[ดวงจันทร์]]ของ[[ดาวพฤหัสบดี]] ด้วยผลสังเกตการณ์นี้เขาเสนอแนวคิดว่า [[ดวงอาทิตย์]]เป็นศูนย์กลางของ[[จักรวาล]] เป็นการสนับสนุนแนวคิดของ[[โคเปอร์นิคัส]] ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดดั้งเดิมของ[[ทอเลมี]]และ[[อริสโตเติล]]ที่ว่า [[โลก]]เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ปีถัดมากาลิเลโอเดินทางไปยัง[[โรม]] เพื่อสาธิตกล้องโทรทรรศน์ของเขาให้แก่เหล่านักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ที่สนใจ เพื่อให้พวกเขาได้เห็นดวงจันทร์ทั้งสี่ดวงของดาวพฤหัสบดีด้วยตาของตัวเอง<ref>คาร์ล ฟอน เกเบลอร์ (1879). ''Galileo Galilei and the Roman Curia''. ลอนดอน: ซี. เค. พอล และคณะ.</ref> ที่กรุงโรม เขาได้เข้าเป็นสมาชิกของอะคาเดเมีย ดลินเซีย (ลินเซียนอะคาเดมี) <ref>ไม่ปรากฏชื่อ (2007). "[http://www.lincei.it/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=21 History]". Accademia Nazionale dei Lincei. เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-06-10.</ref>
 
ปี ค.ศ. 1612 เกิดการต่อต้านแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ปี ค.ศ. 1614 คุณพ่อโทมาโซ คัคชินิ ประกาศขณะขึ้นเทศน์ในโบสถ์ซานตามาเรียโนเวลลา กล่าวประณามแนวคิดของกาลิเลโอที่หาว่าโลกเคลื่อนที่ ว่าเขาเป็นบุคคลอันตรายและอาจเป็นพวก[[นอกรีต]] กาลิเลโอเดินทางไปยังโรมเพื่อต่อสู้ข้อกล่าวหา แต่ในปี ค.ศ. 1616 พระคาร์ดินัล [[โรแบร์โต เบลลาร์มิโนเบลลาร์มีโน]] ได้มอบเอกสารสั่งห้ามกับกาลิเลโอเป็นการส่วนตัว มิให้เขาไปเกี่ยวข้องหรือสอนหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีดาราศาสตร์ของโคเปอร์นิคัสอีก{{fn|1}} ระหว่างปี 1621 ถึง 1622 กาลิเลโอเขียนหนังสือเล่มแรกของเขา คือ "[[อิลซัจจาโตเร]]" ({{lang-it|Il Saggiatore}}; หมายถึง ''นักวิเคราะห์'') ต่อมาได้รับอนุญาตให้พิมพ์เผยแพร่ได้ในปี ค.ศ. 1623 กาลิเลโอเดินทางกลับไปโรมอีกครั้งในปี ค.ศ. 1630 เพื่อขออนุญาตตีพิมพ์หนังสือ "Dialogue Concerning the Two Chief World Systems" (''บทสนทนาว่าด้วยโลกสองระบบ'') ต่อมาได้พิมพ์เผยแพร่ในฟลอเรนซ์ในปี 1632 อย่างไรก็ดี ในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้น เขาได้รับคำสั่งให้ไปให้การต่อหน้า[[ศาลศาสนา]]ที่กรุงโรม
 
จากเอกสารการค้นคว้าและทดลองของเขา ทำให้เขาถูกตัดสินว่าต้องสงสัยร้ายแรงในการเป็นพวกนอกรีต กาลิเลโอถูกควบคุมตัวอย่างเข้มงวด นับแต่ปี ค.ศ. 1634 เป็นต้นไป เขาต้องอยู่แต่ในบ้านชนบทที่อาร์เชตรี นอกเมืองฟลอเรนซ์ กาลิเลโอตาบอดอย่างถาวรในปี ค.ศ. 1638 ทั้งยังต้องทุกข์ทรมานจากโรค[[ไส้เลื่อน]]และ[[โรคนอนไม่หลับ]] ต่อมาเขาจึงได้รับอนุญาตให้ไปยังฟลอเรนซ์ได้เพื่อรักษาตัว เขายังคงออกต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยือนอยู่เสมอตราบจนปี ค.ศ. 1642 ซึ่งเขาเสียชีวิตด้วยอาการไข้สูงและหัวใจล้มเหลว<ref>Carney, Jo Eldridge (2000). Renaissance and Reformation, 1500-1620: a. Greenwood Publishing Group. ISBN 0-313-30574-9.</ref><ref>แมรี่ อัลลัน-โอลนีย์ (1870). ''[http://books.google.com/books?id=zWcSAAAAIAAJ The Private Life of Galileo: เรียบเรียงจากถ้อยคำของผู้คบหาสมาคมและของบุตรสาวคนโต ซิสเตอร์ มาเรีย เคเลสเท]''. บอสตัน: นิโคลส์และโนเยส. เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-06-09.</ref>
บรรทัด 259:
* [http://www.catholicleague.org/research/galileo.html "กาลิเลโอกับศาสนจักร"] บทความจากสมาพันธ์คาทอลิก catholicleague.org
 
{{birthlifetime|1564}}{{death|1642}}
 
[[หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2107]]
[[หมวดหมู่:นักฟิสิกส์ชาวอิตาลี]]
[[หมวดหมู่:นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี]]