ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ การแก้ไขแบบเห็นภาพ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ''' ({{lang-en|Asexual reproduction}}) คือการเพิ่มจำนวนของ[[สิ่งมีชีวิต]]โดยไม่มีการผสมระหว่าง[[เซลล์สืบพันธุ์]] ซึ่งการสืบพันธุ์แบบนี้จะไม่มี[[การกลายพันธุ์]]หรือสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมขึ้น ส่วนใหญ่พบในสัตว์ชั้นต่ำและเป็นการสืบพันธุ์อย่างไม่สลับซับซ้อน ข้อดีของการสืบพันธุ์แบบนี้ได้แก่ ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถเพิ่มจำนวนได้โดยไม่ต้องหาคู่ ในกรณีของสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องรอเวลาและพลังงานใน[[การสร้างเซลล์สืบพันธุ์]]และ[[การปฏิสนธิ]] เหมาะกับสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้น ๆ
 
:
 
== ประเภทของการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของสัตว์ ==
 
:* '''[[การแตกหน่อ]]''' (Budding) สิ่งมีชีวิตตัวใหม่งอกออกมาจากตัวเดิม แล้วหลุดออกมาเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ เช่น [[ไฮดรา]] [[ยีสต์]] และยังพบในพืชอีกด้วยเช่น หน่อไม้ ไผ่
* '''การแบ่งตัวออกเป็นสอง''' (Binary fission) สิ่งมีชีวิตตัวหนึ่งแบ่งเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่แบบเท่าๆกัน โดยเริ่มจากการแบ่งนิวเคลียส และตามด้วยไซโทพลาสซึม สิ่งมีชีวิตที่ใช้กระบวนการนี้ได้แก่ อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา และแบคทีเรีย
* '''การขาดออกเป็นท่อน''' (Fragmentation) ส่วนที่หลุดไปจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งพัฒนาไปเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ได้ โดย[[เซลล์]]ในส่วนที่หลุดไปนั้นเกิดรีเจนเนอเรชั่น (regeneration) กลับเป็น[[เนื้อเยื่อเจริญ]]ได้อีก ตัวอย่างเช่น [[ดาวทะเล]]
* '''การสร้างสปอร์''' (Spore formation) คือการแบ่งนิวเคลียสออกเป็นหลายๆนิวเคลียส สิ่งมีชีวิตที่ใช้กระบวนการนี้ได้แก่ เห็ด รา ยีสต์
* '''พาร์ธีโนเจนเนซิส''' (Parthenogenesis) คือการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของแมลงบางชนิด โดยสามารถวางไข่แบบไม่อาศัยการปฏิสนธิ โดยที่ตัวอ่อนที่ฝักออกมาจะเป็นตัวผู้และมียีนเพียงครึ่งเดียวทั้งหมด เช่น ตั๊กแตนกิ่งไม้ เพลี้ย ไรน้ำ ผึ้ง มด ต่อ แตน
* '''รีเจนเนอร์เรชั่น''' (Regeneration) คือการงอกใหม่ เกิดหลัง การขาดออกเป็นท่อน มี2แบบ คือ

:# ก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ เช่น พลานาเรีย ปลิง ดาวทะเล ไส้เดือนดินไส้เด [[หมวดหมู่:การสืบพันธุ์]] ือนดิน ซีแอนนีโมนี เป็นต้น
:# ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เช่น จิ้งจกงอกหาง
 
 
[[หมวดหมู่:การสืบพันธุ์]]
{{โครงชีววิทยา}}