ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 16:
เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2153 กาลิเลโอได้เขียนจดหมายซึ่งกล่าวถึงดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีเป็นครั้งแรก ซึ่งในขณะนั้นเขามองเห็นเพียงสามดวงและเขาเชื่อว่าดวงจันทร์เหล่านั้นมีตำแหน่งที่อยู่คงที่ใกล้กับดาวพฤหัสบดี เขายังได้สังเกตวงโคจรของดวงจันทร์ทั้งสามในระหว่างวันที่ 8 มกราคม ถึง 2 มีนาคม พ.ศ. 2153 ในระหว่างที่เฝ้าสังเกตดวงจันทร์ทั้งสามอยู่นั้นเขาก็ได้ค้นพบดวงจันทร์ดวงที่สี่และจากการสังเกตเขาได้ค้นพบว่าดวงจันทร์ทั้งสี่ไม่ได้อยู่คงที่แต่มันได้โคจรไปรอบๆดาวพฤหัสบดี<ref name=Galileo89/>
 
การค้นพบของกาลิเลโอได้พิสูจน์ถึงความสำคัญของกล้องโทรทรรศน์ในฐานะเครื่องมือของนักดาราศาสตร์ว่ายังมีเทหวัตถุในอวกาศที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่ารอการค้นพบอยู่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นการค้นพบว่ามีเทหฟาก[[เทห์ฟ้า]]ที่โคจรรอบสิ่งอื่นนอกจากโลกได้สั่นคลอนอย่างรุนแรงต่อ[[ระบบโลกเป็นศูนย์กลาง]]ที่ยอมรับกันในขณะนั้นซึ่งเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลและเทหฟากฟ้าอื่นๆทั้งหมดจะโคจรรอบโลก<ref>{{Cite web|url= http://galileo.rice.edu/sci/observations/jupiter_satellites.html|title=Satellites of Jupiter|accessdate=9 August 2007|work=The Galileo Project|publisher=[[มหาวิทยาลัยไรซ์]]|year=1995}}</ref> บทความของกาลิเลโอ ''Sidereus Nuncius'' (''Starry Messenger'') ซึ่งประกาศถึงการเฝ้าสังเกตฟากฟ้าผ่านกล้องโทรทรรศน์ของเขานั้นไม่ได้กล่าวยอมรับทฤษฎี[[ระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง]]ซึ่งเชื่อว่า[[ดวงอาทิตย์]]เป็นศูนย์กลางของจักรวาล แต่กาลิเลโอเองก็ยอมรับในทฤษฎีโคเปอร์นิคัส<ref name=Galileo89/> ผลจากการค้นพบครั้งนี้ กาลิเลโอสามารถพัฒนาวิธีการกำหนด[[ลองจิจูด]]ของตำแหน่งในวงโคจรของดวงจันทร์ของกาลิเลโอได้<ref>Howse, Derek. ''Greenwich Time and the Discovery of the Longitude''. Oxford: Oxford University Press, 1980, 12.</ref>
 
นักดาราศาสตร์ชาวจีน[[Xi Zezong]]ได้อ้างว่ามีการค้นพบดาวสีแดงขนาดเล็กอยู่ใกล้กับดาวพฤหัสบดีในราว 362 ปีก่อนคริสตกาลโดยนักดาราศาสตร์ชาวจีน[[Gan De]]ซึ่งคาดว่าจะเป็นแกนีมีดซึ่งเป็นเวลาราวสองพันปีก่อนการค้นพบของกาลิเลโอ<ref>Zezong, Xi, "The Discovery of Jupiter's Satellite Made by Gan De 2000 years Before Galileo", ''Chinese Physics'' 2 (3) (1982) : 664–67.</ref>