ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศอิตาลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
แทนที่เนื้อหาด้วย " หมว..."
บรรทัด 1:
{{ชื่ออื่น|ประเทศในทวีปยุโรป||อิตาลี (แก้ความกำกวม)}}
{{กล่องข้อมูล ประเทศ
| native_name = {{lang|it|Repubblica italiana}} <small>{{it icon}}</small>
| conventional_long_name = สาธารณรัฐอิตาลี
| common_name = อิตาลี
| image_flag = Flag of Italy.svg
| image_coat = Italy-Emblem.svg
| symbol_type = ตราแผ่นดิน
| image_map = EU-Italy.svg
|map_caption = - ที่ตั้งของประเทศอิตาลี (สีเขียวเข้ม) <br> - ทวีปยุโรป (สีเขียวและสีเทาเข้ม) <br> - ประเทศในกลุ่ม[[สหภาพยุโรป]] (สีเขียว)
| national_motto =
| national_anthem = ''[[Il Canto degli Italiani]]'' <small>([[ภาษาอิตาลี|อิตาลี]])</small> <br><small>"เพลงแห่งชาวอิตาลี"</small> [[ไฟล์:National anthem of Italy - U.S. Navy Band (long version).ogg|center]]
| official_languages = [[ภาษาอิตาลี]]
| capital = [[โรม]]
| latd = 41 |latm=54 |latNS=N |longd=12 |longm=29 |longEW=E
| largest_city = [[โรม]]
| government_type = [[สาธารณรัฐ]][[ประชาธิปไตย]]
| leader_title1 = [[ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอิตาลี|ประธานาธิบดี]]
| leader_title2 = [[นายกรัฐมนตรีอิตาลี|นายกรัฐมนตรี]]
| leader_name1 = [[แซร์โจ มัตตาเรลลา]]
| leader_name2 = [[ปาโอโล เจนตีโลนี]]
| area_rank = 71
| area_magnitude = 1 E11
| area_km2 = 301,338
| area_sq_mi = 116,346
| percent_water = 2.4
| population_estimate= 60,665,551<ref name="ประชากรอิตาลี">[http://demo.istat.it/bilmens2015gen/index.html จำนวนประชากรประเทศอิตาลี], จาก Statistiche demografiche ISTAT, สืบค้นวันที่ 12 ส.ค. 2559 {{it icon}}</ref>
| population_estimate_rank = 23
| population_estimate_year = 2558
|population_census = 59,570,581<ref>{{cite web|title=Census 2011 - Preliminary Results Update|url=http://www.istat.it/it/archivio/65070|publisher=Istituto Nazionale di Statistica|accessdate=24 June 2012}}</ref>
|population_census_year = 2554
|population_density_km2 = 201.8
|population_density_rank = 61
| population_density_sq_mi = 522.7
| GDP_PPP_year = 2560
| GDP_PPP = $ 2.307 ล้านล้าน
| GDP_PPP_rank =
| GDP_PPP_per_capita = $ 37,970
| GDP_PPP_per_capita_rank =
| GDP_nominal_year = 2560
| GDP_nominal = $ 1.921 ล้านล้าน
| GDP_nominal_rank =
| GDP_nominal_per_capita = $ 31,618
| GDP_nominal_per_capita_rank =
| sovereignty_type = สถาปนาเป็น
| established_event1 = [[การรวมชาติอิตาลี|การรวมชาติ]]
| established_date1 = [[17 มีนาคม]] [[ค.ศ. 1861]]
| established_event2 = สาธารณรัฐอิตาลี
| established_date2 = [[2 มิถุนายน]] [[ค.ศ. 1946]]
| Gini_year = 2557
| Gini = 34.7<ref name="GINI">{{cite web|url=https://data.worldbank.org/indicator/SI.POV.GINI?locations=IT |title=Italy|publisher=World Bank}}</ref>
| HDI_year = 2559
| HDI = {{increase}} 0.887
| HDI_rank = 26th
| HDI_category = <font color="green">สูงมาก</font>
| currency = [[ยูโร]] (€) <sup>2</sup>
| currency_code = EUR
| country_code =
| time_zone = [[เวลายุโรปกลาง|CET]]
| utc_offset = +1
| time_zone_DST = [[เวลาฤดูร้อนยุโรปกลาง|CEST]]
| utc_offset_DST = +2
| cctld = [[.it]]
| calling_code = 39
| footnotes = <small><sup>1</sup> [[ภาษาเยอรมัน]]เป็นภาษาทางการที่ 2 ของ[[แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ|แคว้นเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ]] และยังมีชนกลุ่มน้อยทางภาษาอีก 11 กลุ่ม (เช่น [[แคว้นปกครองตนเองวัลเลดอสต์|แคว้นวัลเลดอสต์]] พูด[[ภาษาฝรั่งเศส]] ที่มีการยอมรับจากรัฐธรรมนูญและกฎหมายอิตาลี<br />
<sup>2</sup> ก่อนหน้า [[พ.ศ. 2542]]: [[ลีราอิตาลี]]</small>
}}
 
'''อิตาลี''' ({{lang-en|Italy}}; {{lang-it|Italia}} ''อิตาเลีย'') มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ '''สาธารณรัฐอิตาลี''' ({{lang-en|Italian Republic}}; {{lang-it|Repubblica italiana}}) เป็นประเทศในทวีป[[ยุโรป]] บริเวณ[[ยุโรปใต้]] ตั้งอยู่ใน[[คาบสมุทรอิตาลี]]ที่มีรูปทรงคล้าย[[รองเท้าบูต]] และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ใน[[ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน]] คือ [[เกาะซิซิลี]]และ[[แคว้นปกครองตนเองซาร์ดิเนีย|เกาะซาร์ดิเนีย]] และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดย[[เทือกเขาแอลป์]] กับ[[ประเทศฝรั่งเศส]] [[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์|สวิตเซอร์แลนด์]] [[ประเทศออสเตรีย|ออสเตรีย]] และ[[ประเทศสโลวีเนีย|สโลวีเนีย]] ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของ[[สหภาพยุโรป]] เป็นสมาชิก[[องค์การสหประชาชาติ]] [[นาโต]] และกลุ่ม[[จี 8]]
 
มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ [[ประเทศซานมารีโน|ซานมารีโน]]และ[[นครรัฐวาติกัน]] เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมือง[[กัมปีโอเนดีตาเลีย]] เป็น[[ดินแดนส่วนแยก]]ของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่[[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์]]
 
== ภูมิศาสตร์ ==
[[ไฟล์:Satellite image of Italy in March 2003.jpg|thumb|left|ภาพถ่ายดาวเทียมประเทศอิตาลี]]
[[ไฟล์:Montblanc.jpg|thumb|left|[[ยอดเขามงบล็อง]] ภูเขาที่สูงที่สุดในอิตาลีและ[[ยุโรปตะวันตก]]]]
 
=== ภูมิประเทศ ===
ประเทศอิตาลีตั้งอยู่บน[[คาบสมุทรอิตาลี]] ถูกล้อมรอบด้วยทะเลในทุก ๆ ด้านยกเว้นด้านเหนือ โดยอาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับ[[ประเทศฝรั่งเศส]] [[สวิตเซอร์แลนด์]]และ[[ออสเตรีย]]อันมี[[เทือกเขาแอลป์]]กั้นแบ่ง ในเทือกเขาแห่งนี้มีภูเขาที่สูงที่สุดใน[[ยุโรปตะวันตก]] คือภูเขา[[ยอดเขามงบล็อง|มอนเตบีอังโก]] ({{lang-it|Monte Bianco}}) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศอิตาลี เทือกเขาที่สำคัญอีกแห่งของอิตาลีมีชื่อว่า [[เทือกเขาแอเพนไนน์]] ({{lang-it|Appennini}}) พาดผ่านจากตอนกลางสู่ตอนใต้ของประเทศ แม่น้ำที่ยาวที่สุดในอิตาลีคือ[[แม่น้ำโป]] (Po) และ[[แม่น้ำไทเบอร์]]ที่ไหลผ่านกรุง[[โรม]] อิตาลีมีดินแดนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำราว 25 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งประเทศ<ref name="ทั่วไปอิตาลี">[http://www.choktaweetour.com/index_info.php?ID=11 ข้อมูลท่องเที่ยวอิตาลี], จากเว็บไซด์โชคทวีทัวร์, สืบค้นวันที่ 15 ก.ค. 2552</ref> โดยที่ราบลุ่มแม่น้ำโป ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นบริเวณพื้นที่ราบที่กว้างใหญ่ที่สุด อิตาลีมีเกาะมากมาย เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ[[เกาะซิซิลี]] รองลงมาคือ[[แคว้นปกครองตนเองซาร์ดิเนีย|เกาะซาร์ดิเนีย]] ทั้งสองแห่งสามารถเดินทางได้โดยทางเรือและทางเครื่องบิน
 
ทางตอนเหนือของอิตาลีมีทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่มากมาย เช่น ทะเลสาบการ์ดา โกโม มัจโจเร และทะเลสาบอีเซโอ เนื่องจากประเทศอิตาลีถูกล้อมรอบด้วยทะเล ดังนั้นจึงมีชายฝั่งทะเลยาวหลายพันกิโลเมตร ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก และนักท่องเที่ยวก็นิยมเที่ยวสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของอิตาลีอีกด้วย ประเทศอิตาลีมี[[ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ]]มากอันดับหนึ่งของโลก เมืองหลวงของประเทศอิตาลีคือกรุง[[โรม]] และเมืองสำคัญอื่น ๆ เช่นเมือง[[มิลาน]] [[ตูริน]] [[ฟลอเรนซ์]] [[เนเปิลส์]] และ[[เวนิส]] และภายในประเทศอิตาลียังมีประเทศแทรกอยู่ 2 ประเทศ ได้แก่ [[ประเทศซานมารีโน]]และ[[นครรัฐวาติกัน]]
 
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของประเทศ คือ [[ปรอท]] [[โพแทช]] ([[โพแทสเซียม]]คาร์บอเนต) [[หินอ่อน]] [[กำมะถัน]] [[แก๊สธรรมชาติ]] [[ปิโตรเลียม|น้ำมันดิบ]] [[ปลา]]และ[[ถ่านหิน]]<ref name="ศูนย์แนะแนว">[http://www.mceducate.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5347871&Ntype=1 ระบบเศรษฐกิจ], จากศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ, สืบค้นวันที่ 18 ก.ค. 2552</ref>
 
อิตาลีมีปัญหาด้านสภาพแวดล้อม เช่น มลภาวะเป็นพิษจากอุตสาหกรรมและการสันดาป ชายฝั่งแม่น้ำเน่าเสียจากอุตสาหกรรม และสารตกค้างจากการเกษตร [[ฝนกรด]] การขาดการดูแลบำบัดของเสียจากอุตสาหกรรมอย่างเพียงพอ และปัญหาด้านภัยธรรมชาติ เช่น [[แผ่นดินไหว]] ดินและโคลนถล่ม [[ภูเขาไฟ]]ระเบิด [[น้ำท่วม]] รวมถึงปัญหาแผ่นดินทรุดตัวในเวนิส<ref name="ศูนย์แนะแนว"/>
 
=== ภูมิอากาศ ===
ประเทศอิตาลีมีลักษณะอากาศหลากหลายแบบ และอาจมีความแตกต่างจากภูมิอากาศแบบ[[บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน|เมดิเตอร์เรเนียน]]ตามลักษณะพื้นที่ตั้ง พื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของประเทศ เช่นเมือง[[ตูริน]] [[มิลาน]] และ[[โบโลญญา]] มีลักษณะแบบอากาศภาคพื้นทวีปที่ค่อนข้างร้อนชึ้น ([[การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน]]: Cfa) พื้นที่ชายฝั่งติดกับทะเลของ[[แคว้นลิกูเรีย]]และส่วนใหญ่ของ[[คาบสมุทรอิตาลี|คาบสมุทร]]ที่อยู่ใต้ลงไปจาก[[ฟีเรนเซ|ฟลอเรนซ์]]เป็นภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน: Csa) คือมีอากาศอบอุ่นตลอดทั้งปี โดยมีลมจาก[[แอฟริกา]]พัดเอาความร้อนและความชี้นเข้ามา<ref name="ทั่วไปอิตาลี" /> พื้นที่ชายฝั่งของคาบสมุทรอิตาลีสามารถมีความแตกต่างกันได้มากจากระดับความสูงของภูเขาและหุบเขา โดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูหนาวในที่สูงก็จะมีอากาศหนาว ชื้น และมักจะมี[[หิมะ]]ตก ภูมิภาคริมทะเลมีอากาศไม่รุนแรงในฤดูหนาว อากาศอุ่นและมักจะแห้งในฤดูร้อน และพื้นที่ต่ำกลางหุบเขามีอากาศค่อนข้างร้อนในฤดูร้อน
 
ประเทศอิตาลีมีฤดู 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง โดยฤดูหนาวจะมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 0 [[องศาเซลเซียส|°C]] (32 [[องศาฟาเรนไฮต์|°F]]) บนเทือกเขาแอลป์ ถึง 12&nbsp;°C (54&nbsp;°F) บนเกาะซิซิลี และในฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 20&nbsp;°C (68&nbsp;°F) ถึง 30&nbsp;°C (86&nbsp;°F) และอาจสูงกว่านี้ได้ในบางช่วง<ref>{{cite web|title=Climate Atlas of Italy|url=http://clima.meteoam.it/atlanteClimatico.php?ling=eng|publisher=Network of the Air Force Meteorological Service|accessdate=}}</ref>
 
== ประวัติศาสตร์ ==
{{บทความหลัก|ประวัติศาสตร์อิตาลี}}
=== ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคจักรวรรดิโรมัน ===
[[ไฟล์:Colosseum in Rome-April 2007-1- copie 2B.jpg|thumb|left|สนามกีฬา[[โคลอสเซียม]] สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในกรุง[[โรม]]]]
 
[[คาบสมุทรอิตาลี]]มีมนุษย์อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่า ดินแดนลุ่มแม่น้ำไทเบอร์เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์[[นีแอนเดอร์ทัล]]ตั้งแต่เมื่อประมาณ 5 หมื่นปีที่แล้ว และด้วยอิตาลีนั้นตั้งอยู่บนคาบสมุทรใน[[ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน]]ซึ่งมีอารยธรรมโบราณกล่าวคือ อารยธรรม[[มิโนอัน]]และ[[ไมซีเนียน]] อารยธรรมที่เกี่ยวพันกับอารยธรรม[[กรีกโบราณ]] อิตาลีเป็นประเทศที่มีอารยธรรมมาช้านานและแผ่ขยายดินแดนอื่น ๆ ในทวีปยุโรป
 
ในช่วง 1,600 ปีก่อนคริต์ศักราช พวก[[อารยธรรมอีทรัสคัน|อีทรัสคัน]] จากเอเชียไมเนอร์ก็ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เป็นแคว้นทัสกานีในปัจจุบัน พร้อมกับนำอารยธรรมกรีกเข้ามาเผยแพร่ ส่วน[[กรีซโบราณ|พวกกรีก]]เองก็ได้เดินทางมาตั้งอาณานิคมชื่อว่า ''“แมกนากราเซีย”'' ({{lang-it|Magna Graecia}}) ในตอนใต้ของอิตาลีใน 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณตั้งแต่เมือง[[เนเปิลส์]]จนถึงเกาะซิซิลี
 
ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช พวกอีทรัสคันได้มีอำนาจปกครองดินแดนตั้งแต่บริเวณชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรอิตาลีตั้งแต่หุบเขาโป จนถึงบริเวณเมืองนาโปลี และดินแดนรอบ ๆ กรุงโรม ขณะเดียวกันชนเผ่าอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีก็รวมตัวกันจัดตั้งเป็น[[นครรัฐ]]ขึ้น เพื่อต่อต้านการขยายตัวและอำนาจของพวกอีทรัสคันและกรีก ชนเผ่าที่สำคัญในการต่อต้านอำนาจเหล่านี้ได้แก่พวกละติน หรือโรมัน ซึ่งเมื่อถึง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกละตินก็ได้มีอำนาจเหนือดินแดนอิตาลี เกาะซาร์ดิเนียและซิซิลี ทั้งหมดแล้ว
 
ใน 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช โรมได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นระบอบ[[จักรวรรดิ]] โดยมี[[ออกุสตุส ซีซาร์|จักรพรรดิออกเตเวียน]] เป็นจักรพรรดิพระองค์แรก นครหลวงแห่งนี้ได้เจริญถึงขีดสุดและสามารถขยายอำนาจปกครองอิทธิพลไปทั่วทั้งยุโรป และบริเวณรายรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของการค้าและความเจริญในด้านวัฒนธรรมและศิลปวิทยาการแขนงต่างๆ แทนอารยธรรมกรีกที่เสื่อมถอยลง ระหว่างปี [[ค.ศ. 96]] – [[ค.ศ. 180|180]] เป็นช่วงระยะเวลาแห่งความเจริญรุ่งเรืองของจักรพรรดิที่ปกครอง 5 พระองค์ แต่หลังจากนั้น โรมต้องประสบปัญหาทั้งในทุก ๆ ด้าน รวมไปถึงการรุกรานของพวกอนารยชน รวมทั้งการเสื่อมโทรมทางศีลธรรมจรรยา ใน [[ค.ศ. 312]] [[จักรพรรดิคอนสแตนติน]]ทรงยอมรับ[[คริสต์ศาสนา]]เป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งมีผลให้คริสต์ศาสนามีโอกาสได้เผยแพร่ไปทั่วดินแดนที่อยู่ใต้อาณัติของโรม และทรงแบ่งจักรวรรดิโรมันออกเป็นสองส่วน คือ [[จักรวรรดิโรมันตะวันตก]] และ[[จักรวรรดิไบแซนไทน์]]
 
ในคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันตะวันตกและกรุงโรมได้ถูกพวกอนารยชนชาวเยอรมันเข้าปล้นสะดม ซึ่งต่อมาในปี [[ค.ศ. 476]] จักรพรรดิโรมันพระองค์สุดท้ายก็ถูกพวกอนารยชนขับออกจากบัลลังก์ คาบสมุทรอิตาลีถูกแบ่งออกเป็นนครรัฐทั้งหลายซึ่งมีอิสระต่อกันกว่า 14 รัฐ
 
=== ยุคกลาง ===
[[ไฟล์:Italy 1494 AD.png|thumb|แผ่นดินอิตาลีใน[[ยุคกลาง]]ตอนต้น]]
ในช่วงต้นของ[[ยุคกลาง]] ดินแดนต่าง ๆ ในยุโรปได้ตกอยู่ในสภาวะระส่ำระสายที่บ้านเมืองขาดผู้นำ ระบบการเมือง เศรษฐกิจและสังคมถูกทำลาย แต่ในขณะเดียวกันบิชอบแห่งโรม ก็ได้สามารถสถาปนาอำนาจสูงสุดใน[[คริสตจักร]]ซึ่งต่อมาคือ''“[[สันตะปาปา]]”'' และสามารถจัดตั้ง[[รัฐสันตะปาปา]] อีกทั้งยังเป็นผู้สืบทอด[[โรมันโบราณ|อารยธรรมโรมัน]]ที่ยังหลงเหลือให้คงอยู่ต่อไป อย่างไรก็ดี แม้นครรัฐต่าง ๆ ในคาบสมุทรอิตาลีจะขาดเอกภาพทางการเมือง แต่นครรัฐเหล่านั้นยังเป็นศูนย์กลางของความเจริญมั่งคั่งและการฟื้นตัวของศิลปะและวัฒนธรรมของยุโรป
 
ในกลางคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 14 อิตาลีได้ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของอารยธรรมกรีกและโรมัน โดยเรียกว่า [[ยุคเรอเนซองส์]] และเป็นผู้นำของลัทธิมนุษยนิยม ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปยังตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบ[[ศักดินา]] แต่เมื่อเข้าปลายคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 15 อิตาลีได้ตกเป็นสมรภูมิแย่งชิงอำนาจระหว่างฝรั่งเศส สเปน และออสเตรีย กล่าวคือ เมื่อปี ค.ศ. 1494 [[พระเจ้าชาร์ลที่ 8 แห่งฝรั่งเศส]]ได้เปิดการโจมตีคาบสมุทร ซึ่งได้ดำเนินเรื่อยมาถึงกลางคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 16 และการโจมตีเพื่อแย่งการเป็นเจ้า ระหว่างฝรั่งเศสและสเปน
 
=== ราชอาณาจักรอิตาลี (ค.ศ. 1861-1946) ===
{{บทความหลัก|ราชอาณาจักรอิตาลี (ค.ศ. 1861-1946)}}
[[ไฟล์:Benito Mussolini and Adolf Hitler.jpg|thumb|160px|right|[[เบนิโต มุสโสลินี]] (ซ้าย) กับ[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] (ขวา) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2]]
ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการชุมนุมของขบวนการ[[ชาตินิยม]] เพื่อต้องการรวมอิตาลีจนเป็นผลสำเร็จ โดยการนำของ[[พระเจ้าวิคเตอร์เอ็มมานูเอลที่ 2 แห่งอิตาลี|พระเจ้าวิคเตอร์เอมมานูเอลที่ 2]] นับแต่นั้นมา อิตาลีจึงอยู่ภายใต้การปกครอง[[ราชาธิปไตย|ระบอบกษัตริย์]] เรื่อยมาจนกระทั่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในอิตาลี เมื่อมีการประกาศยกเลิกความเป็นพันธมิตรกับ[[จักรวรรดิเยอรมัน|เยอรมนี]]และ[[จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี]] และเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] จนได้รับสมญานามว่าเป็น 1 ใน 4 มหาอำนาจ (The Big Four) ต่อมาสงครามได้ยุติลงด้วยชัยชนะของสัมพันธมิตร อิตาลีจึงได้ดินแดนบางส่วนของ[[ออสเตรีย]]มาครอบครอง
 
ต่อมาในปี [[ค.ศ. 1922]] ระบบเผด็จการ[[ฟาสซิสต์]] ถูกนำมาใช้ในประเทศอิตาลีกว่า 20 ปี โดยการนำของ[[เบนิโต มุสโสลินี]] ถึงแม้ว่าจะมีกษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ก็เป็นเพียงในนามเท่านั้น จนกระทั่งเข้าสู่[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] อิตาลีเข้าร่วมกับ[[ฝ่ายอักษะ]] [[การรุกรานเกาะซิซิลีของฝ่ายสัมพันธมิตร|เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรยึดเกาะซิซิลี]]ได้ มุสโสลินีจึงถูกปลดออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้ง[[ปีเอโตร บาโดลโย]] ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน และประกาศสงครามกับ[[นาซีเยอรมนี]] จนได้รับชัยชนะ โดยมุสโสลินีถูกกลุ่มต่อต้านฟาสซิสต์จับกุม และถูก[[ประหารชีวิต]]ด้วยการ[[ยิงเป้า]]ในข้อหาทรยศต่อชาติที่เมือง[[มิลาน]]<ref name="ประวัติ">[http://www.pakxe.com/home/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=396 ประวัติประเทศอิตาลี], จากเว็บไซด์ปากเซ ดอตคอม, สืบค้นวันที่ 19 ก.ค. 2552</ref>
 
=== สาธารณรัฐอิตาลี ===
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สิ้นสุดลง อิตาลียังคงมี[[พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี|พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3]] เป็นประมุขอยู่ ต่อมาพระองค์สละราชสมบัติให้กับ[[พระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลี|พระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2]] ขึ้นครองราชย์แทน แต่ครองราชย์ได้เพียง 1 เดือนเท่านั้น ประชาชนต่างลงประชามติให้อิตาลีเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบกษัตริย์มาเป็นระบบสาธารณรัฐใน[[ระบอบประชาธิปไตย]] เมื่อวันที่ [[2 มิถุนายน]] [[ค.ศ. 1946]] โดยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในปี [[ค.ศ. 1948]] จนถึงปัจจุบัน<ref name="ประวัติ" />
 
== การเมืองการปกครอง ==
การปกครองของประเทศอิตาลีเป็นรูปแบบ[[สาธารณรัฐประชาธิปไตย]] มี[[รัฐสภา]] และใช้[[ระบบพรรคผสม]] รัฐสภาของอิตาลีประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ผู้แทนของทั้งสองสภาดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี<ref name="กระทรวงต่างประเทศ">[http://www.mfa.go.th/web/382.php การปกครอง การศึกษาและเทศกาล], จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ, สืบค้นวันที่ 15 ก.ค. 2552</ref> รัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ส่วน[[อำนาจนิติบัญญัติ]]ควบคุมโดย[[สภานิติบัญญัติ]]สองสภา ประเทศอิตาลีใช้รูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยมาตั้งแต่วันที่ [[2 มิถุนายน]] [[ค.ศ. 1946]] หลังจากการล้มล้างระบอบ[[ราชาธิปไตย]]โดย[[การออกเสียงประชามติ|การลงประชามติ]]ของประชาชน มี[[รัฐธรรมนูญ]]ฉบับแรกประกาศใช้เมื่อ [[1 มกราคม]] [[ค.ศ. 1948]]
 
=== บริหาร ===
{{บทความหลัก|รัฐบาลอิตาลี}}
 
=== นิติบัญญัติ ===
{{บทความหลัก|รัฐสภาอิตาลี}}
รัฐสภาอิตาลีประกอบด้วย 2 สภา คือ [[สภาผู้แทนราษฎร]]และ[[วุฒิสภา]] ประธานรัฐสภา คือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร การบัญญัติกฎหมายใดๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้ง 2 สภา วาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกทั้ง 2 สภาคือ 5 ปี และการเลือกตั้งจะทำพร้อมกันทั้ง 2 สภา โดยจะมีขึ้นทุก ๆ 5 ปี หรือเร็วกว่านั้นหากประธานาธิบดีไม่อาจสรรหานายกรัฐมนตรีที่สามารถจัดตั้ง คณะรัฐบาลให้ทั้ง 2 สภาให้ความเห็นชอบได้ การเลือกตั้งครั้งสุดท้ายคือเมื่อวันที่ [[9 เมษายน|9]] - [[10 เมษายน]] [[พ.ศ. 2549]] (มีการเลือกตั้ง 2 วันโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คนมาลงคะแนนมากขึ้น) ''สภาผู้แทนราษฎร'' ({{lang-it|Camera dei Deputati}}) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 630 คน โดย 475 คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอีก 155 คนมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจากแคว้นต่างๆ ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งจะต้องมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ''วุฒิสภา'' ({{lang-it|Senato della Repubblica}}) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 326 คน โดย 315 คนมาจากการเลือกตั้งทั่วไป จากแคว้น ต่างๆ ทั่วประเทศ และมีสมาชิกวุฒิสภาตลอดชีพอีกจำนวนหนึ่ง (ปัจจุบันมี 7 คน) ซึ่งจะแต่งตั้งจากบุคคลชั้นนำของสังคม<ref name="ต่างประเทศ">[http://www.mfa.go.th/web/479.php?id=131 การปกครองและความสัมพันธ์กับประเทศไทย], จากกระทรวงการต่างประเทศ, สืบค้นวันที่ 18 ก.ค. 2552</ref>
 
=== ตุลาการ ===
{{บทความหลัก|กฎหมายอิตาลี}}
 
=== สิทธิมนุษยชน ===
{{โครง-ส่วน}}
 
=== นโยบายต่างประเทศ ===
==== ความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป ====
{{โครง-ส่วน}}
 
==== ความสัมพันธ์กับประเทศไทย ====
{{กล่องข้อมูล ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ|อิตาลี – ไทย|อิตาลี|ไทย|map=Italy Thailand Locator.png}}
; ด้านการทูต
ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิตาลีมา ตั้งแต่วันที่ [[3 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2411]] (ค.ศ. 1868) โดยไทยและอิตาลีได้ลงนามสนธิสัญญาฉบับแรกคือ สนธิสัญญาว่าด้วยมิตรภาพ การพาณิชย์ และการเดินเรือ (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation) ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1868 ต่อมาอิตาลีได้แต่งตั้งกงสุลอิตาลีประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ [[22 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2429]]555
 
ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-อิตาลีโดยทั่วไปดำเนินไปอย่างราบรื่น ทั้งสองฝ่ายไม่มีปัญหาขัดแย้งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน นอกจากนั้น ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งในระดับพระราชวงศ์ บุคคลสำคัญ และเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ
 
ไทยมีสถานเอกอัครราชทูตไทยประเทศอิตาลีที่กรุง[[โรม]] และมีสถานกงสุลใหญ่ประจำประเทศไทย 5 แห่ง คือ ที่เมือง[[ตูริน]] [[เจโนวา]] [[มิลาน]] [[นาโปลี]] และ[[คาตาเนีย]]<ref name="ต่างประเทศ"/> และที่มีสถานเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทยที่[[กรุงเทพ]]
 
; การค้าและเศรษฐกิจ
ในปี [[พ.ศ. 2549]] ประเทศอิตาลีเป็นคู่ค้าของไทยอันดับที่ 4 ใน[[สหภาพยุโรป]] และอันดับที่ 21 ในโลก โดยมีมูลค่าการค้ารวม 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 9.2 ของการค้ารวมของไทย เพิ่มขึ้นจากปี [[พ.ศ. 2548]] ร้อยละ 0.24 โดยไทยส่งออก 1.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 1.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการลงทุน ในปี พ.ศ. 2549 การลงทุนของอิตาลีในไทย มีมูลค่ารวม 481.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 จากปี พ.ศ. 2548 โดยเป็นด้านแร่ธาตุและเซรามิค 1 โครงการ อุตสาหกรรมเบาและเส้นใย 2 โครงการ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร 3 โครงการ ด้านเคมีภัณฑ์และกระดาษ 1 โครงการและด้านบริการ 2 โครงการ
 
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ [[เครื่องปรับอากาศ]]และส่วนประกอบ [[รถยนต์]]และส่วนประกอบ [[ยางพารา]] [[ปลาหมึก]]สดแช่เย็น [[เหล็ก]] เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ อัญมณีและเครื่องประดับ ผ้าผืน เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ [[โทรศัพท์]] เป็นต้น
 
สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตภัณฑ์[[พลาสติก]] เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ การทดสอบ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เป็นต้น<ref name="ต่างประเทศ"/>
 
; การท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวอิตาลีมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทยประมาณ 130,000 คนต่อปี โดยมีจำนวนมากน้อยตามสภาวะเศรษฐกิจของอิตาลีและยุโรป ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยไปอิตาลีปีละประมาณ 12,350 คน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี และสายการบินไทยมีเส้นทางการบินจากกรุงเทพสู่มิลาน สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน จากเดิมมีเพียงการบินจากโรมเข้าสู่กรุงเทพทั้งสิ้น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์<ref name="ต่างประเทศ"/>
 
=== กองทัพ ===
{{บทความหลัก|กองทัพอิตาลี|การทหารของอิตาลี (แก้ความกำกวม)}}
 
=== การแบ่งเขตการปกครอง ===
การปกครองส่วนท้องถิ่น อิตาลีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 แคว้น แบ่งเป็นแคว้น 15 แคว้น และแคว้นปกครองตนเอง 5 แคว้น โดยในแต่ละแคว้นจะมีองค์กรการปกครองหลักอยู่ 3 องค์กร คือ<ref name="ต่างประเทศ"/>
* คณะมนตรีแคว้น (Regional Council) ทำหน้าที่ตรากฎหมายและระเบียบข้อบังคับในเขตอำนาจ
* คณะมนตรีกรรมการ (The Junta) ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร
* ประธานคณะกรรมการ (The President of the Junta) ทำหน้าที่คล้ายนายกรัฐมนตรีในเขตอำนาจ แต่ทั้งนี้ ก็จะมีผู้แทนของรัฐบาลคนหนึ่งอยู่ประจำ ณ นครหลวงของแคว้นนั้น ๆ คอยควบคุมดูแลการบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นและทำหน้าที่ประสานงานระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นกับรัฐบาลกลาง
 
สาธารณรัฐอิตาลีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 แคว้นหรือ ''เรโจนี ({{lang-it|Regioni}}) '' และ 5 แคว้นปกครองตนเอง หรือ ''เรโจนีเอาโตโนเม ({{lang-it|Regioni autonome}}) '' และแต่ละแคว้นก็จะแบ่งการปกครองออกเป็น''จังหวัด ({{lang-it|Province}}) '' และแต่ละจังหวัดก็จะแบ่งออกเป็นเทศบาลหรือ ''โกมูนี ({{lang-it|Comuni}}) ''
{{แผนที่ประเทศอิตาลี|float=left}}
 
'' (ตัวหนังสือเอียง หมายถึง เป็นแคว้นปกครองตนเอง) ''
 
{| class="toccolours" align="center" width="50%" style="margin-right:10px;"
|- bgcolor="98FB98"
!align=center|#
!align=center|แคว้น
!align=center|เมืองหลวง
!align=center|พื้นที่ <br /> (ตร.กม.)
!align=center|ประชากร<br /><ref name="ประชากรอิตาลี" />
|-
|1
|[[แคว้นอาบรุซโซ|อาบรุซโซ]]<br /><small> Abruzzo
|[[ลากวีลา]] <br /> <small> L'Aquila
|10,794
|1,334,675
|-
|2
|[[แคว้นบาซีลีกาตา|บาซีลีกาตา]]<br /><small> Basilicata
|[[โปเตนซา]] <br /> <small> Potenza
|9,992
|590,601
|-
|3
|[[แคว้นกาลาเบรีย|กาลาเบรีย]]<br /> <small> Calabria
|[[กาตันซาโร]] <br /> <small> Catanzaro
|15,080
|2,008,709
|-
|4
|[[แคว้นกัมปาเนีย|กัมปาเนีย]] <br /> <small> Campania
|[[เนเปิลส์]] (นาโปลี) <br /> <small> Naples (Napoli)
|13,595
|5,812,962
|-
|5
|[[แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา|เอมีเลีย-โรมัญญา]] <br /> <small> Emilia-Romagna
|[[โบโลญญา]] <br /> <small> Bologna
|22,124
|4,337,979
|-
|6
|''[[แคว้นปกครองตนเองฟรีอูลี-เวเนเซียจูเลีย|ฟรีอูลี-เวเนเซียจูเลีย]]'' <br /> <small> Friuli-Venezia Giulia
|[[ตรีเอสเต]] <br /> <small> Trieste
|7,855
|1,230,936
|-
|7
|[[แคว้นลาซีโอ|ลาซีโอ]] <br /> <small> Lazio
|[[โรม]] (โรมา) <br /> <small> Rome (Roma)
|17,207
|5,626,710
|-
|8
|[[แคว้นลิกูเรีย|ลิกูเรีย]] <br /> <small> Liguria
|[[เจนัว]] (เจโนวา) <br /> <small> Genoa (Genova)
|5,421
|1,615,064
|-
|9
|[[แคว้นลอมบาร์ดี|ลอมบาร์ดี]] (ลอมบาร์เดีย)<br /> <small> Lombardy (Lombardia)
|[[มิลาน]] (มีลาโน) <br /> <small> Milan (Milano)
|23,861
|9,742,676
|-
|10
|[[แคว้นมาร์เก|มาร์เก]] <br /> <small> Marche
|[[อังโกนา]] <br /> <small> Ancona
|9,694
|1,569,578
|-
|11
|[[แคว้นโมลีเซ|โมลีเซ]] <br /> <small> Molise
|[[กัมโปบัสโซ]] <br /> <small> Campobasso
|4,438
|320,795
|-
|12
|[[แคว้นปีเอมอนเต|ปีเอมอนเต]] <br /> <small> Piemonte
|[[ตูริน]] (โตรีโน) <br /> <small> Turin (Torino)
|25,399
|4,432,571
|-
|13
|[[แคว้นปูลยา|ปูลยา]] <br /> <small> Puglia
|[[บารี]] <br /> <small> Bari
|19,362
|4,079,702
|-
|14
|''[[แคว้นปกครองตนเองซาร์ดิเนีย|ซาร์ดิเนีย]]'' (ซาร์เดญญา)<br /> <small> Sardinia (Sardegna)
|[[กาลยารี]] <br /> <small> Cagliari
|24,090
|1,671,001
|-
|15
|''[[แคว้นปกครองตนเองวัลเลดาออสตา|วัลเลดาออสตา]]'' (วาเลโดสต์)<br /> <small> Valle d'Aosta (Vallée d'Aoste)
|[[อาออสตา]] <br /> <small> Aosta
|3,263
|4,337,979
|-
|16
|[[แคว้นทัสกานี|ทัสกานี]] (ตอสกานา)<br /> <small> Tuscany (Toscana)
|[[ฟลอเรนซ์]] (ฟีเรนเซ) <br /> <small> Florence (Firenze)
|22,997
|3,707,818
|-
|17
|''[[แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ|เตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ]]'' <br /> <small> Trentino-Alto Adige
|[[เตรนโต]] <br /> <small> Trento
|13,607
|1,018,657
|-
|18
|[[แคว้นอุมเบรีย|อุมเบรีย]] <br /> <small> Umbria
|[[เปรูจา]] <br /> <small> Perugia
|8,456
|894,222
|-
|19
|''[[แคว้นปกครองตนเองซิซิลี|ซิซิลี]]'' (ซีชีเลีย)<br /> <small> Sicily (Sicilia)
|[[ปาแลร์โม]] <br /> <small> Palermo
|25,708
|5,037,799
|-
|20
|[[แคว้นเวเนโต|เวเนโต]] <br /> <small> Veneto
|[[เวนิส]] (เวเนเซีย) <br /> <small> Venice (Venezia)
|18,391
|4,885,548
|}
 
=== เมืองสำคัญ ===
{{เมืองใหญ่สุดในประเทศอิตาลี}}
 
== เศรษฐกิจ ==
=== เกษตรกรรม ===
{{โครง-ส่วน}}
ในช่วงหลังของทศวรรษ 1980 เศรษฐกิจของอิตาลีจัดอยู่ในเกณฑ์ดี แต่เริ่มประสบปัญหาใน[[ทศวรรษ]]ต่อมา ทำให้รัฐบาลไม่สามารถควบคุมปัญหาการขาดดุลสาธารณะได้ เดิมอิตาลีเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่หลังจากปี [[ค.ศ. 1945]] ได้เริ่มพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจนกระทั่งปัจจุบันมีประชากรเพียงร้อยละ 7 อยู่ในภาคการเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้และมีฐานะยากจนกว่าทางภาคเหนือและกลาง พืชหลักที่เพาะปลูก ได้แก่ [[ต้นบีต]] [[ข้าวสาลี]] [[ข้าวโพด]] [[มันเทศ]]และ[[องุ่น]] (อิตาลีใช้องุ่นทำไวน์และเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกด้วย)<ref name="ศูนย์แนะแนว"/>
 
ประเทศอิตาลีมีพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่การ[[เกษตรกรรม]] และมีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก แม้จะมี[[ก๊าซธรรมชาติ]]อยู่บ้าง จึงเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าอาหาร และพลังงาน อิตาลีเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเกษตรกรรม เป็นอุตสาหกรรมแบบพื้นฐาน และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของโลก โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงไล่เลี่ยกับ[[อังกฤษ]]และ[[ฝรั่งเศส]] อิตาลีมีจุดแข็งในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
 
ประเทศอิตาลีเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศแรกทั้งหมด 11 ประเทศที่เข้าร่วมใน[[สหภาพยุโรป]]ในปี [[ค.ศ. 2002]] และอิตาลีก็ได้เปลี่ยน[[สกุลเงิน]]มาเป็น[[ยูโร]] ซึ่งก่อนหน้านั้นอิตาลีใช้สกุลเงิน[[ลีร์]] (ตั้งแต่ปี [[ค.ศ. 1881]])
 
=== อุตสาหกรรม ===
[[ไฟล์:Fiat-new-500-front.jpg|thumb|left|รถยนต์เฟียท 500 (Fiat 500) รุ่นใหม่ที่ผลิตขึ้นในเมือง[[โตริโน]] [[แคว้นปีเอมอนเต]]]]
[[ไฟล์:Ferrari 458 Italia -- 05-18-2011.jpg|thumb|left|[[เฟอร์รารี 458 อิตาเลีย]]]]
อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศมี [[รถยนต์]] บริษัทรถยนต์ที่รู้จักกันดี เช่น [[อัลฟาโรเมโอ]] [[เฟียต]] [[เฟอร์รารี่]] [[ลัมโบร์กีนี]] (ปัจจุบันอยู่ในเครือ[[โฟล์กสวาเกน]]) และ [[มาเซราติ]] นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า เครื่องเรือน อุตสาหกรรมทอผ้า เสื้อผ้า [[แฟชั่น]] และการท่องเที่ยว อิตาลีเป็นสมาชิกกลุ่ม[[จี 8]] และเข้าร่วม[[สหภาพการเงินของสหภาพยุโรป]] (EMU) เมื่อเดือนพฤษภาคม [[ค.ศ. 1998]] แม้ระบบเศรษฐกิจของอิตาลีเป็นระบบทุนนิยม ที่ภาคเอกชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเสรี แต่รัฐบาลยังคงเข้ามามีบทบาทควบคุมกิจกรรมที่สำคัญ เช่น สาธารณูปโภค อุตสาหกรรมพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งได้ก่อประโยชน์ให้แก่ภาครัฐบาลในการสร้างฐานอำนาจ และแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะลดบทบาทของพรรคการเมือง โดยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการ แต่อิตาลียังมีปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศหลายอย่าง เช่น การขาดดุลงบประมาณในระดับสูง การว่างงาน การขาดแคลนทรัพยากรพลังงานในประเทศ และระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างอิตาลีตอนเหนือ ([[แคว้นลอมบาร์ดี]] [[เอมีเลีย-โรมัญญา]] และ[[ทัสกานี]]) ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและการค้า และมีกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs อยู่หนาแน่น กับอิตาลีตอนกลางและตอนล่าง รวมทั้ง[[เกาะซิซิลี]]และ[[แคว้นปกครองตนเองซาร์ดิเนีย|เกาะซาร์ดิเนีย]] ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม บริเวณที่พัฒนาน้อยกว่านี้มีพื้นที่ประมาณ 40% ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยพื้นที่นี้มีประชากรอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 35 ของประชากรทั้งประเทศ และมีอัตราการว่างงานสูงถึงกว่าร้อยละ 20 <ref>[http://www.toursooksun.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=8&Id=449288 เศรษฐกิจอิตาลี], จากเว็บไซด์ทัวร์แฮปปี้ ทริปส์, สืบค้นวันที่ 15 ก.ค. 2552</ref>
 
=== การท่องเที่ยว ===
{{บทความหลัก|การท่องเที่ยวในประเทศอิตาลี}}
{{โครง-ส่วน}}
 
== โครงสร้างพื้นฐาน ==
=== ทรัพยากร ===
ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 อิตาลีเป็นประเทศที่มีทรัพยากรมากที่สุดและยังมีทรัพยากรจากแหล่งอาณานิคม ทรัพยากรของอิตาลีมี [[เหล็ก]] [[ทองแดง]] [[กำมะถัน]]พบมากใน[[ซาร์ดิเนีย]]ทางตอนใต้ของอิตาลีมี[[ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ]]จำนวนมาก อิตาลียังมี[[ถ่านหิน]] [[ดีบุก]]ส่วน[[เกาะซิซิลี]]ของอิตาลีมี[[ก๊าซธรรมชาติ]]มาก [[แคว้นปกครองตนเองซาร์ดิเนีย|เกาะซาร์ดิเนีย]]มี[[บีต]]และโรงงานทำ[[น้ำตาล]]ซึ่งใหญ่ที่สุดใน[[ยุโรป]]{{อ้างอิง}} (น้ำตาลในยุโรปส่วนใหญ่มาจากอิตาลี) อิตาลีปลูก[[กาแฟ]]มากที่สุดในยุโรป{{อ้างอิง}} เป็นที่มาของ[[คาปูชิโน]]และ[[เอสเปรสโซ]]ทั้งสองมีต้นกำเนิดที่อิตาลี ทางตอนเหนือของอิตาลีนิยมปลูกองุ่นที่ใช้ทำ[[ไวน์]] อิตาลีเป็นประเทศที่ค้าไวน์รายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก
 
=== คมนาคม และ โทรคมนาคม ===
==== การคมนาคม ====
ประเทศอิตาลีมีถนนความยาวทั้งหมด 487,700 กิโลเมตร เชื่อมต่อ 13 ประเทศรอบอิตาลี มีสนามบินทั้งหมด 132 แห่ง โดยที่เป็นศูนย์กลางการบิน 2 แห่ง คือ [[ท่าอากาศยานนานาชาติเลโอนาร์โด ดา วินชี|สนามบินนานาชาติเลโอนาร์โด ดา วินชี]] ในกรุง[[โรม]] และ[[ท่าอากาศยานนานาชาติมัลเปนซา|สนามบินนานาชาติมัลเปนซา]] ใน[[มิลาน]] มีสายการบินสู่ประเทศ 44 ประเทศ (ค.ศ. 2008) มีทางรถไฟความยาวทั้งหมด 19,460 กิโลเมตร เชื่อมต่อ 16 ประเทศ<ref>[https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/it.html การคมนาคมในอิตาลี], จาก The World Factbook, สืบค้นวันที่ 19 ก.ค. 2552</ref>
 
==== โทรคมนาคม ====
{{โครง-ส่วน}}
 
=== วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ===
{{โครง-ส่วน}}
 
=== สาธารณสุข ===
{{โครง-ส่วน}}
 
=== การศึกษา ===
{{บทความหลัก|การศึกษาในประเทศอิตาลี}}
[[การศึกษา]]ในอิตาลี แบ่งเป็น[[ประถมศึกษา]]จนถึงระดับ[[มัธยมศึกษา]] ใช้เวลาเรียน 13 ปี (ใช้ระบบ 5-3-5) และระดับ[[อุดมศึกษา]]ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากและมีความแตกต่างจากระบบการศึกษาในประเทศอื่น การแบ่งวุฒิการศึกษาจากระดับต่างๆ ในขั้นสูง แบ่งได้ 4 ระดับ<ref name="กระทรวงต่างประเทศ" />ได้แก่
# ระดับเทียบเท่าปริญญาตรี (Diploma Universitario)
# ระดับเทียบเท่าปริญญาโท (Laurea Speciallstica)
# ระดับเทียบเท่าสูงกว่าปริญญาโท (Laurea Specializzazione)
# ระดับเทียบเท่าปริญญาเอก (Dottorato di Ricerca)
 
== ประชากรศาสตร์ ==
=== ประชากร ===
{{บทความหลัก|ชาวอิตาลี}}
[[ไฟล์:Mulberry Street NYC c1900 LOC 3g04637u edit.jpg|thumb|right|ย่าน[[ลิตเติลอิตาลี]] ใน[[นครนิวยอร์ก]] เป็นย่านที่มีชาวอิตาลีอยู่เป็นจำนวนมาก]]
ประชาชนที่อยู่ในประเทศอิตาลีเรียกว่า ชาวอิตาลี ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากคนในสมัย[[โรมันโบราณ]] จำนวนประชากรของประเทศอิตาลีมีประมาณ 60 ล้านคน<ref name="ประชากรอิตาลี" /> โดยประมาณ 2.5 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุง[[โรม]] และอีก 1.5 ล้านคนอยู่ใน[[มิลาน]] ประชาชนส่วนใหญ่นับถือ[[ศาสนาคริสต์]] นิกาย[[โรมันคาทอลิก]] มีภาษาทางการคือ[[ภาษาอิตาลี]] และบางพื้นที่ใน[[ประเทศเยอรมนี]]และ[[ฝรั่งเศส]]ก็พูดด้วย แต่จะเป็นภาษาซิซิลี และภาษาซาร์ดีเนีย ซึ่งคล้ายกับภาษาอิตาลีแต่ต่างกันที่สำเนียงเท่านั้น
 
ประชากรส่วนใหญ่ในอิตาลีมีเชื้อชาติอิตาลีถึง 94.2% ของประชากรทั้งประเทศ และอื่นๆอีก เช่น อัลบาเนีย ยูเครน โรมาเนีย 1.94% แอฟริกัน 1.34% เอเชีย 0.92% อเมริกาใต้ 0.46% และอื่นๆ 1.14%<ref>[http://www.istat.it/salastampa/comunicati/non_calendario/20081009_00/testointegrale20081009.pdf The foreign people resident in Italy], จาก ISTAT, (9 ต.ค. 2552), สืบค้นวันที่ 19 ก.ค. 2552 {{it icon}}</ref>
 
ประเทศอิตาลีมีสถานที่ที่เป็นแหล่ง[[มรดกโลก]]อยู่มากกว่าประเทศอื่นในโลก<ref>[http://whc.unesco.org/en/list/ World Heritage List], จาก World Heritage Centre, สืบค้นวันที่ 14 ก.ค. 2552 {{en icon}}</ref> ซึ่งมีทั้งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและมรดกโลกทางธรรมชาติที่มีคุณค่าอย่างมาก ประมาณ 60% ของงาน[[จิตรกรรม]]ทั้งหมดในโลกสรรค์สร้างขึ้นในประเทศอิตาลี และประเทศนี้ยังผลิต[[ไวน์]]ที่มากกว่าประเทศอื่นอีกด้วย
 
=== ศาสนา ===
[[ไฟล์:Petersdom von Engelsburg gesehen.jpg|thumb|left|[[มหาวิหารนักบุญเปโตร]]ใน[[นครรัฐวาติกัน]]]]
ศาสนาที่ผู้คนส่วนใหญ่ในอิตาลีนับถือคือ [[ศาสนาคริสต์]]นิกาย[[โรมันคาทอลิก]] ชาวอิตาลีถึง 87.8% เป็นโรมันคาทอลิกโดยพฤตินัย<ref>[http://www.corriere.it/Primo_Piano/Cronache/2006/01_Gennaio/17/cattolici.shtml Italy: 88% of Italians declare themselves Catholic], จาก Corriere della Sera, (18 ม.ค. 2006) {{en icon}}</ref> แม้ว่ามีเพียงประมาณหนึ่งในสามที่มีเหตุผลในการเลือกนับถือศาสนาคริสต์ (36.8%) ส่วนนิกาย[[อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์]]มีผู้นับถือมากกว่า 700,000 คน ประกอบด้วย[[กรีกออร์ทอดอกซ์]] 180,000 คน<ref>[http://www.ortodossia.it/The%20Holy%20Orthodox%20Archdiocese%20of%20Italy%20ed%20Malta.htm The Holy Orthodox Archdiocese of Italy and Malta]</ref>และอีก 550,000 คนนับถือ[[เพนเทคอสตัล]]และ[[อิแวนจิลิคัล]] (0.8%) ส่วนสมาชิกของ[[อะเซมบลีส์ออฟกอด]]มีประมาณ 400,000 คน กลุ่ม[[พยานพระยะโฮวา]] 235,685 คน (0.4%) <ref>[http://www.cesnur.org/religioni_italia/t/testimoni_geova_02.htm Center for Studies on New Religions] {{it icon}}</ref> นิกาย[[วัลเดนเชียน]] 30,000 คน<ref>[http://www.chiesavaldese.org/pages/storia/dove_viviamo.php Waldensian Evangelical Church] {{it icon}}</ref> [[เซเวนธ์-เดย์แอดเวนทิสต์]] มีประมาณ 22,000 คน นิกาย[[มอรมอน]] 22,000 คน [[แบปทิสต์]] 15,000 คน [[ลูเทอแรน]] 7,000 คน และ[[เมทอดิสต์]] 4,000 คน<ref>[http://www.oikoumene.org/en/member-churches/regions/europe/italy/evangelical-methodist-church-in-italy.html World Council of Churches] {{en icon}}</ref> ส่วนศาสนิกชนกลุ่มน้อยที่เก่าแก่ที่สุดคือ[[ศาสนายูดาห์]] มีคนนับถือ 45,000 คน ประเทศอิตาลีมีกลุ่มศาสนาที่ไม่ใช่ศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ไม่ค่อยมากนัก เช่นการอพยพเข้ามาของประชากรจากส่วนอื่นๆ ของโลก เป็นผลทำให้อิตาลีมีชาว[[มุสลิม]]อาศัยอยู่ประมาณ 825,000 คน<ref>[http://www.fco.gov.uk/en/about-the-fco/country-profiles/europe/italy UK Foreign and Commonwealth Office]</ref> (1.4% ของประชากรทั้งประเทศ) แต่เป็นพลเมืองอิตาลีเพียง 50,000 คน นอกจากนี้ อิตาลีมี[[ศาสนาพุทธ|ชาวพุทธ]] 50,000 คน<ref>[http://www.buddhismo.it/ente.htm Italian Buddhist Union] {{it icon}}</ref><ref>[http://www.sgi-italia.org/chi/ibisg.html Italian Buddhist Institute "Soka Gakkai"] {{it icon}}</ref> โดยที่ศาสนาพุทธ รัฐบาลอิตาลี ได้รับรองสถานะของสมาคมชาวพุทธในอิตาลี เมื่อ 20 มีนาคม พ.ศ. 2543 และมีวัดไทยสำคัญคือ วัดสันตจิตตาราม อยู่ห่างจากกรุงโรม 52 กิโลเมตร<ref name="กระทรวงต่างประเทศ" /> [[ศาสนาซิกข์|ซิกข์]] 70,000 คน<ref>[http://www.etnomedia.org/14.htm Etnomedia] {{it icon}}</ref> และ[[ศาสนาฮินดู|ชาวฮินดู]] 70,000 คน
 
=== กีฬา ===
{{บทความหลัก|อิตาลีในโอลิมปิก|อิตาลีในพาราลิมปิก}}
 
==== ฟุตบอล ====
{{บทความหลัก|สมาพันธ์ฟุตบอลอิตาลี|ฟุตบอลทีมชาติอิตาลี|ฟุตซอลทีมชาติอิตาลี}}
{{โครง-ส่วน}}
 
==== วอลเลย์บอล ====
{{บทความหลัก|สมาพันธ์วอลเลย์บอลอิตาลี}}
{{โครง-ส่วน}}
 
==== มวยสากล ====
{{บทความหลัก|สมาพันธ์มวยสากลอิตาลี}}
{{โครง-ส่วน}}
 
== วัฒนธรรม ==
{{บทความหลัก|วัฒนธรรมอิตาลี}}
=== เทศกาลสำคัญ ===
[[ไฟล์:Viareggio 12 1086.jpg|thumb|right|เทศกาลคาร์นิวัลที่เมือง[[เวียเรจจีโอ]] [[แคว้นทัสกานี]]]]
* เทศกาลคาร์นิวัล จัดในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ จัดตามเมืองต่างๆ แต่ที่มีชื่อเสียงที่สุดอยู่ที่เมือง[[เวนิส]] [[แคว้นเวเนโต]] มีลักษณะของงานคือเน้นการแต่งการแฟนซีและสวมหน้ากาก
* เทศกาลทางศาสนา เช่น [[อีสเตอร์|เทศกาลอีสเตอร์]] ประกอบด้วยการเดินขบวน[[กู๊ดฟรายเดย์]]หรือเรียกว่าวันอาทิตย์อีสเตอร์ จัดขึ้นในช่วงรอยต่อระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน ภายในเทศกาลจะมีการเฉลิมฉลอง [[พระสันตะปาปา]]จะมีกระแสรับสั่งถึงคริสต์ศาสนิกชนในวันอาทิตย์อีสเตอร์ ซึ่งจัดขึ้นที่นครรัฐวาติกัน
* เทศกาลศิลปะและดนตรี ({{lang-it|Maggio Musicale Fiorentino}}) จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่เมือง[[ฟลอเรนซ์]] [[แคว้นทัสกานี]]
* เทศกาลโอเปร่า ที่เมือง[[เวโรนา]] แคว้นเวเนโต
* เทศกาลลดราคาสินค้าประจำปี จัดขึ้นทั่วประเทศในช่วงเดือนกรกฎาคม และเดือนต่อมาก็จะเป็นช่วงแห่งการพักร้อน ร้านค้าและกิจการในเมืองจะปิด และผู้คนจะไปพักร้อนตามทะเล
* เทศกาลฉลองฤดูกาลเก็บเกี่ยว[[องุ่น]]ที่ใช้ทำ[[ไวน์]]
* เทศกาลภาพยนตร์ จัดที่เมืองฟลอเรนซ์ ในเดือนพฤศจิกายน
* พิธี[[มิสซา]] (ศีลมหาสนิท) ตามโบสถ์ต่างๆ และในคืนวันที่ 24 ธันวาคม [[สมเด็จพระสันตะปาปา]]จะเสด็จออกจากบนพระระเบียง[[มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์]] [[นครรัฐวาติกัน]]
=== วันหยุด ===
{{บทความหลัก|รายชื่อวันสำคัญของอิตาลี}}
* 1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่
* 6 มกราคม วัน Epiphany
* วันอาทิตย์และจันทร์ปลายเดิอนมีนา หรือต้นเดือนเมษายน วันGood Friday และEaster Monday
* 25 เมษายน วันฉลองอิสรภาพ (Liberation Day)
* 1 พฤษภาคม วันแรงงาน
* 2 มิถุนายน วันสถาปนาสาธารณรัฐ
* 15 สิงหาคม วันแฟร์รากอสโต้ หรือวันพระแม่มาเรียขึ้นสวรรค์ (Farragosto)
* 1 พฤศจิกายน วันนักบุญ
* 8 ธันวาคม วันพระแม่มารีพ้นมลทิน
* 25 ธันวาคม วันคริสต์มาส
* 26 ธันวาคม วันนักบัญเซนต์สตีเฟ่น
 
=== สื่อสารมวลชน ===
{{บทความหลัก|สื่อสารมวลชนในประเทศอิตาลี}}
 
=== สถาปัตยกรรม ===
{{โครง-ส่วน}}
 
=== อาหาร ===
{{บทความหลัก|อาหารอิตาลี}}
{{โครง-ส่วน}}
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี]]
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|2}}
* อนันต์ชัย เลาหะพันธุ. สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2550.
* [https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/it.html Italy World Factbook], จาก CIA - The World Factbook
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{sisterlinks|Italy}}
* [https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/it.html ประเทศอิตาลี จาก CIA - The World Factbook]
* {{ฟลิคเกอร์|Italy}}
* {{wikivoyage|Italy}}
 
* [http://www.mfa.go.th/web/479.php?id=131 รายละเอียดประเทศอิตาลี] จากเว็บกระทรวงต่างประเทศ
* [http://eudocs.lib.byu.edu/index.php/History_of_Italy:_Primary_Documents ประวัติศาสตร์อิตาลี] {{en}}
* [http://www.fastionline.org/ แผนที่แหล่งโบราณคดีในอิตาลี] {{en}}
 
{{ยุโรป}}
{{แอฟริกา}}
{{อียู}}
{{UNSC}}
{{G8}}
{{G20}}
{{นาโต}}
 
[[หมวดหมู่:ประเทศอิตาลี| ]]
[[หมวดหมู่:สาธารณรัฐ|อ]]
[[หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2404]]
 
ไม่มีให้หาข้อมูลไปดิ