ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พูดคุย:เลอง ชาร์ล เตฟว์แน็ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Char au (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: == ชื่อบทความและคำทับศัพท์ == # จากการตรวจสอบ[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/0...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:19, 23 พฤษภาคม 2561

ชื่อบทความและคำทับศัพท์

  1. จากการตรวจสอบหลักเกณฑ์การทับศัพท์ฉบับราชบัณฑิตยสภา ปี 2535 (ใช้มากในวงการวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะท่านที่ทราบ) ดูหน้า 4 และ 10 พบว่า fève (ถั่ว) เขียนเป็น แฟฟว์ (ฉบับ 2554 แฟ็ฟว์) Gustave เขียนเป็น กูสตาฟว์ จึงเขียนได้เป็น เตฟว์แนง ไม่ใช่เตเวอแนง
  2. อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นิยมใช้ชื่อภาษาอังกฤษเป็นหลัก ไม่นิยมใช้ชื่อภาษาอื่น ๆ นอกเหน้ือจากภาษาอังกฤษ หรือบางทีอาจจะใช้ภาษาอังกฤษดัดแปลงเสียงเข้าหาภาษานั้น ๆ ฉะนั้น การจะเขียน ทฤษฎีบทของเตฟว์แน็ง แทนที่ ทฤษฎีบทของเทเวนิน ย่อมทำให้เกิดปัญหามากโดยเฉพาะการอ้างอิง และเป็นการไม่ถูกต้องอย่างร้ายแรง นักวิชาการใดที่กระทำสวนทางมักจะประสบปัญหาเมื่อนำงานให้นักวิชาการอีกท่านตรวจ ต้องปรับแก้ให้ไปตามความนิยมจนเสียเวลาและความรู้สึกกันมาหลายรายแล้ว (ทำนองเดียวกับ กฎของคูลอมบ์ และชื่อหน่วยประจุไฟฟ้า คูลอมบ์ จากชื่อของชาร์ล กูลง และชื่อหน่วยความถี่หรือรอบต่อวินาที เฮิรตซ์ จาก ไฮน์ริช แฮทซ์ ชื่อหน่วยกำลัง (อัตราการทำงานต่อเวลา) วัตต์ จากชื่อของเจมส์ วอตต์)
  3. คีร์ชฮ็อฟฟ์ นั้น เป็นไปตามหลักเกณฑ์ แต่พบว่ามีคำอ่านไม่ลงรอยกันในหลายแหล่งอ้างอิง พจนานุกรมศัพท์พลังงานของราชบัณฑิต กำหนดเป็น (กฎของ)เคิร์ชฮอฟฟ์ แหล่งอ้างอิงวิชาการส่วนมากในไทยใช้ เคอร์ชอฟฟ์ ส่วนในสหรัฐ ใช้ เคียชฮอฟฟ์ ฉะนั้นการใช้ชื่อตามที่รู้อยู่แล้วย่อมเป็นการเหมาะสมกว่า แล้วหมายเหตุเป็นคำอ่านถูกต้องไว้
  4. เลอง นั้น เป็นไปตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์และพจนานุกรมบางฉบับ ขออภัยที่เขียนเป็นเลยง แต่ในทางปฏิบัติพบว่า นิยมอ่านเป็น เลยง มากกว่า (เช่นใน forvo.com และเว็บไซต์ประมวลเสียงอ่านอื่น ๆ)

จึงขอลงหมายเหตุนีั้ไว้เพื่อประกอบการแก้ไข --Char au (คุย) 23:19, 23 พฤษภาคม 2561 (ICT)--Char au (คุย) 23:19, 23 พฤษภาคม 2561 (ICT)

กลับไปที่หน้า "เลอง ชาร์ล เตฟว์แน็ง"