ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อริยสัจ 4"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
อริยสัจ ๔
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 1:
{{พุทธศาสนา}}
'''อริยสัจ''' หรือ'''จตุราริยสัจ''' หรือ'''อริยสัจ 4''' เป็นหลักคำสอนหนึ่งของ[[พระโคตมพุทธเจ้า]] แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระ[[อริยบุคคล]] หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ
# '''[[ทุกข์]]''' คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คือ[[อุปาทานขันธ์]] หรือ[[ขันธ์ 5]]
# '''[[สมุทัย]]''' คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ [[ตัณหา|ตัณหา 3]] คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วย[[ภวทิฏฐิ]]หรือ[[สัสสตทิฏฐิ]] และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วย[[วิภวทิฏฐิ]]หรือ[[อุจเฉททิฏฐิ]]
# '''[[นิโรธ]]''' คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง
# '''[[มรรค]]''' คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ มีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. [[สัมมาทิฏฐิ]]-ความเห็นชอบ 2. [[สัมมาสังกัปปะ]]-ความดำริชอบ 3. [[สัมมาวาจา]]-เจรจาชอบ 4. [[สัมมากัมมันตะ]]-ทำการงานชอบ 5. [[สัมมาอาชีวะ]]-เลี้ยงชีพชอบ 6. [[สัมมาวายามะ]]-พยายามชอบ 7. [[สัมมาสติ]]-ระลึกชอบ และ 8. [[สัมมาสมาธิ]]-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง
 
ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงใน[[ไตรสิกขา]] ได้ดังนี้ 1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ 2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ 3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ
 
<abbr>ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ</abbr>
 
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์
 
ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
 
ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด
 
เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
 
กามตัณหา (ตัณหาในกาม)
 
ภวตัณหา (ตัณหาในความมีความเป็น)
 
วิภวตัณหา (ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น)
 
ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
 
<abbr>ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น</abbr>
 
<abbr>ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด</abbr>
 
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์
 
ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
 
หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้
 
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
 
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์
 
ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?
 
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
 
การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
 
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
 
ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นนั่น ก็เป็นทุกข์
 
กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์
 
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ
 
ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?
 
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
 
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
 
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
 
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
 
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
 
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
 
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
 
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
 
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
 
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
 
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
 
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้  ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
 
ภิกษุทั้งหลาย !  นี้เรากล่าวว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ
 
ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?
 
เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร
 
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
 
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
 
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
 
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
 
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
 
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
 
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
 
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
 
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
 
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ  ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น
 
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
 
ภิกษุทั้งหลาย !  นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ
 
ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?
 
มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้นั่นเอง กล่าวคือ
 
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
 
ภิกษุทั้งหลาย !  นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
 
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันเราแสดงแล้ว ว่าเหล่านี้ คือ อริยสัจทั้งหลายสี่ประการ ดังนี้
 
เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้
 
อันใด อันเรากล่าวแล้วข้อนั้น  เรากล่าวหมายถึงข้อความนี้ ดังนี้
 
== กิจในอริยสัจ 4 ==