ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 7632621 สร้างโดย 110.164.158.74 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1:
{{ผู้นำประเทศ
| name = เจ้าพระยารามราฆพ <br> (หม่อมหลวง เฟื้อ พึ่งบุญ)
| image = เจ้าพระยารามราฆพ.jpg
| imagesize =
บรรทัด 24:
| party =
}}
'''พลเอก พลเรือเอก มหาเสวกเอก จางวางเอก นายพลเสือป่า เจ้าพระยารามราฆพ''' ([[5 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2433]] - [[21 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2510]]) อดีตองคมนตรี อดีต[[รายนามสมุหราชองครักษ์ของไทย|สมุหราชองครักษ์]] อดีตสมุหพระราชมนเทียร อดีตประธานกรรมการพระราชสำนัก อดีตนายกเทศมนตรี[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|เทศบาลนครกรุงเทพฯ]] และ อดีตนายก[[สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์|สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์]]
 
== ประวัติ ==
=== ปฐมวัย ===
พลเอก พลเรือเอก เจ้าพระยารามราฆพ เดิมชื่อว่า หม่อมหลวงเฟื้อ [[:หมวดหมู่:ราชสกุลพึ่งบุญ|พึ่งบุญ]] เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ [[5 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2433]] ตรงกับแรม 7 ค่ำ เดือน 10 ปีขาล ร.ศ.109 ที่บ้านถนนจักรเพชร จังหวัดพระนคร เป็นบุตร [[พระยาประสิทธิ์ศุภการ]] (หม่อมราชวงศ์ละม้าย พึ่งบุญ)]] กับ [[พระนมทัด]] (พระนมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีพี่น้องร่วมมารดา คือ
* [[ท้าวอินทรสุริยา (หม่อมหลวงเชื้อ พึ่งบุญ)]]
* ท่านเจ้าพระยารามราฆพ
* พลตรี [[พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ)]]
 
เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข และโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ([[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]) เมื่อ [[พ.ศ. 2448]] และได้ถวายตัวเข้ารับราชการใน[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ([[รัชกาลที่ 6]]) ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2451]] ครั้นในงานบรมราชาภิเษก เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2453 ก็ได้มีหน้าที่เชิญพระแสงขรรค์ชัยศรี ยืนหลังที่ประทับตลอดพระราชพิธี ด้วยเหตุนี้เมื่อทรงจัดตั้ง[[กองเสือป่า]] จึงพระราชทานธงประจำตัวกองเสือป่า ให้ท่าน เป็นรูปเทพยดา เชิญพระแสงขรรค์ชัยศรี ขนพื้นสีแดง (ถ้าไม่มีเชื้อราชตระกูล ใช้รูปมานพ) ตลอดเวลาที่รับราชการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถวายงานใกล้ชิด โปรดให้เป็นหัวหน้าห้องพระบรรทม นั่งร่วมโต๊ะเสวยทั้งมื้อกลางวันและกลางคืนตลอดรัชกาล และตามเสด็จโดยลำพัง
 
ได้รับความเจริญในราชการโดยลำดับ ดังนี้
บรรทัด 47:
* 27 ธันวาคม พ.ศ. 2455 เป็นพระยาประสิทธิ์ศุภการ เช่นเดียวกับบิดา (อายุ 22 ปี)
 
ต่อมาวันที่ 11 พฤศจิกายน ปี [[พ.ศ. 2464]] ขณะอายุได้ 31 ปี มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระยาประสิทธิ์ศุภการ ขึ้นเป็นเจ้าพระยารามราฆพ มีสมญาจารึกในสุพรรณบัฎว่า "เจ้าพระยารามราฆพ พัชรพัลลภมหาสวามิภักดิ์ สมัครพลวโรปนายก สุรเสวกวิศิษฏ์คุณ พึ่งบุญพงศ์บริพัตร นฤปรัตนราชสุปรีย์ ศรีรัตนไตรสรณธาดา เมตตาภิรัตมัทวสมาจาร สัตยวิธานอาชวาธยาศัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ คชนาม" มีศักดินา 10000 ไร่ ได้รับพระบรมโองการต่อจาก[[เจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร)]] และก่อน[[เจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร)]] กล่าวกันว่าเจ้าพระยารามราฆพเป็นเจ้าพระยาที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์การแต่งตั้งของกรุงรัตนโกสินทร์
 
=== ตำแหน่งในราชการ ===
บรรทัด 76:
 
=== ครอบครัว ===
ด้านชีวิตครอบครัว ท่านเจ้าพระยารามราฆพ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ สมรสพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ คุณหญิงประจวบ สุขุม ต.จ. ธิดาของมหาอำมาตย์นายก [[เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)]] และ ท่านผู้หญิงตลับ (สกุลเดิม ณ ป้อมเพ็ชร) ณ พระที่นั่งบรมพิมาน เมื่อ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2467 และสมรสกับภรรยาท่านอื่นๆอื่น ๆ รวมมีบุตร-ธิดา 34 ท่าน ดังนี้
* มีบุตร-ธิดา 2 ท่าน กับคุณหญิง ประจวบ สุขุม (สมรสพระราชทาน) ดังรายนามต่อไปนี้
** คุณรุจิรา อมาตยกุล
บรรทัด 118:
** คุณอำพลปนัดดา
 
ในบั้นปลายชีวิต นอกจากการรับราชการแล้ว ท่านเจ้าพระยารามราฆพ ก็ใช้ชีวิตอยู่กับบ้าน ท่านมีกิจวัตรประจำวัน คือ การจดบันทึก ซึ่งทำมาตั้งแต่อยู่ในมัธยมวัย จนถึงอสัญกรรม นอกจากนี้ก็เพลิดเพลินอยู่กับการบำรุงดูแลเรือ ทั้งเรือยนต์และเรือกล อันเป็นของชอบของท่านตั้งแต่ยังรับราชการ และไปพักตากอากาศที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทุกๆปี
 
พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ ถึงอสัญกรรมด้วยโรคหัวใจ ณ ตึกธนาคารกรุงเทพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2510 สิริรวมอายุได้ 77 ปี
 
== บ้านนรสิงห์ ==
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง[[บ้านนรสิงห์]] พระราชทานแก่พระยาประสิทธิ์ศุภการ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2484 ท่านได้เสนอขายบ้านนี้ให้แก่รัฐบาล เนื่องจากไม่สามารถรับภาระการดูแลบำรุงรักษาได้ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2484 จอมพล [[จอมพลแปลก ป.พิบูลสงคราม]] นายกรัฐมนตรี เห็นว่าควรซื้อบ้านนรสิงห์เพื่อทำเป็นสถานที่รับรองแขกเมือง รัฐบาลได้ให้[[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]]เป็นผู้ซื้อบ้านหลังนี้ มอบให้[[สำนักนายกรัฐมนตรี]]เป็นผู้ดูแล ใช้เป็นสถานที่สำหรับรับรองแขกเมืองและย้ายสำนักนายกรัฐมนตรี จาก[[วังสวนกุหลาบ]] มาอยู่ที่นี่
 
บ้านนรสิงห์ เปลี่ยนชื่อเป็น "ทำเนียบสามัคคีชัย" เมื่อ พ.ศ. 2484 และต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ได้ซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์ จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นของสำนักนายกรัฐมนตรี และเปลี่ยนชื่อเป็น "ทำเนียบรัฐบาล"
 
== สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม ==
ในวันที่ [[25 เมษายน]] [[พ.ศ. 2458]] มีประกาศราชกิจจานุเบกษาว่าด้วยการจัดตั้ง "[[สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์|สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์]]<ref>http://www.fathailand.org/history</ref>" โดยมีพระยาประสิทธิ์ศุภการเป็นสภานายกสมาคมฯ คนแรกของวงการลูกหนังไทย และคณะสภากรรมการส่วนใหญ่ คือกรรมการคณะฟุตบอลแห่งสยาม พระยาประสิทธิ์ศุภการดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลถึง พ.ศ. 2462 จึงลาออกจากตำแหน่ง
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
บรรทัด 153:
{{นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย}}
 
{{เกิดปี|2433}}
{{ตายปี|2510}}
{{เรียงลำดับ|รามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)}}
{{อายุขัย|2433|2510}}
 
[[หมวดหมู่:บรรดาศักดิ์ชั้นเจ้าพระยา|รามราฆพ]]
[[หมวดหมู่:หม่อมหลวงองคมนตรีในรัชกาลที่ 6]]
[[หมวดหมู่:หม่อมหลวง|ฟื้อ พึ่งบุญ]]
[[หมวดหมู่:ราชสกุลพึ่งบุญ]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)]]