ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KungDekZa (คุย | ส่วนร่วม)
KungDekZa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
เมื่อปี พ.ศ. 2500 องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีแนวคิดที่จะก่อตั้งโรงเรียนวิศวกรรมขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกองค์กรซีโต้ ทั้ง[[ประเทศออสเตรเลีย]] [[ประเทศฝรั่งเศส]] [[ประเทศนิวซีแลนด์]] [[สหราชอาณาจักร]] และ[[สหรัฐอเมริกา]] รวมถึงประเทศสมาชิกในภูมิภาค ได้แก่ [[ประเทศปากีสถาน]] [[ประเทศฟิลิปปินส์]] และประเทศไทย โดยแนวคิดนี้ได้รับการอนุมัติในการประชุมที่กรุง[[มะนิลา]]ในปีถัดมา จนกระทั่งมีการประกาศก่อตั้งโรงเรียนวิศวกรรม สปอ. ขึ้นภายหลังจากการประชุมที่กรุง[[เวลลิงตัน]]ในปี พ.ศ. 2502 ต่อมาโรงเรียนวิศวกรรม สปอ. ได้เปลี่ยนสถานะเป็นสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียในปี พ.ศ. 2510 เมื่อ[[สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)|สภาร่างรัฐธรรมนูญ]]ได้ประกาศให้กฎบัตรสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียมีผลตามกฎหมาย ซึ่งทำให้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียเป็นสถาบันอิสระและไม่ขึ้นตรงกับหน่วยงานใด
 
เมื่อปี พ.ศ. 2532 สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียได้รับ[[รางวัลรามอน แมกไซไซ]] ในสาขาสันติภาพและความเข้าใจระหว่างประเทศ จากการพัฒนาทรัพยากรบุคคลยุคใหม่ โดยเฉพาะวิศวกรและผู้จัดการ ในทวีปเอเชีย โดยมีบรรยากาศการเรียนการสอนที่ดีเยี่ยมและมีความเป็นมิตร<ref>The 1989 Ramon Magsaysay Award for International Understanding http://www.rmaf.org.ph/Awardees/Citation/CitationAIT.htm</ref> ต่อมาในปี พ.ศ. 25422536 สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียได้ลงบันทึกความร่วมมือกับรัฐบาลเวียดนามในการเปิดศูนย์เวียดนามที่กรุง[[ฮานอย]] ทำให้หลังจากนั้นรัฐบาลเวียดนามได้มอบรางวัลเหรียญมิตรภาพให้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียในปี พ.ศ. 2549<ref name="ait7">{{cite web|url=http://www.ait.asia/news-and-events/archive/2006/News.2007-09-12.104638-1/?searchterm=Vietnam#.UxV9x6VcTXE|title=Vietnam bestows highest international relations honor to AIT|publisher=ait.asia|accessdate=2014-04-12}}</ref> ซึ่งถือเป็นรางวัลที่สูงที่สุดที่มีการมอบในระดับระหว่างประเทศ และมีการเสนอไปยังสถาบันระหว่างประเทศที่กระจายการฝึกทักษะทรัพยากรบุคคลแก่เวียดนาม และการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับประเทศอื่น
 
จากการที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียเป็นสถาบันการศึกษาที่มีสถานะแตกต่างจากสถาบันการศึกษาอื่นในประเทศไทย เนื่องจากมีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ จึงไม่ได้เป็นทั้งสถาบันของรัฐบาลและเอกชน แต่มีสถานะเทียบเท่ากับสถาบันระหว่างประเทศ โดยเมื่อปี พ.ศ. 2555 ได้เกิดประเด็นเกี่ยวกับการไม่รับรองในระบบราชการไทยขึ้นจากการที่ไม่ได้เป็นสถาบันการศึกษาเอกชน แต่ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขในเวลาต่อมา ซึ่ง[[สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน]] (สำนักงาน ก.พ.) ได้ให้การรับรองคุณวุฒิจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียจัดอยู่ในการรับรองคุณวุฒิต่างประเทศ<ref>[http://e-accreditation.ocsc.go.th/acc/search/interpdf/ait.pdf การพิจารณารับรองคุณวุฒิและกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้สำเร็จการศึกษาจาก Asian Institute of Technology] สำนักงาน ก.พ.</ref>
บรรทัด 135:
* สถาบันภาษา
 
== ที่ตั้งและวิทยาเขต ==
[[ไฟล์:Asian Institute of Technology environment.jpg|thumb|right|อาคารเรียนและสภาพแวดล้อมภายในเอไอที]]
ระยะแรกของการก่อตั้ง บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ สปอ. ''(ชื่อของสถาบันในขณะนั้น)'' ตั้งอยู่ในพื้นที่ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ต่อมาได้รับการอนุมัติให้ใช้พื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐบาลไทย อยู่บริเวณติดกับ[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์|มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต]]ในปัจจุบัน จึงได้พัฒนาเป็นที่ตั้งจนถึงทุกวันนี้
บรรทัด 143:
นอกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว พื้นที่ติดกับสถาบันยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำคัญอย่าง [[อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย]] และ[[สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ]]
 
ส่วนนอกจากศูนย์หลักที่ตั้งอยู่บริเวณดังกล่าวแล้ว ยังมีศูนย์เอไอทีเวียดนามมีที่ตั้งกระจายอยู่ตามเมืองสำคัญใน[[ประเทศเวียดนาม]] ได้แก่ กรุง[[ฮานอย]] นคร[[โฮจิมินห์ซิตี]] และ[[เกิ่นเทอ]] และยังมีสำนักงานย่อยกระจายในเมืองอื่นอีก 4 แห่ง โดยศูนย์เอไอทีเวียดนามนั้นก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ภายใต้ข้อตกลงร่วมกับรัฐบาลเวียดนาม ทำให้เป็นสถาบันการศึกษานานาชาติแห่งแรกที่ตั้งอยู่ในประเทศเวียดนาม<ref>[http://aitvn.asia/about-us/ About AIT-VN]</ref>
 
== ชีวิตนักศึกษา ==