ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคความหวังใหม่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 21:
 
== ประวัติ ==
พรรคความหวังใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2533 <ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2533/A/216/442.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคความหวังใหม่)] </ref> โดยทำการเปิดตัวที่โรงแรมเจบี [[อำเภอหาดใหญ่]] จังหวัดสงขลา<ref>{{cite web|url=https://www.youtube.com/watch?v=pVamjzQ3QMU|title=ถอนพิษ 23 05 58|date=23 May 2015|accessdate=24 May 2015|publisher=ฟ้าวันใหม่}}</ref> และมีที่ทำการพรรคแห่งแรกที่สำนักงานกฎหมายธรรมนิติในสังกัดของนาย[[ไพศาล พืชมงคล]] ที่[[เขตบางซื่อ]]<ref>{{cite web|url=https://www.youtube.com/watch?v=ac9HXR1R6Nk|title= วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 09 05 61|date=9 May 2018|accessdate=9 May 2018|publisher=ฟ้าวันใหม่}}</ref> ในขั้นต้ันมีนายวีระ สุวรรณกุล เป็นหัวหน้าพรรค คนแรกและมีนางสาวปราณี มีอุดร เป็นเลขาธิการพรรคคนแรกต่อมาในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2533 ได้มีการจัดประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกของพรรคที่ประชุมมีมติเลือก [[พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ]] อดีต [[ผู้บัญชาการทหารบก]] และอดีต [[ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]] เป็นหัวหน้าพรรค <ref> http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2533/A/222/473.PDF </ref>
 
พรรคความหวังใหม่ [[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535|ลงเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535]] โดยมี [[ชวลิต ยงใจยุทธ|พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ]] เป็นหัวหน้าพรรค ร่วมด้วยนักการเมืองที่มีชื่อเสียงเช่น [[เสนาะ เทียนทอง|นายเสนาะ เทียนทอง]] [[จาตุรนต์ ฉายแสง|นายจาตุรนต์ ฉายแสง]] และ [[วันมูหะมัดนอร์ มะทา|นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา]] มีสัญลักษณ์พรรคคือ [[ดอกทานตะวัน]] และมีคำขวัญพรรคว่า '''ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง''' ได้เป็นฝ่ายค้าน และหลังจากนั้นไม่นานก็เกิด [[เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ]] และ พรรคความหวังใหม่ เป็นหนึ่งในบรรดา 4 พรรคการเมือง ที่เรียกกันในช่วงเวลานั้นว่า [[พรรคเทพ พรรคมาร|พรรคเทพ]] ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ร่วมกันคัดค้าน การขึ้นดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]]ของ [[สุจินดา คราประยูร|พล.อ.สุจินดา คราประยูร]]
 
พรรคความหวังใหม่ประสบความสำเร็จใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539|การเลือกตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2539]] ได้ที่นั่ง ส.ส. จำนวน 125 ที่นั่ง โดยเฉือนชนะ [[พรรคประชาธิปัตย์]] พรรคคู่แข่งสำคัญไปเพียง 2 ที่นั่ง ส่งผลให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี