ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pond1991 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7626772 สร้างโดย Pond1991 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 98:
หลังจากที่อพยพผู้คนและทรัพย์สินลงมาทางใต้และตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรี เรียกนามว่า "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร" แต่เอกสารราชการสมัยกรุงธนบุรียังคงเรียกนามเมืองหลวงตามเดิมว่า "กรุงพระมหานครศรีอยุธยา" เจ้าตากทรงปราบดาภิเษกขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ตามแบบพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงเก่า จดหมายเหตุโหรระบุว่าเป็นวันอังคาร แรมสี่ค่ำ จุลศักราช 1129 ซึ่งตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310{{refn|group=เชิงอรรถ|สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาธิไธยว่า "พระศรีสรรเพชร สมเด็จบรมธรรมิกราชาธิราชรามาธิบดี บรมจักรพรรดิศร บวรราชาบดินทร์ หริหรินทร์ธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลย์ คุณรุจิตร ฤทธิราเมศวร บรมธรรมิกราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพ ตรีภูวนาธิเบศร์ โลกเชษฏวิสุทธิ์ มกุฏประเทศคตา มหาพุทธังกูร บรมนาถบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกนพรัฐ ราชธานีบุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศมหาสถาน"<ref name="นิธิ147">นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 147.</ref>}} เมื่อพระชนพรรษา 34 พรรษา ความสำเร็จดังกล่าวทำให้มีผู้ที่คิดรื้อฟื้นราชอาณาจักรอยุธยาขึ้นมาใหม่มาเข้าด้วยกับชุมนุมของพระองค์เป็นจำนวนมาก ทำให้สถานะการเป็นพระมหากษัตริย์ของพระองค์เด่นชัดยิ่งขึ้น<ref name="นิธิ147"/> อีกทั้งพระองค์ยังทรงเริ่มประกอบพระราชกรณียกิจตามแบบอย่างพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเพื่อแสดงถึงสิทธิธรรม<ref name="นิธิ147"/> การเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานียังถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เสียหายจากสงครามกับพม่าด้วย<ref name="ชัย6">ชัย เรืองศิลป์. หน้า 6.</ref>
 
หลังจากทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง[[พระราชวังกรุงธนบุรี]]เมื่อ พ.ศ. 2310 ซึ่งเป็นพระราชวังหลวงที่ใช้เป็นสถานที่ประทับและว่าราชการ พร้อมกับปรับปรุงป้อมวิไชยเยนทร์ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นป้อมวิไชยประสิทธิ์ ตำแหน่งของพระราชวังนี้เป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ สามารถสังเกตการณ์ได้ในระยะไกล อีกทั้งยังใกล้กับเส้นทางคมนาคมและเส้นทางการเดินทัพที่สำคัญอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ[[กองทัพเรือ]]<ref name="พระราชวังเดิม">[http://www.thaifolk.com/doc/wangderm.htm พระราชวังเดิม]</ref>
 
พระราชกรณียกิจแรกหลังการเสด็จขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2311 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉินเหม่ยเซิน พ่อค้าเดินเรือจีน นำพระราชสาส์นไปถวายต่อ[[จักรพรรดิเฉียนหลง]]แห่ง[[ราชวงศ์ชิง|ราชสำนักชิง]] ใจความสำคัญว่าด้วยพระราชประสงค์ฟื้นฟูสัมพันธไมตรี การค้าขายกับจีน และขอพระราชทานตราตั้งเพื่อรับรองสถานภาพพระมหากษัตริย์ แต่ราชสำนักชิงปฏิเสธในปีแรกเพราะมองว่าพระองค์มิใช่ผู้สืบราชสันตติวงศ์เจ้านายกรุงเก่า และเจ้านายกรุงเก่ายังมีพระขนม์ชีพอยู่ คือ [[กรมหมื่นเทพพิพิธ]] (พระราชโอรสใน[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]]) เสด็จไปก่อตั้งชุมนุมเจ้าพิมาย ส่วนเจ้าจุ้ย (พระโอรสในเจ้าฟ้าอภัยและพระราชนัดดาใน[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9]]) และเจ้าศรีสังข์ (พระโอรสใน[[เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์]]และพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) เสด็จลี้ภัยสงครามไปอยู่กับพระยาราชาเศรษฐี ญวน (ม่อซื่อหลิน) ที่เมืองพุทไธมาศ อีกทั้งในระยะนั้นจีนได้รับรายงานที่ไม่เป็นความจริงจากม่อซื่อหลิน ทำให้เอกสารราชสำนักชิงจึงไม่เรียกขานพระนามอย่างพระมหากษัตริย์ แต่เรียกขานเพียง '''กันเอินซื่อ''' (เจ้าเมืองตาก) เท่านั้น<ref name="จิ้มก้องขอหองโอรสสวรรค์">จิ้มก้องขอหองโอรสสวรรค์ : สมเด็จพระเจ้าตากสินกับจีนราชวงศ์ชิง [เจมส์ เค.ชิน (เฉียนเจียง), เขียน][อาทิตย์ เจียมรัตัญญ, แปล] ใน {{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง = |ชื่อหนังสือ = รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2559)|URL = http://www.academia.edu/10918681/จิ_มก_องขอหองโอรสสวรรค_สมเด_จพระเจ_าตากสินกับจีนราชวงศ_ชิง_James_K._Chin_Seeking_Recognition_from_the_Son_of_Heaven_King_Taksins_Siam_and_Qing_China_during_the_Late_Eighteenth_Century_Thai_|จังหวัด = กรุงเทพฯ|พิมพ์ที่ = โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์|ปี = 2559| ISBN = 978-616-7308-25-8|จำนวนหน้า = |หน้า = 1-23}}</ref>