ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pond1991 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 27:
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 (วันที่ 20 เดือน 4 ตามปีจันทรคติ) ในแผ่นดิน[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]]แห่ง[[อาณาจักรอยุธยา]] พระองค์เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น[[สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก]] กับ[[พระอัครชายา (หยก)]] เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ถวายตัวเป็น[[มหาดเล็ก]]ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต (ต่อมาคือ[[สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร]]) ครั้นพระชนมายุครบ 21 พรรษา ก็เสด็จออกผนวชเป็นภิกษุอยู่วัดมหาทลาย 1 พรรษา แล้วลาผนวชเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงในสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรดังเดิม เมื่อพระชนมายุได้ 25 พรรษา พระองค์เสด็จออกไปรับราชการที่เมืองราชบุรีในตำแหน่ง "''หลวงยกกระบัตร''" ในแผ่นดิน[[สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์]]<ref>เทศนาพระราชประวัติและพงศาวดารกรุงเทพฯ, หน้า 5-7</ref> และได้สมรสกับคุณนาค (ภายหลังได้รับการสถาปนาที่[[สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี]]) ธิดาในตระกูลเศรษฐีมอญที่มีรกรากอยู่ที่บ้านอัมพวา [[จังหวัดสมุทรสงคราม|เมืองสมุทรสงคราม]]{{พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี}}
 
=== รับราชการในสมัยกรุงธนบุรี ===
{{ดูเพิ่มที่|การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี}}
ภายหลัง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]]แก่[[พม่า]]แล้ว [[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี|พระยาตาก (สิน)]] ได้[[ปราบดาภิเษก]]ขึ้นเป็น[[พระมหากษัตริย์]]และย้ายราชธานีมายัง[[กรุงธนบุรี]] ในขณะนั้นนายทองด้วงมีอายุ 32 ปี ได้เข้าถวายตัวรับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตามคำชักชวนของน้องชาย [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|พระมหามนตรี (บุญมา)]] โดยได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น ''พระราชริน (พระราชวรินทร์)'' เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา และย้ายมาอาศัยอยู่ที่บริเวณวัดบางหว้าใหญ่ ([[วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร]]ในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2311 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จขึ้นไปตีเมืองพิมายซึ่งมี[[กรมหมื่นเทพพิพิธ]]เป็นเจ้าเมืองพิมายอยู่ พระราชรินและพระมหามนตรีได้รับพระราชโองการให้ยกทัพร่วมในศึกครั้งนี้ด้วย หลังจากการศึกในครั้งนี้ พระราชรินได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น ''พระยาอภัยรณฤทธิ์'' จางวางพระตำรวจฝ่ายขวา เพื่อเป็นการปูนบำเหน็จที่มีความชอบในการสงครามครั้งนี้