ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วรรณกรรมกรีกโบราณ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แจ้งต้องการหมวดหมู่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Werke und Tage.jpg|thumb|300px|หน้ากระดาษจากหนังสือเรื่อง ''[[งานและวัน]]'' ของ[[เฮเซียด]] ฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1539]]
[[ไฟล์:Anselm Feuerbach - Das Gastmahl. Nach Platon (zweite Fassung) - Google Art Project.jpg|thumb|upright=2.5|ภาพวาดจากซีนในบทสนทนา ซิมโพเซียม (ปรัชญาว่าด้วยความรัก) ของ[[เพลโต]] (Anselm Feuerbach, 1873)]]
'''วรรณกรรมกรีกโบราณ''' คือ วรรณคดีที่เขียนด้วยภาษากรีกโบราณ ตังแต่สมัยยุคเริ่มแรกที่มาการจารึกเป็นภาษากรีกลงมาจนสมัย[[จักรวรรดิโรมันตะวันออก|จักรวรรดิไบเซนไทน์]] งานวรรณคดีภาษากรีกที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลือมา คือ มหากาพย์สองเรื่องของกวี[[โฮเมอร์]]รจนาขึ้นใน[[กรีซยุคอาร์เคอิก|ยุคอาร์เคอิก]] หรือประมาณศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ได้แก่ ''[[อีเลียด]]'' และ''[[โอดิสซี]]'' ซึ่งเล่าเหตุการที่เกิดขึ้นใน[[อารยธรรมไมซีนี|ยุคไมซีนี]] มหากาพย์สองเรื่องนี้ และงานเขียนร้อยกรองในยุคเดียวกัน ได้แก่ [[เพลงสวดโฮเมอริค]] (Homeric Hymns) และบทกวีอีกสองเรื่องของ[[เฮเซียด]] คือ ''[[ธีโอกอนี - เทวพงศาวดาร]]'' (Theogony) และ ''[[งานและวัน]]'' เป็นทั้งจุดเริ่มต้นและรากฐานของธรรมเนียมทางวรรณกรรมของชาวกรีก สืบต่อไปถึงยุคคลาสสิค, สมัยอารยธรรมเฮเลนิสติก และวรรณคดีของชาวโรมัน
 
งานวรรณกรรมกรีกโบราณ เริ่มต้นขึ้นจากบทกวีขับร้องประกอบการเล่นดนตรีอย่างเช่น มหากาพย์ของโฮเมอร์ และ[[กวีนิพนธ์ความในใจ|บทกวีประกอบเสียงพิณ]] (lyric poetry) ซึ่งมีกวีนามอุโฆษ เช่น [[แซพโพ]] [[อัลซีอัส]] และ[[พินดาร์]] เป็นแบบอย่างที่ีอิทธิพลในช่วงแรก ต่อมามีการพัฒนาศิลปะการละครขึ้น งานนาฏกรรมบทละครที่ตกทอดมาได้แก่ของ [[เอสคิลัส]] (ราว 525-456 ก.คริสต์) [[ซอโฟคลีส]] (497-406 ก.คริสต์) [[ยูริปิดีส]] (480-406 ก.คริสต์) และ[[อริสโตฟานีส]] (446-436 ก.คริสต์) ในบรรดานาฏศิลปินทั้งสี่ เอสคิลัสเป็นนักประพันธ์ละครคนแรกสุดที่มีงานตกทอดมาถึงเราอย่างสมบูรณ์ ซอโฟคลีสเป็นนักแต่งบทละครที่มีชื่อเสียงจากงาน[[โศกนาฏกรรม]]ไตรภาคเกีียวกับ[[อีดิปัส]] โดยเฉพาะเรื่อง[[พระเจ้าอีดิปัส]] (Oedipus Rex) และ[[แอนติโกเน่]]ฯ ยูริปิดีสมีชื่อเสียงจากการสร้างงานประพันธ์ที่พยายามผลักขอบเขตของโศกนาฏกรรมออกไป ส่วนนักประพันธ์[[สุขนาฏกรรม]] (หรือ หัสนาฏกรรม) อริสโตฟานีสมีปรีชาสามารถในสาขางานสุขนาฏกรรมแบบดั้งเดิม ([[en:old comedy|old comedy]]) ในขณะที่[[เมแนนเดอร์]]เป็นผู้บุกเบิกสุขนาฏกรรมใหม่
 
สำหรับงานร้อยแก้วมี[[เฮโรโดตัส]] และ[[ทิวซิดิดีส|ธิวซิดิดีส]] เป็นผู้บุกเบิกงานเขียนทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกรีซในช่วงศตวรรษที่ 5 (และความเป็นมาก่อนหน้านั้น) ซึ่งเป็นช่วงที่ทั้งสองท่านมีชีวิตอยู่ [[เพลโต]]ถ่ายทอดความคิดเชิงปรัชญาผ่านบทสนทนา ซึ่งมี[[โสเครตีส]]ผู้เป็นอาจารย์ของท่านเป็นจุดศูนย์กลาง ในขณะที่[[อริสโตเติล|อริสโตเติ้ล]]ลูกศิษย์ของเพลโตบุกเบิกสาขาปรัชญาใหม่ๆ รวมทั้งพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หลายแขนง รวมทั้งการจำแนกหมวดหมู่สัตว์ และทฤษฎีทาง[[กลศาสตร์]]ซึ่งเป็นชุดความรู้ที่สังคมตะวันตกยึดถือกันต่อมาอีกเกือบสองพันปีจนกระทั่งถูกเปลี่ยนแปลงในสมัยของ[[ไอแซก นิวตัน]]