ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาละติน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 24:
 
=== อิทธิพลทางวรรณคดี ===
{{see|วรรณคดีวรรณกรรมภาษาละติน}}
[[File:Commentarii de Bello Gallico.jpg|thumb|upright=1.36|[[จูเลียส ซีซาร์]]'s ''บันทึกเหตุการณ์สงครามแกลลิค'' เป็นหนังสือภาษาละตินที่มีชื่อเสียงที่สุดเล่มหนึ่งในช่วงยุคทองของภาษาละติน เขียนขึ้นในสไตล์ที่ไม่ขัดเกลา และตรงไปตรงมาของการรายงานเหตุการณ์อย่างนักวารสาร และเป็นต้นแบบของการใช้ภาษาลาตินในสาธารณรัฐโรมัน]]
งานเขียนของนักเขียนโบราณหลายร้อยคนในภาษาละติน มีหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันเป็นจำนวนมาก และถูกศึกษาในปัจจุบันทั้งในสาขานิรุกติศาสตร์ และวรรณคดีคลาสสิค งานของพวกเขาถูกเผยแพร่ในรูปแบบของเอกสารหรือต้นฉบับตัวเขียน (manuscript) มาตั้งแต่ก่อนที่นวัตกรรมทางการพิมพ์จะถูกประดิษฐ์ขึ้น
 
วรรณกรรมในภาษาลาตินมีทั้งในรูปของ เรียงความ ประวัติศาสตร์ บทกวี บทละคร และงานเขียนอื่นๆ โดยเริ่มปรากฎตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสกาล และกลายมาเป็นภาษาวรรณกรรมหลักของโลกโรมันโบราณในอีกสองศตวรรษถัดมา ในขณะที่ชาวโรมันที่มีการศึกษาก็ยังอ่านและเขียนโดยใช้ภาษากรีกโบราณควบคู่กันไปด้วย (เช่น [[จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส|จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุ]]ส ผู้ทรงนิพนธ์งานปรัชญาเป็นภาษากรีก) อาจจะกล่าวได้ว่าวรรณคดีในภาษาลาตินก็คือการสืบเนื่องของ[[วรรณคดีวรรณกรรมกรีกโบราณ]] โดยชาวโรมันรับเอารูปแบบงานวรรณคดีของกรีซหลายอย่างมาใช้
 
เนื่องจากภาษาละตินเป็นภาษากลางในการสื่อสารของยุโรปตะวันตกจนกระทั่งถึงยุคกลาง วรรณคดีภาษาลาตินจึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่นักเขียนโรมัน เช่น [[กิแกโร|คิเคโร]] [[เวอร์จิล]] [[ออวิด|โอวิด]] และ[[โฮเรส]] เท่านั้น แต่ยังรวมถึงนักเขียนยุโรปที่ยังผลิตงานเขียนในภาษาละตินออกมาแม้อาณาจักรโรมันจะล่มสลายไปแล้ว ตั้งแต่นักเขียนด้านศาสนาอย่าง [[ทอมัส อไควนัส|ธอมัส อไควนัส]] (1225 - 1274) จนถึงนักเขียนฆารวาสอย่าง [[ฟรานซิส เบคอน]] (1561 - 1626) [[บารุค สปิโนซา]] (1632 - 1677) และ ไอแซก นิวตัน (1642 - 1727)