ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐธรรมนูญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เปลี่ยนจาก ... เป็นคำว่าประเทศ เพราะอ่านแล้วได้ใจความกว่า การละทิ้งไว้
Pond1991 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 32:
== รัฐธรรมนูญในประเทศไทย ==
หลังจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงเป็นต้นมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี หรือกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีต่างมีกฎหมายสำคัญหลายฉบับซึ่งอาจจัดได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญประเภทหนึ่ง แต่กฎหมายเหล่านั้นกระจัดกระจายอยู่ในหลายแห่งไม่เป็นหมวดหมู่เรียบร้อย นอกจากนี้กฎหมายดังกล่าวมีลักษณะเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ การปกครองแผ่นดิน พระราชอำนาจในการตรากฎหมาย กฎหมายเกี่ยวกับขุนศาลตระลาการมากกว่าจะมีลักษณะเป็นรัฐธรรมนูญตามความเข้าใจในปัจจุบัน คือไม่มีบทจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไว้ <ref> วิษณุ เครืองาม, “กฎหมายรัฐธรรมนูญ”, (กรุงเทพฯ : นิติบรรณาการ), 2530, หน้า 172. </ref>
 
ในรัชสมัย [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] สืบเนื่องจากที่อังกฤษเข้ายึดเมืองมัณฑะเลย์ของพม่า เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์]] อัครราชทูตประจำกรุงปารีส ถวายรายงานและความเห็นต่อประเด็นปัญหานี้ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้เรียกประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในสถานทูตในกรุงลอนดอนและกรุงปารีสเพื่อระดมความเห็น และได้จัดทำคำกราบบังคมทูลโดยมีเนื้อหาว่า ประเทศไทยควรเปลี่ยนหลักการพื้นฐานของการปกครองจาก “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” มาเป็น “ระบอบชาธิปไตย” และระบบคณะรัฐมนตรี คือคณะรัฐบาลที่ประกอบด้วยคณะรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่าง ๆ เพื่อให้รัฐบาลมีประสิทธิภาพในการรักษากฎหมายให้เกิดความสงบเรียบร้อย ควรปรับปรุงกฎหมายบ้านเมือง และให้มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงคณะผู้จัดทำคำกราบบังคมทูลว่าทรงขอบพระราชหฤทัย และทรงไม่อาจทำให้ลุล่วงได้ เนื่องมาจากความไม่พร้อมของบุคคลกรที่รับภารกิจ