ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หิน เหล็ก ไฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 46:
ต่อมาในปีเดียวกัน เกิดการเปลี่ยนแปลงสมาชิก คือ ณรงค์ ศิริสารสุนทร (รงค์) จากวง Burn และ [[ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์]] ได้มาทำหน้าที่เล่นเบส, สมาน ยวนเพ็ง (หมาน) จากวง 50 Miles รับหน้าที่เล่นกลอง และ [[จักรรินทร์ ดวงมณีรัตนชัย]] (ป๊อป) จากวง Force ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มารับหน้าที่เล่นกีตาร์เพิ่มอีกหนึ่งคน โดย [[ทิวา สาระจูฑะ]] (บรรณาธิการนิตยสารสีสัน) ตั้งชื่อวงให้ว่า [[หิน เหล็ก ไฟ]] (ชื่อภาษาอังกฤษ '''Stone Metal Fire''' ตัวย่อ '''SMF''')
 
เดือนพฤษภาคม [[พ.ศ. 2536]] [[หิน เหล็ก ไฟ]] ออกอัลบั้มชุดแรกซึ่งมีชื่ีอเดียวกับชื่อวง สังกัดค่าย [[อาร์เอส|อาร์เอส โปรโมชัน]] โดยได้บันทึกเสียงที่ห้องอัด เซ็นเตอร์ สเตจ ของ[[ยืนยง โอภากุล|แอ๊ด คาราบาว]] เพลงที่ได้รับความนิยมในอัลบั้มนี้ได้แก่ ''ยอม'', ''เพื่อเธอ'', ''นางแมว'', ''พลังรัก'', ''สู้'', ''ร็อคเกอร์'' โดยอัลบั้มหิน เหล็ก ไฟ เป็นอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายมากกว่า 1 ล้านตลับ และได้รับ[[สีสันอะวอร์ดส์|รางวัลสีสันอะวอร์ดส์]] ครั้งที่ 6 ([[พ.ศ. 2536]]) สาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม และโปรดิวเซอร์ยอดเยี่ยม นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงคอนเสิร์ต [[ช็อต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต]] (Short Charge Shock Rock Concert) ครั้งที่ 1 ที่ [[สนามกีฬาหัวหมาก|สนามกีฬาอินดอร์สเตเดียม หัวหมาก]] ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของวงการดนตรีไทย โดยเป็นวงร็อกวงแรกของไทยที่ทำยอดขายได้ถึง 1 ล้านตลับ และคอนเสิร์ต [[ช็อต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต]] ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยเป็นคอนเสิร์ตของศิลปินไทยที่มียอดผู้ชมมากที่สุดในปี [[พ.ศ. 2536]] จนต้องจัดครั้งต่อมาในปี [[พ.ศ. 2537]] และ [[พ.ศ. 2538]]
 
หิน เหล็ก ไฟ ออกอัลบั้มอีกเป็นชุดที่ 2 ในปี [[พ.ศ. 2537|พ.ศ. 2538]] ในชื่อชุด '''คนยุคเหล็ก''' มีเพลงที่ได้รับความนิยมเช่น ''คนยุคเหล็ก'', ''หลงกล'', ''มั่วนิ่ม'', ''คิดไปเอง'' เป็นต้น จากนั้นได้ประกาศพักและยุบวงในปลายปี พ.ศ. 2538