ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคความหวังใหม่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
[[ไฟล์:ตราพรรคความหวังใหม่ (เดิม)1.gif|thumb|150px|สัญลักษณ์พรรคความหวังใหม่แบบเดิม]]
 
'''พรรคความหวังใหม่''' ({{lang-en|New Aspiration Party}}; [[อักษรย่อ|ย่อว่า]] ควม.) เป็นพรรคการเมืองหนึ่งในประเทศไทย เคยมีบทบาททางการเมืองระดับประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2535–44 และเคยเป็นพรรคการเมืองหลักแกนนำของรัฐบาล
 
== ประวัติ ==
พรรคความหวังใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2533 โดยทำการเปิดตัวที่โรงแรมเจบี [[อำเภอหาดใหญ่]] จังหวัดสงขลา<ref>{{cite web|url=https://www.youtube.com/watch?v=pVamjzQ3QMU|title=ถอนพิษ 23 05 58|date=23 May 2015|accessdate=24 May 2015|publisher=ฟ้าวันใหม่}}</ref> และมีที่ทำการพรรคครั้งแห่งแรกที่สำนักงานกฎหมายธรรมนิติในสังกัดของนาย[[ไพศาล พืชมงคล]] ที่[[เขตบางซื่อ]]<ref>{{cite web|url=https://www.youtube.com/watch?v=ac9HXR1R6Nk|title= วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 09 05 61|date=9 May 2018|accessdate=9 May 2018|publisher=ฟ้าวันใหม่}}</ref> ในขั้นต้ันมีนายวีระ สุวรรณกุล เป็นหัวหน้าพรรค และมีนางสาวปราณี มีอุดร เป็นเลขาธิการพรรค
 
พรรคความหวังใหม่ [[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535|ลงเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535]] โดยมี [[ชวลิต ยงใจยุทธ|พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ]] เป็นหัวหน้าพรรค ร่วมด้วยนักการเมืองที่มีชื่อเสียงเช่น [[เสนาะ เทียนทอง|นายเสนาะ เทียนทอง]] [[จาตุรนต์ ฉายแสง|นายจาตุรนต์ ฉายแสง]] และ [[วันมูหะมัดนอร์ มะทา|นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา]] มีสัญลักษณ์พรรคคือ [[ดอกทานตะวัน]] และมีคำขวัญพรรคว่า '''ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง''' ได้เป็นฝ่ายค้าน และหลังจากนั้นไม่นานก็เกิด [[เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ]] และ พรรคความหวังใหม่ เป็นหนึ่งในบรรดา 4 พรรคการเมือง ที่เรียกกันในช่วงเวลานั้นว่า [[พรรคเทพ พรรคมาร|พรรคเทพ]] ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ร่วมกันคัดค้าน การขึ้นดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]]ของ [[สุจินดา คราประยูร|พล.อ.สุจินดา คราประยูร]]
บรรทัด 58:
 
== พรรคความหวังใหม่ยุคหลัง พ.ศ. 2545 ==
นาย[[ชิงชัย มงคลธรรม]] และสมาชิกอีกจำนวนหนึ่ง ได้จดทะเบียนพรรคความหวังใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อวันที่ [[7 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2545]]<ref>[http://www.ect.go.th/newweb/upload/cms02/download/1521-4287-0.pdf ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ (จำนวน 51 พรรคการเมือง)] ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553</ref> ปัจจุบัน พรรคความหวังใหม่ ยังคงดำเนินกิจการทางการเมืองอยู่ โดยที่มีหัวหน้าพรรคคือ นาย[[ชิงชัย มงคลธรรม]] โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารพรรคชุดเดิม และได้เปลี่ยนสัญลักษณ์พรรคใหม่ ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2548|การเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548]] ทางพรรคก็ได้ส่งผู้สมัครลงในพื้นที่อีสาน แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งเลยแม้ที่นั่งเดียว รวมทั้ง[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550|การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550]] ด้วย ต่อมาใน[[การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 6 กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553|การเลือกตั้งซ่อม ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 6]] เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 พรรคความหวังใหม่ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง คือ นาย[[อนุสรณ์ สมอ่อน]] หมายเลข 3 แต่ได้รับคะแนนเพียง 684 คะแนน และ ในปี 2554 พรรคความหวังใหม่ได้ส่ง นาย[[อธิวัฒน์ บุญชาติ]] นักเคลื่อนไหวทางการเมือง และ พิธีกรรายการทีวีชื่อดัง ลงสมัครรับเลือกตั้ง ในเขต 9 บุรีรัมย์
 
ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554]] ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. โดยได้รับหมายเลขประจำพรรค คือ หมายเลข 34 ซึ่งการเลือกตั้งในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากพลเอก.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ เข้ามาทำหน้าที่ประธานที่ปรึกษาพรรค<ref>[http://www.tamsabye.com/index.php?name=news&file=readnews&id=204 พล.อ.ชวลิต หวนนั่งประธานที่ปรึกษา พรรคความหวังใหม่]สืบค้นวันที่ 6 มิถุนายน 2554</ref> แต่ผลปรากฏว่าไม่ได้รับเลือกตั้งทั้งในระบบเขต และระบบบัญชีรายชื่อ
 
== อ้างอิง ==