ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สักกะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ ชาวไทย (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย BotKung
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
ลบข้อมูลคัดลอก
ป้ายระบุ: ถูกแทน
บรรทัด 2:
{{ความหมายอื่น|ตระกูลและรัฐในชมพูทวีป||สักกะ (แก้ความกำกวม)}}
'''ศากยะ''' ({{lang-sa|शाक्य}} ''ศากฺย'') หรือ '''สักกะ''' ({{lang-pi|Sakka, Sakya, Sākiya}}) เป็นราชสกุลและ[[เชื้อชาติ]]หนึ่งซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก[[พระเจ้าโอกกากะ]] บรรพชนของตระกูลนี้ได้สร้างและครองกรุง[[กบิลพัสดุ์]] [[พระโคตมพุทธเจ้า]]ก็มาจากราชสกุลนี้<ref>http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_line.php?A=3075&Z=3075</ref> และเรียกแคว้นของชาวศากยะว่า'''สักกชนบท'''<ref>http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_line.php?A=3285&Z=3285</ref>
 
==ปูมหลังศากยะวงศ์==
เจ้าศากยะทั้งหลายมีเชื้อชาติเป็นชาวอริยะหรืออารยัน ซึ่งเหล่าศากยวงศ์ล้วนมีลักษณะเฉพาะตัวที่สำคัญประการหนึ่งคือถือตัวจัดด้วยถือว่าชาติตระกูลของตนอยู่ในวรรณะกษัตริย์ อันเป็นวรรณะสูงสุด แม้ในเหล่าวรรณะกษัตริย์ด้วยกัน เจ้าศากยะก็ถือตัวว่ายิ่งใหญ่และบริสุทธิ์โดยสายเลือดกว่าใคร ๆ ด้วยเหตุนี้ บรรดาเจ้าศากยะจึงอภิเษกสมรสกันในหมู่พี่น้องร่วมพระบิดามารดาเดียวกัน หรือในหมู่วงศานุวงศ์ใกล้ชิด เช่น กับราชวงศ์โกลิยะ แห่งกรุงเทวทหะ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากต้นตระกูลเดียวกัน
 
==ที่มาของศากยะวงศ์และโกลียะวงศ์==
ต้นตระกูลของวงศ์ศากยะ คือ พระเจ้าโอกกากะ กษัตริย์ผู้ทรงมีพระยศใหญ่ผู้สืบเชื้อสายมาจากต้นปฐมกษัตริย์แห่งศากยะ ซึ่งกล่าวไว้ว่าสืบต่อสัตติวงศ์เป็นปฐมตามลำดับมาถึง ๑๑ พระองค์ แล้วแตกขยายวงศ์ออกไปอีกถึง ๔๘,๐๐๐ พระองค์ เรียงลำดับมาถึงพระเจ้าโอกกากะที่ ๓ จึงทรงมีพระราชโอรสและธิดารวมกัน ๙ พระองค์ ซึ่งโอรสและธิดาทั้ง ๙ พระองค์มาจากพระมารดาองค์ใหญ่ โดยเมื่อพระมเหษีองค์ใหญ่เสด็จสวรรคต จึงได้เกิดแย่งชิงราชสมบัติกันขึ้น พระเจ้าโอกากราชที่ ๓ จึงได้ตัดสินพระทัยยกราชสมบัติทั้งหมดนั้นให้แก่พระโอรสของพระมเหษีองค์ใหม่ ส่วนโอรสธิดาทั้ง ๙ พระองค์นั้นก็ให้เสด็จออกจากเมืองไปตั้งพระนครแห่งใหม่ที่กลางป่าสักกะ ซึ่งบริเวณป่าสักกะนี้เป็นที่อยู่ของฤๅษีกบิล หรือกบิลฤๅษี โดยการตั้งนครแห่งใหม่นี้ได้ถูกขนานนามว่า “กบิลพัสดุ์” ตามชื่อของกบิลฤๅษีนั้น และโดยธรรมเนียมโบราณนั้นการสมรสนอกราชตระกูลไม่เป็นประเพณีนิยมทั้งนี้เพื่อการรักษาความบริสุทธิ์แห่งสายโลหิต ดังนั้น พระโอรสและพระธิดาจึงได้อภิเษกซึ่งกันและกันจำนวน ๔ คู่ คือ ๘ ท่าน ระหว่างชายกับหญิง พี่กับน้อง ยังเหลือพระธิดาองค์โตที่ต่อมาภายหลังได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าพาราณสีแล้วตั้งเมืองใหม่ขึ้นคือเมือง “เทวทหะ” แล้วโอรสธิดาของทั้งสองเมืองคือ กบิลพัสดุ์ และ เทวทหะ จึงได้อภิเษกสมรสกันนับแต่นั้น
 
==ราชสกุลของพระพุทธองค์==
นครกบิลพัสดุ์นั้นเป็นสกุลของพระศาสดา เป็นผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ สืบเชื้อสายลงมาโดยลำดับจนถึงพระเจ้าชยเสนะ พระเจ้าชยเสนะ นั้น มีพระราชบุตรพระนามว่า สีหนุ มีพระราชบุตรีพระนามว่า ยโสธรา ครั้นพระเจ้าชยเสนะทิวงคตแล้ว สีหนุราชบุตรได้ทรงครองราชย์สืบพระวงศ์ต่อมา ท้าวเธอทรงมีพระมเหสีพระนามว่า กัญจนา ซึ่งเป็นกนิษฐภคินีของพระเจ้าอัญชนะ เจ้าผู้ครองเทวทหะนคร
พระเจ้าสีหนุและพระนางกัญจนา มีพระราชบุตร ๕ พระองค์ คือ สุทโธทนะ ๑ (ต่อมาคือพุทธบิดา) สุกโกทนะ ๑ อมิโตทนะ ๑ โธโตทนะ ๑ ฆนิโตทนะ ๑ และ มีพระราชบุตรี ๒ พระองค์ คือ ปมิตา ๑ อมิตา ๑
ส่วนพระนางยโสธรา ผู้เป็นกนิษฐภคินีของพระเจ้าสีหนุนั้น ได้เป็นมเหสีของ พระเจ้าอัญชนะ มีพระราชบุตร ๒ พระองค์ คือ สุปปพุทธะ ๑ ทัณฑปาณิ ๑ พระราชบุตรี ๒ พระองค์ คือ มายา(หรือพระนางสิริมหามายาพระพุทธมารดา) ๑ และปชาบดี ๑ (หรือพระนางมหาปชาบดีซึ่งต่อมาคือพระน้านางผู้ทรงได้เป็น ภิกษุณีสงฆ์องค์แรกของพระพุทธศาสนา)<ref>[https://www.phuttha.com/พระพุทธเจ้า/ปฐมบทเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า/แคว้นสักกะและศากยวงศ์ แคว้นสักกะและศากยวงศ์.] phuttha.com. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม, 2561</ref>
 
==หายนะและการล่มสลายของศากยะวงศ์==
พระเจ้าปเสนทิ พระราชาแห่งแคว้นโกศล มีความนับถือศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าอย่างยิ่ง ต้องการจะผูกสัมพันธ์เป็นญาติกับพระพุทธเจ้าในทางใดทางหนึ่ง จึงต้องการเจ้าหญิงสักคนจากศากยวงศ์มาอภิเษกสมรส เมื่อแจ้งความประสงค์นี้ไปทางศากยวงศ์ ก็ปรากฏว่าไม่มีเจ้าหญิงในศากยวงศ์เหลืออีก เพราะแต่งงานและออกบวชเกือบทั้งสิ้น เหลือเพียงเจ้าหญิงวาสภขัตติยา ซึ่งเป็นพระราชธิดา ของเจ้าชายมหานามะซึ่งเป็นโอรส ของพระเจ้าอมิโตทนะ ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ (พระมาตุลาของพระพุทธองค์ ) แต่ว่า เจ้าหญิงวาสภขัตติยานี้ ซึ่งเป็นพระราชธิดาของเจ้าชายมหานามะ มีมารดาเป็นทาสซึ่งไม่ใช่วรรณะกษัตริย์ ดังนั้นเจ้าหญิงวาสภขัตติยา จึงเป็นวรรณะจัณฑาล
ทางศากยวงศ์ ในเมื่อไม่อาจจะหาเจ้าหญิงอื่นๆได้ จึงนำเจ้าหญิงวาสภขัตติยาส่งไปให้พระเจ้าปเสนทิโกศล แล้วปกปิดเรื่องนี้เป็นความลับ
เจ้าหญิงวาสภขัตติยา เมื่อไปเป็นพระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิแล้ว ทรงให้กำเนิดพระโอรส ทรงพระนามว่าเจ้าชายวิฑูทภะ
ต่อมาเมื่อเจ้าชายวิฑูทภะ เติบใหญ่เป็นวัยรุ่น ก็คิดถึงญาติๆที่เป็นศากยวงศ์ จึงเสด็จไปเยี่ยมญาติที่กรุงกบิลพัศดุ์ ตอนกลับออกมาลืมสิ่งของบางอย่างไว้ จึงรับสั่งให้อำมาตย์คนหนึ่งกลับไปเพื่อเอาของที่ลืมนั้น ตอนที่อำมาตย์กลับไป ก็เห็นพวกคนใช้กำลังเอาน้ำนมล้างทำความสะอาดบริเวณนั้น พร้อมกับบ่นว่า เพราะคนจัณฑาลเข้ามาในบริเวณนี้ ทำให้พวกเราต้องเหนื่อยเอาน้ำนมมาล้าง อำมาตย์นั่นก็แกล้งถามว่าใครคือคนจัณฑาลที่เข้ามา พวกคนใช้ที่กำลังเช็ดถูอยู่นั่น ก็ตอบว่า ก็เจ้าชายวิฑูทภะนั่นไง เป็นคนจัณฑาล เพราะมีแม่เป็นทาส ..อำมาตย์นั่นกลับมาจึงเอาเรื่องนี้มาทูลเล่าให้เจ้าชายวิฑูทภะฟัง เจ้าชายจึงเกิดความโกรธแค้นต่อศากยวงศ์อย่างสุดๆ ที่ถูกเหยียดหยามอย่างสุดๆครั้งนี้ ..ตั้งใจไว้ว่า เมื่อได้เป็นกษัตริย์เมื่อใด จะยกกองทัพมาทำลายศากยวงศ์ให้สิ้นซาก เมื่อเจ้าชายวิฑูทภะกลับมา ก็กราบทูลเรื่องนี้ต่อพระราชบิดา คือพระเจ้าปเสนทิ เมื่อพระเจ้าปเสนทิรับทราบเรื่องนี้ ก็ไม่ได้ทรงว่าอะไร แต่มีข้อสงสัยข้องใจอยู่บ้าง จึงไปกราบทูลถามปัญหานี้กับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงทรงตอบว่า เรื่องการนับเชื้อสายของบุตรธิดา เขาถือว่าทางฝ่ายบิดาเป็นใหญ่มาแต่โบราณ ดังนั้น เจ้าชายวิฑูทภะ ก็ยังถือว่าเป็นเชื้อสายกษัตริย์ นั่นแหละ ไม่ใช่จัณฑาล พระเจ้าปเสนทิ ก็ทรงหายข้องใจ แต่ในใจของพระเจ้าวิฑูทภะไม่หาย ยังคงเก็บความแค้นไว้เท่าเดิม
ต่อมาเมื่อเจ้าชายวิฑูทภะได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ต่อจากพระบิดา จึงได้ยกกองทัพไปทำลายศากยวงศ์ ซึ่งการยกไป ๒ ครั้งแรก ก็ถูกพระพุทธเจ้าเสด็จไปทรงขัดขวางไว้ จึงยินยอมยกทัพกลับ แต่ยังยกทัพไปอีกครั้งที่ ๓ ซึ่งครั้งนี้พระพุทธเจ้าไม่ได้เสด็จไปอีก เพราะทรงพิจารณาเห็นกรรมเก่าแต่อดีตชาติของพวกศากยวงศ์ ที่เคยทำกรรมไปฆ่าสัตว์พร้อมๆกัน บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่อดีตกรรมนั่นจะมาส่งผล มาทำลายชีวิตพวกศาสยวงศ์กลุ่มนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงนิ่งเฉยในครั้งนี้
กองทัพของพระเจ้าวิฑูทภะจึงยกกองทัพไปทำลายล้างศากยวงศ์ มีบางส่วนรอดมาได้ สำหรับผู้ที่เอาหญ้ามาคาบไว้ในปาก เมื่อถูกทหารของวิฑูทภะถามว่า "เจ้าเป็นศากยวงศ์หรือไม่" ก็ตอบว่า "ไม่ใช่ เราเป็นหญ้า" เพราะมีความเชื่อกันว่าเหล่าศากยวงศ์จะไม่ยอมพูดโกหก ในเมื่อต้องโกหกเพื่อเอาชีวิตรอด จะพูดตรงๆก็ไม่ได้จึงใช้วิธีนี้เลี่ยงไป ส่วนศากยะวงศ์ที่เหลือก็ถูกสังหารจนสิ้นราชวงศ์
 
 
 
==อ้างอิง==
* [[พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช)]], ''พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด '''คำวัด,''' '' [[วัดราชโอรสาราม]] กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
 
{{รายการอ้างอิง}}
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/สักกะ"