ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทัย พิมพ์ใจชน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 43:
นายอุทัย พิมพ์ใจชน เกิดวันที่ [[14 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2481]] ที่[[จังหวัดชลบุรี]] เป็นบุตรของนายไพโรจน์ กับนางพรหมา พิมพ์ใจชน<ref>[http://www.thairath.co.th/content/108560 บุคคลในข่าว 05/09/53]</ref> และเป็นศิษย์เก่า[[โรงเรียนเทพศิรินทร์]] สำเร็จการศึกษา นิติศาสตร์บัณฑิต [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] และเนติบัณฑิต สำนักการอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
 
นายอุทัย พิมพ์ใจชน เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกเมื่อ พ.ศ. 2512 สังกัด[[พรรคประชาธิปัตย์]] จากการชักชวนของนาย[[ธรรมนูญ เทียนเงิน]] สมาชิกพรรค จนกระทั่งเกิด[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514|รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514]] [[จอมพลถนอม กิตติขจร]]และ[[จอมพลประภาส จารุเสถียร]] ยึดอำนาจตัวเอง นายอุทัย พิมพ์ใจชน พร้อมด้วย ส.ส. อีก 2 คน คือนาย[[อนันต์ ภักดิ์ประไพ]] และนาย[[บุญเกิด หิรัญคำ]] ได้ยื่นฟ้องต่อ[[ศาลอาญา (ประเทศไทย)|ศาลอาญา]]ให้ดำเนินคดีต่อคณะปฏิวัติในข้อหา[[กบฏ]] ถือเป็นท้าทายอำนาจของผู้มีอำนาจอย่างตรงไปตรงมา แต่แล้วศาล

[[จอมพลถนอม กิตติขจร]]ได้ตีความออกคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติ และที่ 36/2515 ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515
ทำให้ทั้งสามคนตกเป็นจำเลย และถูกจำคุก โดยเฉพาะส่วนนายอุทัยจำคุกเป็นเวลา 10 ปี<ref>ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช, ชีวลิขิต [[พรรคประชาธิปัตย์]] ([[กรุงเทพ]], [[พ.ศ. 2548]]) ISBN 9749353501</ref> ซึ่งต่อมาในยุครัฐบาลนาย[[สัญญา ธรรมศักดิ์]] เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งหมดก็ได้รับการปลดปล่อยปล่อยตัวออกจากคุก ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2517<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/A/011/1.PDF</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2522 เมื่อ [[เสนีย์ ปราโมช|ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช]] หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้พ้นวาระและประกาศวางมือการเมือง นายอุทัยได้ลงแข่งขันเป็นหัวหน้าพรรคคนต่อไป กับ [[ชวน หลีกภัย|นายชวน หลีกภัย]] เพื่อนสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์รุ่นเดียวกับ และ [[ถนัด คอมันตร์|พ.อ.(พิเศษ)ถนัด คอมันตร์]] ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ท่ามกลางการจับตามองของหลายฝ่าย โดยนายอุทัยได้รับการสนับสนุนจาก [[ธรรมนูญ เทียนเงิน|นายธรรมนูญ เทียนเงิน]] อดีตเลขาธิการพรรค ด้วยความเป็นคนชลบุรีด้วยกัน ปรากฏว่า ที่ประชุมพรรคได้เลือก พ.อ.(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ เป็นหัวหน้าพรรคคนต่อไป หลังจากนั้นไม่นาน นายอุทัยก็ได้ลาออกไปตั้งพรรคการเมืองของตัวเองทั้ง[[พรรคก้าวหน้า]] และ[[พรรคเอกภาพ]]