ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สักกะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเนื้อหา
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเนื้อหา
บรรทัด 3:
'''ศากยะ''' ({{lang-sa|शाक्य}} ''ศากฺย'') หรือ '''สักกะ''' ({{lang-pi|Sakka, Sakya, Sākiya}}) เป็นราชสกุลและ[[เชื้อชาติ]]หนึ่งซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก[[พระเจ้าโอกกากะ]] บรรพชนของตระกูลนี้ได้สร้างและครองกรุง[[กบิลพัสดุ์]] [[พระโคตมพุทธเจ้า]]ก็มาจากราชสกุลนี้<ref>http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_line.php?A=3075&Z=3075</ref> และเรียกแคว้นของชาวศากยะว่า'''สักกชนบท'''<ref>http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_line.php?A=3285&Z=3285</ref>
 
===ปูมหลังศากยะวงศ์===
เจ้าศากยะทั้งหลายมีเชื้อชาติเป็นชาวอริยะหรืออารยัน ซึ่งเหล่าศากยวงศ์ล้วนมีลักษณะเฉพาะตัวที่สำคัญประการหนึ่งคือถือตัวจัดด้วยถือว่าชาติตระกูลของตนอยู่ในวรรณะกษัตริย์ อันเป็นวรรณะสูงสุด แม้ในเหล่าวรรณะกษัตริย์ด้วยกัน เจ้าศากยะก็ถือตัวว่ายิ่งใหญ่และบริสุทธิ์โดยสายเลือดกว่าใคร ๆ ด้วยเหตุนี้ บรรดาเจ้าศากยะจึงอภิเษกสมรสกันในหมู่พี่น้องร่วมพระบิดามารดาเดียวกัน หรือในหมู่วงศานุวงศ์ใกล้ชิด เช่น กับราชวงศ์โกลิยะ แห่งกรุงเทวทหะ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากต้นตระกูลเดียวกัน
 
==ที่มาของศากยะวงศ์และโกลียะวงศ์==
ต้นตระกูลของวงศ์ศากยะ คือ พระเจ้าโอกกากะ กษัตริย์ผู้ทรงมีพระยศใหญ่ผู้สืบเชื้อสายมาจากต้นปฐมกษัตริย์แห่งศากยะ ซึ่งกล่าวไว้ว่าสืบต่อสัตติวงศ์เป็นปฐมตามลำดับมาถึง ๑๑ พระองค์ แล้วแตกขยายวงศ์ออกไปอีกถึง ๔๘,๐๐๐ พระองค์ เรียงลำดับมาถึงพระเจ้าโอกกากะที่ ๓ จึงทรงมีพระราชโอรสและธิดารวมกัน ๙ พระองค์ ซึ่งโอรสและธิดาทั้ง ๙ พระองค์มาจากพระมารดาองค์ใหญ่ โดยเมื่อพระมเหษีองค์ใหญ่เสด็จสวรรคต จึงได้เกิดแย่งชิงราชสมบัติกันขึ้น พระเจ้าโอกากราชที่ ๓ จึงได้ตัดสินพระทัยยกราชสมบัติทั้งหมดนั้นให้แก่พระโอรสของพระมเหษีองค์ใหม่ ส่วนโอรสธิดาทั้ง ๙ พระองค์นั้นก็ให้เสด็จออกจากเมืองไปตั้งพระนครแห่งใหม่ที่กลางป่าสักกะ ซึ่งบริเวณป่าสักกะนี้เป็นที่อยู่ของฤาษีกบิล หรือกบิลฤาษี โดยการตั้งนครแห่งใหม่นี้ได้ถูกขนานนามว่า “กบิลพัสดุ์” ตามชื่อของกบิลฤาษีนั้น และโดยธรรมเนียมโบราณนั้นการสมรสนอกราชตระกูลไม่เป็นประเพณีนิยมทั้งนี้เพื่อการรักษาความบริสุทธิ์แห่งสายโลหิต ดังนั้น พระโอรสและพระธิดาจึงได้อภิเษกซึ่งกันและกันจำนวน ๔ คู่ คือ ๘ ท่าน ระหว่างชายกับหญิง พี่กับน้อง ยังเหลือพระธิดาองค์โตที่ต่อมาภายหลังได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าพาราณสีแล้วตั้งเมืองใหม่ขึ้นคือเมือง “เทวทหะ” แล้วโอรสธิดาของทั้งสองเมืองคือ กบิลพัสดุ์ และ เทวทหะ จึงได้อภิเษกสมรสกันนับแต่นั้น
 
==ราชสกุลของพระพุทธองค์==
นครกบิลพัสดุ์นั้นเป็นสกุลของพระศาสดา เป็นผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ สืบเชื้อสายลงมาโดยลำดับจนถึงพระเจ้าชยเสนะ พระเจ้าชยเสนะ นั้น มีพระราชบุตรพระนามว่า สีหนุ มีพระราชบุตรีพระนามว่า ยโสธรา ครั้นพระเจ้าชยเสนะทิวงคตแล้ว สีหนุราชบุตรได้ทรงครองราชย์สืบพระวงศ์ต่อมา ท้าวเธอทรงมีพระมเหสีพระนามว่า กัญจนา ซึ่งเป็นกนิษฐภคินีของพระเจ้าอัญชนะ เจ้าผู้ครองเทวทหะนคร
พระเจ้าสีหนุและพระนางกัญจนา มีพระราชบุตร ๕ พระองค์ คือ สุทโธทนะ ๑ (ต่อมาคือพุทธบิดา) สุกโกทนะ ๑ อมิโตทนะ ๑ โธโตทนะ ๑ ฆนิโตทนะ ๑ และ มีพระราชบุตรี ๒ พระองค์ คือ ปมิตา ๑ อมิตา ๑
ส่วนพระนางยโสธรา ผู้เป็นกนิษฐภคินีของพระเจ้าสีหนุนั้น ได้เป็นมเหสีของ พระเจ้าอัญชนะ มีพระราชบุตร ๒ พระองค์ คือ สุปปพุทธะ ๑ ทัณฑปาณิ ๑ พระราชบุตรี ๒ พระองค์ คือ มายา(หรือพระนางสิริมหามายาพระพุทธมารดา) ๑ และปชาบดี ๑ (หรือพระนางมหาปชาบดีซึ่งต่อมาคือพระน้านางผู้ทรงได้เป็น ภิกษุณีสงฆ์องค์แรกของพระพุทธศาสนา)<ref>[https://www.phuttha.com/พระพุทธเจ้า/ปฐมบทเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า/แคว้นสักกะและศากยวงศ์ แคว้นสักกะและศากยวงศ์.] phuttha.com. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม, 2561</ref>
 
==อ้างอิง==
* [[พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช)]], ''พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด '''คำวัด,''' '' [[วัดราชโอรสาราม]] กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
 
{{รายการอ้างอิง}}
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/สักกะ"