ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนจักรวรรดิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[File:Bangkok street Rush Hour.jpg|thumb|250px|ถนนจักรวรรดิช่วง[[แยกวัดตึก]]]]
'''ถนนจักรวรรดิ''' ({{lang-roman|Thanon Chakkrawat}}) เป็นถนนตั้งอยู่สายหนึ่งใน[[เขตสัมพันธวงศ์]] [[กรุงเทพมหานคร]] เริ่มจาก[[ถนนเจริญกรุง]]ที่[[แยกเอส. เอ. บี.|สี่แยกเอส. เอ. บี.]] (ตรงข้าม[[ถนนวรจักร]]ใน[[เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย]]) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ จากนั้นตัดผ่าน[[ถนนเยาวราช]]ที่สี่แยกวัดตึก เข้าสู่ท้องที่แขวงจักรวรรดิ์ สิ้นสุดที่[[ถนนจักรเพชร]] สร้างในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ใน [[พ.ศ. 2436]] เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองและเป็นประโยชน์แก่ราษฎร จะได้ใช้เดินทางไปมาค้าขายและใช้รถม้าได้โดยสะดวก และพระราชทานชื่อถนนตามชื่อ[[วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร]] (วัดสามปลื้ม) ซึ่งถนนนี้ตัดผ่าน
 
ปรากฏในเอกสารการก่อสร้างถนนจักรวรรดิว่า แต่เดิมนั้นกำหนดให้ตัดถนนจักรวรรดิไปจดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของ[[พระยาอนุชิตชาญไชย]] แต่ครั้งแรกพระอนุชิตชาญไชยไม่เต็มใจ และได้กราบบังคมทูลไม่ตกลงใจเด็ดขาด โดยขออย่าให้ถนนตัดผ่านบ้านเรือนที่อยู่อาศัย กระทรวงนครบาลจึงแก้ไขแนวถนน ให้ตัดผ่านบ้านของ[[หลวงไมตรีวานิช]]และบ้านของ[[พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง]] ซึ่งทำให้แนวถนนต้องอ้อมมาก ต่อมาพระยาอนุชิตชาญไชยได้กราบบังคมทูลว่า ยินดีให้ตัดถนนผ่านที่ดินได้ แต่[[พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์]]กราบบังคมทูลว่า การแก้แนวถนนจักรวรรดิให้ไปลงในที่ดินของพระอินทราธิบดีนั้น เจ้าของเต็มใจออกเงินค่าทำถนน และยังซื้อที่ดินผู้อื่นที่ถนนต้องตัดผ่านทั้งหมดถวายด้วย รัฐบาลไม่ต้องเสียเงินค่าทำถนนอีก นอกจากนี้ กรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์ทรงไม่แน่พระทัยว่า พระยาอนุชิตชาญไชยซึ่งไม่เต็มใจแต่แรกนั้นจะยอมเสียเงินค่าทำถนนด้วยหรือไม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า ให้สร้างถนนจักรวรรดิตามแนวที่แก้ไขใหม่ เพราะเป็นทางที่รัฐบาลได้ประโยชน์ แนวถนนจักรวรรดิจึงไปสุดริมแม่น้ำเจ้าพระยาในที่ดินที่เป็นที่ตั้งบ้านเรือนของพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง