ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮิปปี้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขบางส่วน
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 13:
Hippie มีต้นกำเนิดมาจากผู้คนในเมือง San Fancisco ที่ต้องการจะต่อต้านระบบทุนนิยม หรือ วัตถุนิยม ซึ่งเกิดมาจากผลสะท้อนจากเหตุการณ์ทางสังคม และ ความเป็นไปหลายอย่างในประเทศที่มีความรุ่งเรืองทางอุตสาหกรรม โดยมีปรัชญาในการใช้ชีวิตที่ปฏิเสธระบบสังคมแบบอุตสาหกรรม โดยให้เหตุผลว่า วัตถุช่วยให้เรามีความสุขแค่ชั่วขณะ ไม่มีคุณค่าในด้านความสุขทางจิตใจ เป็นความสุขที่ไม่จีรัง พวก hippie ส่วนใหญ่ล้วนมาจากครอบครัวที่มีฐานะดี มักเป็นลูกคนรวยที่เคยเห็นและเคยสัมผัสชีวิตที่หรูหรามาแล้ว แต่ก็พบว่ามันไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ซึ่งพวก hippie เป็นจำนวนมากเคยมีประสบการณ์ที่เห็นพ่อแม่ซึ่งเป็นนักธุรกิจ มีชีวิตที่หรูหราในสังคม แต่หาได้มีความสุขกับคนในครอบครัวไม่ บ้านอาจจะใหญ่โตมโหฬาร แต่พ่ออาจเป็นแผลในกระเพาะ เพราะมีความกังวลเรื่องงานและการแข่งขันทางธุรกิจกับผู้อื่น บุตรจึงไม่ได้รับความอบอุ่นจากการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร และเมื่อมันเป็นเช่นนี้พวกวัยรุ่นหนุ่มสาวเหล่านี้จึงเริ่มมีความสนใจในการที่จะใช้ชีวิตที่ตรงกันข้ามกับพ่อแม่ของตัวเองที่นิยมใช้ชีวิตอยู่บนสังคมที่มีความเจริญทางอุตสาหกรรมเป็นแกนหลัก กล่าวคือวัยรุ่นเหล่านี้เกิดปฏิกิริยาเกลียดชังความฟุ้งเฟ้อทางวัตถุ ปฏิเสธความสำคัญของการครองชีพที่มีระเบียบแบบแผน และ แสดงพฤติกรรมที่ตรงกันข้ามกับจารีตต่าง ๆ ที่เป็นที่นิยมในสังคมที่มีความรุ่งเรืองทางอุตสาหกรรม เช่น การไม่ทำอะไรที่ต้องคิดล่วงหน้าหรือที่มีการวางแผนอย่างละเอียด เห็นได้ชัดจากความนิยมชมชอบในปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่เรียกว่า The Happening ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นร่วมกันโดยมิได้นัดหมายล่วงหน้า เช่น การไปสวนสาธารณะเพื่อร้องรำทำเพลง อีกอย่างที่เป็นลักษณะของพวก hippie ก็คือการเบื่อหน่ายต่อการที่ยอมให้เวลามาเป็นเครื่องบังคับหรือมาบงการเวลาของชีวิต โดยจะเห็นได้จากการที่เขาไม่นิยมใส่นาฬิกาข้อมือ เพื่อเป็นการประท้วงระบบสังคมแบบอุตสาหกรรมที่ถือว่า “เวลาคือเงิน” หรือ “การตรงต่อเวลาช่วยให้เศรษฐกิจรุ่งโรจน์” พวก Hippie เป็นปฏิปักษ์กับคติที่ว่า “งานคือเงิน เงินคืองาน ที่บันดาลความสุข” เขาสนับสนุนให้คนหันหลังกลับไปใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และให้ความสำคัญกับการหาอะไรมาบันเทิงจิตใจแทนการมุ่งมั่นในการทำงานและการตรงต่อเวลา พวก hippie ไม่ชอบพวกที่คล้อยตามคตินิยม และพวกพฤติกรรมของสังคมที่มุ่งเน้นไปในทางบูชาวัตถุ แต่พวก hippie จะภูมิใจในตัวเองถึงแม้จะยากไร้ เพราะไม่เคยทำงาน แต่ก็มีมนุษยธรรม คือการรู้จักแบ่งปันเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ด้วยน้ำใจ โดยไม่คิดหวังผลประโยชน์หรือคิดเป็นเงินตรา นอกจากนี้พวก hippie ถือว่าตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับเวลา หรือแข่งกับผู้ใด ดำเนินชีวิตไปอย่างสบาย ๆ ไม่รีบร้อนหรือรีบเร่ง เขาเชื่อว่าความสุขนั้นมีอยู่รอบตัว ควรที่จะรู้จักหยิบฉวยให้มันมาเป็นความสุขของเรา เขาถือว่าชีวิตของพวกเขาไม่จำเป็นที่จะต้องแข่งขันกัน พวกเขาจึงเป็นพวกที่ปฏิเสธความรุนแรง ความมุทะลุดุดัน แต่เป็นพวกที่รักในสันติ เขาเทิดทูนในความเป็นมิตรต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง ดังนั้นพวกเขาจึงเรียกตัวเองว่าเป็นบุปผาชน หรือ ในภาษาอังกฤษที่เรียกว่า Flower children หรือ Flower generation เพราะว่า ดอกไม้เป็นสัญลักษณ์ของความอ่อนโยน รวมทั้งมันยังมีความงามในตัวมันเองโดยธรรมชาติ ที่ไม่ได้เกิดจากการปรุงแต่งจากสิ่งที่เป็นลักษณะแบบของเทียม
 
== ประวัติความเป็นมา ==
การเคลื่อนไหวของพวกฮิปปี้ในสหรัฐอเมริกาเกิดจากการรวมกลุ่มประท้วงจากพวกเยาวชนที่ต้องการออกมาเรียกร้องสันติภาพ จากสงครามเวียดนาม และ ต่อต้านระบบทุนนิยม โดยส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นผิวขาว และ หนุ่มสาว วัยประมาณ 15ปี ถึง 25ปี ซึ่งพวกฮิปปี้ได้สืบทอดแนวคิดความแปลกแยกทางวัฒนธรรมมาจากพวก โบฮีเมียน (Bohemians) และ บีตนิก (Beatniks) ในช่วงปลายของยุค 50s โดยได้รับอิทธิพลมาจากกลุ่มนักเขียนในอเมริกาที่เรียกตัวเองว่า “Beat Generation”  โดยนักเขียนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มนักเขียนที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง มีวิถีชีวิตที่ต้องการแสวงหาตัวตน ใช้ชีวิตอยู่กับการทดลองเสพยาเสพติด มีเพศสัมพันธุ์แบบเสรีไม่ยึดติดกับกรอบของประเพณีใด ๆ ให้ความสนใจในหลักศาสนาของโลกตะวันออก ปฏิเสธวัตถุนิยม และ หลงไหลในวิธีการแสดงออกถึงตัวตนในสังคมอย่างโลดโผนโดยการใช้ชีวิตแบบนอกกรอบจากประเพณี หรือ ค่านิยมต่าง ๆ ในสังคม โดยนักเขียนกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อแวดวงวรรณกรรมในสหรัฐอเมริกาในยุคนั้น อัลเลน กินสเบิร์ก วิลเลียม เอส. เบอร์โรห์ (Allen Ginsberg) และ แจ็ก เครูแอก (Jack Kerouac) เป็นนักเขียนคนสำคัญของ Beat Generation ต่อมาได้กลายเป็นกลุ่ม บีตนิก (Beatniks) ซึ่งนักเขียนทั้งสองคนนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อหลักโครงสร้างทางความคิดของพวกฮิปปี้ เพราะ เขาทั้งสองเปรียบเสมือนผู้ริเริ่มอุดมการณ์ในการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของพวกฮิปปี้           
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ฮิปปี้"