ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่จำเป็นต้องใช้ตราพระบรมราชโองการในบทความนี้
บรรทัด 26:
จอมพล ป. นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกาศ[[สถานการณ์ฉุกเฉิน]]ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/022/2.PDF</ref> และแต่งตั้งให้ จอมพลสฤษดิ์ เป็นผู้ปราบปรามการชุมนุม แต่เมื่อฝูงชนเดินทางมาถึง[[สะพานมัฆวานรังสรรค์]]แล้ว จอมพลสฤษดิ์กลับเป็นผู้นำเดินขบวน พาฝูงชนข้ามสะพานมัฆวานรังสรรค์ โดยกล่าวว่า ทหารจะไม่มีวันทำร้ายประชาชน และเมื่อถึงหน้า[[ทำเนียบรัฐบาล]]ได้เป็นผู้เปิดประตูทำเนียบ นำพาประชาชนเข้าพบ จอมพล ป. พิบูลสงคราม จนกระทั่งจอมพล ป. ต้องลงมาเจรจาด้วยตนเองที่บันไดหน้าตึกไทยคู่ฟ้า เมื่อได้เจรจากันแล้ว จึงได้ข้อสรุปว่า จอมพล ป. ยอมรับว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบมาพากลและจะจัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ จึงได้พูดผ่าน[[โทรโข่ง]]ขอให้ผู้ชุมนุมสลายตัวไปอย่างสงบ และขอให้อัญเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสาตามปกติ ซึ่งก็ได้เป็นไปตามอย่างที่ จอมพลสฤษดิ์ ร้องขอทุกประการ ซึ่งการเดินขบวนประท้วงครั้งนี้นับเป็นการชุมนุมทางการเมืองครั้งแรกของชาวไทยนับตั้งแต่[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]]<ref name="เอก"/>
 
ฝ่ายจอมพลสฤษดิ์ ที่ได้มีท่าทีเช่นนี้ ได้สร้างความนิยมขึ้นอย่างมากในหมู่ประชาชน แต่ก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ท้าทายอำนาจจอมพล ป. เพราะหลังจากนี้ จอมพลสฤษดิ์ยังได้ประกาศด้วยตนเองผ่านทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเป็นนัยทิ้งท้ายโดยกล่าวถึงผู้ชุมนุมที่ผ่านมาว่า ''"{{คำพูด|แล้วพบกันใหม่ เมื่อชาติต้องการ"''}} จึงทำให้มีความแตกแยกและหวาดระแวงกันเองระหว่าง ฝ่ายทหารที่สนับสนุนจอมพลสฤษดิ์ และฝ่ายทหารและตำรวจที่สนับสนุนจอมพล ป.
 
สภาพโดยทั่วไปแล้วในเวลานั้น บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะของความวุ่นวาย นักเลง อันธพาล อาละวาดป่วนเมืองราวกับไม่เกรงกลัวกฎหมาย ทั้งนี้ เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า ที่เหล่าอันธพาลสามารถก่ออาชญากรรมได้ตามใจเพราะมีตำรวจ โดย พล.ต.อ.[[เผ่า ศรียานนท์]] อธิบดีกรมตำรวจ สนับสนุนอยู่<ref>ส.คลองหลวง, 2543: หน้า 145-151</ref> และจากนั้นมา ทหารและตำรวจก็เกิดความแตกแยกกัน โดยไฮปาร์คโจมตีกันบนลังสบู่ที่[[ท้องสนามหลวง]]สลับกันวันต่อวัน ในบางครั้ง ทหารชั้นประทวนก็ยกพวกล้อมสถานีตำรวจจนเกิดเหตุทำร้ายร่างกายตำรวจบ้าง แต่ก็ไม่เกิดเหตุรุนแรงไปกว่านั้น